Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ฮอลิเดย์ อินเตอร์เนชั่นแนลซุ่มสร้างอย่างเงียบ ๆ กับ 'ธุรกิจประกันคุณภาพชีวิต'             
 

 
Charts & Figures

อัตราค่าสมาชิก


   
search resources

ฮอลิเดย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย), บจก.
นเรนทร์ เตชะวรวงศา
Insurance




"เราอยากเรียกตัวเองว่าเป็นธุรกิจประกันคุณภาพชีวิต เพราะเป็นทั้งบริการพักผ่อนท่องเที่ยวและประกันชีวิตควบคู่กันไป" นเรนทร์ เตชะวรวงศา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ให้คำจำกัดความสั้น ๆ เกี่ยวกับธุรกิจของฮอลิเดย์ อินเตอร์เนชั่นแนล

แนวคิดของธุรกิจนี้มองว่าคนในสังคมเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ ๆ รวมทั้งกรุงเทพฯ ต่างมีความเครียดขึ้นทุกวันจากการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมที่เริ่มเสื่อมถอย อากาศเสียและรถติด สิ่งเหล่านี้ทำให้คนต้องการการพักผ่อนประจำปี "อย่างน้อยเป็นการชาร์ตไฟหรือเปลี่ยนบรรยากาศให้สดใส เพื่อกลับมาลุยงานกันใหม่" นเรนทร์กล่าว

"เมืองไทยถึงเวลาแล้วเพราะคนทานฟาสต์ฟูด อยู่คอนโดฯ จองตั๋วเครื่องบินเป็น เพราะฉะนั้นคนเริ่มที่จะรู้จักไลฟ์สไตล์ใหม่ว่า ทุกปีต้องจัดโปรแกรมพักผ่อนประจำปี" นั่นเป็นสิ่งที่ Interval International ได้พูดกับนเรนทร์เมื่อปี '33 โดยยกตัวอย่างประเทศแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย

หลังจากเดินทางไปดูงานต่างประเทศเพื่อเพิ่มความมั่นใจ นเรนทร์ก็กลับมาจับธุรกิจนี้อย่างจริงจังโดยเริ่มบริการในปี '34 "ยอมรับว่าในระยะแรกที่เราดำเนินงานประสบปัญหาอย่างมาก คนไม่คุ้นกับบริการอย่างนี้ และยังเจอของที่ทำเทียมมาทำให้เราเสียภาพพจน์ไปด้วย"

จากการปรับกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจใหม่ มาถึงวันนี้ฮอลิเดย์ฯ ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจใหม่รายแรกของโลก "เพราะไม่ใช่เป็นการพักผ่อนท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่เราให้หลักประกันด้วยว่าในแต่ละปีลูกค้าของเราต้องมีรีสอร์ตให้เลือกใช้ได้ทั่วโลก ที่สำคัญถ้าสมาชิกเจ็บป่วยหรือ
ประสบอุบัติเหตุก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือแม้กระทั่งมีภัยถึงแก่ชีวิตเราก็มีการคุ้มครองชีวิตให้ด้วย" นเรนทร์กล่าวถึงลักษณะพิเศษของบริการที่เขาและทีมงานฮอลิเดย์ฯ คิดค้น
ขึ้น

บริการที่ฮอลิเดย์ฯ จัดให้มีตั้งแต่การเข้าพักฟรีในสถานที่ท่องเที่ยวที้งในและต่างประเทศปีละ 7-30 วัน บริการเรือยอตซ์ รถเชฟโรเลต สนามกอล์ฟ สโมสรกีฬา ศูนย์สุขภาพ นอกจากนี้ยังมีบริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยที่นเรนทร์ยืนยันว่าต่ำที่สุดคือ 12.75% ในวงเงินตั้งแต่ 5 แสนถึง 5 ล้านบาท ต่อ 1 ราย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม มีสมาชิกมาใช้บริการร่วม 100 ราย

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฮอลิเดย์ฯ ต่างจากการบริการพักผ่อนท่องเที่ยวทั่วไปคือ มีคุ้มครองชีวิตทุกกรณีตลอด 24 ชั่วโมง สมาชิกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ตลอดปีโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่จะจำกัดในเรื่องอัตราค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ห้องพัก ค่ารักษาพยาบาล โดยให้วงเงินประกัน 1 แสนบาทสำหรับสมาชิกคู่ สมาชิกครอบครัว 2 แสนบาท และ 5 แสนบาทสำหรับองค์กร ซึ่งในอนาคตคาดว่าธุรกิจนี้น่าจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญของบริษัทประกันทั้งหลายเพราะเสมือนหนึ่งสมาชิก
ซื้อประกันและได้บริการเสริมในรูปแบบของการพักผ่อน

ฮอลิเดย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทมหาชนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ก็มีโครงการในอนาคตไว้ ทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วประมาณ 64 ล้านบาท ผู้ถือหุ้น 89 คน มีบ.ภัทรเรียลเอสเตทร่วมถือหุ้น 7 แสนหุ้นเศษ (10%) และบ.เมืองไทยประกันชีวิตอีก 5 แสนกว่าหุ้น ทำธุรกิจสังกัด Interval International ซึ่งควบคุมการให้บริการระบบ Net Work แบบเครือข่ายร่วม (Chain) และการเข้าร่วมต้องมีที่พัก เช่น คอนโดมิเนียม รีสอร์ต หรือ โรงแรม ที่ได้มาตรฐานกำหนด และเมื่อเดือนสิงหาคมฮอลิเดย์ฯ ยังได้รับสิทธิในการจัดเลือกหาสถานที่พักผ่อนในประเทศไทยเข้าร่วมเครือข่ายอีกด้วย

ฮอลิเดย์ฯ จึงมีโอกาสชักชวนเครือข่ายโรงแรมในประเทศเข้าร่วมด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นเครือดุสิตธานี ซึ่งคุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุยได้เข้ามาเป็นคณะที่ปรึกษาของฮอลิเดย์ฯ ด้วย นอกจานี้ยังมีเครือพริ้นเซส อิมพีเรียล ยูเรเซีย และเฟลิกซ์ ทำให้ฮอลิเดย์ฯ มีสถานที่พักผ่อนให้สมาชิกเลือกมากขึ้นจากเดิมที่มีอยู่กว่า 1,400 แห่งทั่วโลก ใน 60 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย

ปัจจุบันสมาชิกของเครือข่ายทั่วโลกมีประมาณ 7 แสนราย ซึ่งถือเป็นจุดขายในการเชิญชวนสถานทีพักต่าง ๆ เข้าร่วมเครือข่ายได้ง่ายขึ้น "ขณะนี้เรากำลังอยู่ในแนวทางขยายเครือข่าย แทนที่เราจะรอซื้อ หรือสร้างทรัพย์สินเองซึ่งต้องใช้เวลาเราจึงหาทางร่วมมือกับธุรกิจคอนโดรีสอร์ตและโรงแรมที่มีอยู่แล้ว" นเรนทร์กล่าว

โดยนเรนทร์ได้กล่าวถึงระบบของ Interval เพิ่มเติมว่า "เมื่อสถานที่พักนั้น ๆ ผ่านมาตรฐานที่กำหนดแล้ว มีข้อตกบลว่าเราจะโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้โดยผ่าน Resort Directory ของเราซึ่งพิมพ์ครั้งละล้านฉบับส่งไปยังสมาชิกทั่วโลกที่มีจำนวน 7 แสนครอบครัว เพื่อให้ข้อมูลว่าที่พักของเรามีจุดเด่นอะไร และมีสถานที่น่าสนใจอย่างไร โดยมีเบอร์โทรศัพท์สายตรงของสถานที่นั้น หากสมาชิกสนใจสามารถโทร.ติดต่อมาขอจอง หรือซื้อห้องพักได้โดยตรงไม่ต้องผ่านระบบเครือข่ายอันนี้ก็เป็นประโยชน์โดยตรงของแต่ละที่ แต่ถ้าใช้บริการผ่าน Interval และ Holiday เราก็จะช่วยจัดประสานให้"

เพราะมีแนวคิดว่าสถานที่พักแต่ละแห่งปกติจะมีห้องพักว่างอยู่แล้ว จึงมีข้อตกลงกันไว้ว่าในการลงโฆษณาเจาของสถานที่พักไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงแต่กันห้องว่างให้ 1 ห้องสำหรับอินเตอร์เนชั่นแนลและ 1 ห้องสำหรับฮอลิเดย์ฯ เป็นห้อง complementary และกรณีที่สมาชิกต่างชาติที่เข้ามาพักมีห้องหนึ่งเท่านั้นที่ฟรี (complementary) แต่ส่วนที่เกินกว่า 1 ห้อง ทางฮอลิเดย์ฯ จะเป็นผู้จ่ายให้ ส่วนรายได้ที่เจ้าของสถานที่พักจะได้นั้นมาจากการขายอาหารเช้า การขายบริการซักรีด ขายมินิบาร์ หรือของที่ระลึกต่าง ๆ เพราะแขกที่เข้ามาพักแต่ละครั้งอย่างน้อย 1 สัปดาห์

"ขณะนี้มีหลายแห่งตอบรับเรามามากขึ้นซึ่งเราก็ต้องคัดเลือกในสิ่งที่ได้มาตรฐาน โดยสัญญาจะมีผลตลอดไปจนกว่าฝ่ายใดจะบอกเลิกซึ่งต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน เพราะหนังสือจะมีการ up date ทุก ๆ 1 ปี" นเรนทร์กล่าว
สำหรับสมาชิกในประเทศมีประมาณ 1,700 รายเศษ แบ่งสมาชิกแบบคู่แบบครอบครัว และแบบองค์กร โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 6070%, 20%, และ 10% ตามลำดับ

"สมาชิกองค์เพิ่งเริ่มต้นในปี '39 แต่เรากำลังเพิ่มกลยุทธ์ส่งเสริมฝ่ายขายมากขึ้น เพราะตอนนี้จะเห็นว่าองค์กรต่าง ๆ จะมีสวัสดิการที่ดีขึ้นให้กับพนักงานสิ่งหนึ่งก็เพื่อป้องกันปัญหาสมองไหลแทนที่จะให้โบนัสพนักงานในรูปเงินอย่างเดียว ก็ให้เป็นลักษณะไปพักผ่อนฟรีโดยบริษัทออกค่าที่พักให้ เป็นต้น" นเรนทร์กล่าวถึงกลุ่มลูกค้าใหม่

การเข้าเป็นสมาชิกนั้นลูกค้าสามารถซื้อบริการได้ในอัตราต่อ 10 ปี และใช้บริการด้วยวิธีหักคะแนน (ดูตารางประกอบ) และนอกจากระบบสมาชิกแบบปกติแล้วฮอลิเดย์ฯ ยังได้ริเริ่มระบบสมาชิกอีกประเภทเรียกว่า Q-Life Member (Quality of life member) เริ่มออกในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นสมาชิกแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องเสียค่าบำรุงรายปีสมาชิกมีสิทธิใช้บริการ 5 ปี ได้รับคะแนนใช้บริการ 5,000 คะแนน โดยสมาชิกจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เหมือนสมาชิกทั่วไป และหากลูกค้าไม่พร้อมในเรื่องการเงินสามารถใช้บริการเป็นปีต่อปี ค่าสมาชิกปีละ 9,900 บาท

นเรนทร์คาดว่าสิ้นปี '39 จำนวนสมาชิกน่าจะอยู่ที่ 1,800-1,900 รายเท่านั้น และพื้นฐานของบริษัทต้องการสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่ม C+B เพิ่มปีละ 1,000 ราย แต่เนื่องจากที่ผ่านมาผลจากเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ยอดเพิ่มของสมาชิกลดลง 30-40% จึงขายสมาชิกได้เพียงเดือนละ 50-60 รายเท่านั้น

ส่วนรายได้ในปี '38 ประมาณ 20 ล้านบาทเศษ ซึ่งนเรนทร์คาดว่าจากจำนวนสมาชิกที่เพิ่มไม่มากนักตัวเลขรายได้ปี '39 ก็คงเท่าเดิม แต่โดยปกติธุรกิจนี้จะมีอัตราเติบโตของรายได้เฉลี่ยปีละ 20% ซึ่งถึงตรงนี้นเรนทร์กล่าวว่ายังไม่ถึงจุดคุ้มทุน "คาดว่าอย่างน้อยที่สุดในปี 2000 ทุกอย่างคงตั้งฐานได้หมด ถึงตอนนั้นเราคงมีความเข้มแข็งขึ้น จำนวนสมาชิกคงเป็นระดับหมื่นรายและรายได้คงเป็นตัวเลขระดับร้อยล้านขึ้นไป"

แต่การดำเนินธุรกิจในช่วงนี้เขายอมรับว่า "เรายังทำธุรกิจแบบเงียบ ๆ ค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะซุ่มสร้างเพราะเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่และเป็นแบบ conservative อยู่" นเรนทร์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us