Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
"เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ"เมื่อต้องเริ่มต้นใหม่หลังเจอบนเรียนจากแฟรนไชซี             
 


   
search resources

เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ
เทวมิตร ณ สงขลา
Real Estate




จากความเชื่อมั่นในระบบแฟรนไชส์จากอเมริกาที่ประสบความสำเร็จถึงขั้นที่ว่า 1 ใน 3 เหรียญสหรัฐ ที่ประชาชนอเมริกันใช้จ่าย จะถูกจ่ายเข้าระบบของธุรกิจแฟรนไชส์ และที่สำคัญหากใครคิดจะเริ่มทำธุรกิจ วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการซื้อแฟรนไชส์

นี่เป็นหนึ่งในความเชื่อของเทวมิตร ณ สงขลา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด ภายหลังจากที่ใช้ชีวิตในการเป็นนายหน้าค้าที่ดิน และบ้านมือสองอยู่บริษัทในสหรัฐอเมริกาอยู่หลายปี ก่อนจะตัดสินใจนำบริษัทเรียลตี้เอ็กเซ้คคิวทีฟ แฟรนไชส์ธุรกิจรับฝากซื้อ-ขาย-เช่า บ้านมือสองและที่ดินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจุดเด่นด้วยระบบคอมมิชชั่น 100% เข้ามาเปิดขายแฟรนไชส์ในไทยร่วมกับประมณฑ์ คุณะเกษม เมื่อปี 2538

ประสบการณ์จากการขายแฟรนไชส์ที่ผ่านมานับปีของเรียลตี้เอ็กเซ้คคิวทีฟ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ว่าภายในปีแรกจะหาผู้ร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ให้ได้ถึง 40 สาขา หรือ 200 สาขา ใน 5 ปี เพื่อทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอยู่แล้วกระเตื้องขึ้น และคิดว่าการมีบริษัทตัวแทนนานหน้าเพิ่มขึ้นอีกรายในประเทศไทยหลังจากที่มี ERA แฟรนไชส์บ้านมือสองรูปแบบเดียวกันที่เปิดดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้ตลาดซื้อขายบ้านมือสองคึกคัดขึ้นบ้าง

ปัจจุบันเรียลตี้เอ็กเซ้คคิวทีฟ มีผู้ซื้อแฟรนไชส์รวม 33 สาขา ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้สำหรับปีแรก และไม่ใช่ว่าทุกสาขาเปิดทำการอย่างราบรื่นตามที่บริษัทแม่ หรือตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองคาดหวังไว้ ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายรายต้องเลิกไปก่อนเปิดสาขา

จากประสบการณ์ขายแฟรนไชส์ที่ผ่านมานี่เองทำให้เทวมิตร ได้บทเรียนจากการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดูเหมือนง่าย แต่ก็กาลายเป็นเรื่องยากได้ เมื่อมาเจอผู้ซื้อแฟรนไชส์บางรายที่ไม่เข้าใจธุรกิจอย่างแท้จริง แต่มาซื้อแฟรนไชส์เพียงเพื่ออยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองสักอย่างหนึ่ง ประสบการณ์ครั้งนี้ยังได้กลายเป็นกรณีศึกษาบทเรียนที่เข้มข้นของเรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ ก่อนจะนำมาเป็นข้อคิดในการพิจารณาผู้ซื้อแฟรนไชส์รายต่อไป

เพราะถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่สามารถทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัทแม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

และเมื่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่สามารถประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ก็ถึงเวลาที่บริษัทแม่ต้องหันมาทบทวนและแก้ไขบทเรียนให้ถูกต้องสำหรับตัวเอง และสาขาเพราะอย่างน้องการแข่งขันในธุรกิจบ้านมือสองก็ไม่ได้มีเพียงเรียลตี้เอ็กเซ็คคคิวทีฟเพียงบริษัทเดียว ที่ให้บริการในรูปของแฟรนไชส์

เทวมิตร ณ สงขลาเริ่มต้นกล่าวถึงกรณีศึกษาบทเรียนจริงก่อนจะประสบความสำเร็จ ในการขายแฟรนไชส์ด้วยปัญหาที่ได้พบ หลังจากได้ผ่านการอบรมแฟรนไชส์รุ่นแล้วรุ่นเล่า

ปัญหาที่ประธานกรรมการบริหารพูดถึง เริ่มตั้งแต่การที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ มีความคาดหวังสู่งเกินไป โดยคิดว่าจะสามารถเป็นเศรษฐีได้ภายใน 6 เดือน หรือ 1 ปี เพราะรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นรายได้ที่ไม่จำกัดและไม่สามารถประมาณการได้เหมือนกับธุรกิจแฟรนไชส์อื่น

"เมื่อผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความคาดหวังสูงเกินไปในการทำธุรกิจ เช่น คิดว่าจะได้เป็นเศรษฐีเงินล้านภายในปีเดียวแต่พมาทำจริงไม่สำเร็จอย่างที่คิดไว้ ปัญหาที่ตามมาก็จะทำให้เงินสำรองไม่พอ เพราะแม้แต่ต้นสำหรับอย่างในอเมริกาเองก็มีบริษัทอย่างน้อย 5% ที่ซื้อแฟรนไชส์แล้วล้มเหลวในปีแรก" เทวมิตรกล่าวและเล่าว่า

บางคนมาซื้อแฟรนไชส์โดยไม่รู้ว่าเรียลตี้เอ็กเซ้คคิวทีฟทำธุรกิจอะไร แต่มาซื้อเพราะอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง และที่สำคัยถ้าคนในครอบครัวไม่เข้าใจธุริจที่ทำก็จะทำให้มีปัฯหาภายในเกิดขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ เรีรยกว่าครอบครัวไม่สนับสนุนก็ทำลำบาก หรือบางรายคิดจะซื้อแฟรนไชส์ซึ่งมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การบริการลูกค้าแต่กลับไม่มีจิตสำนึกของการบริการอยู่เลย ก็เป็นปัญหาเช่นกัน

แม้ว่าก่อนที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเปิดทำการ บริษัทจะให้เวลาในการเตรียมตัวประมาณ 90 สัน เพื่อใช้เวลาในการฝึกอบรมและเตรียมสำนักงาน ซึ่งการฝึกอบรมถือเป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะจะสอนให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เข้าใจถึงระบบและการดำเนินงาน

แต่ปัญหาที่พบแม้บริษัแม่จะพยายามป้อนข้อมูลพร้อมทั้งแจกคู่มือการอบรมให้มากเพียงไร แต่ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ทำความเข้าใจให้ดีที่สุด ก็จะเกิดปัญหาขึ้นอีกจนได้

"นอกจากผู้ซื้อแฟรนไชส์จะคิดว่าตนจะประสบความสำเร็จได้โดยเร็วแล้วบางครั้งยังไม่ยอมทำตามกฎเกณฑ์ เช่นการไม่ทำโฆษณาตามขั้นตอนที่บริษัทแม่กำหนดและโปรโมตได้ เพราะเห็นว่าเป็นรายจ่ายที่มีก่อนเกิดรายได้ทั้งที่การโฆษณาถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมากเมื่อเริ่มดำเนินงานใหม่ ๆ"

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เจอ นอกจากจะทำให้เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ หันมามองบทเรียนที่พร่ำอบรมให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ว่า

"การเริ่มต้นธุรกิจที่ดีควรวางแผนอย่างรอบคอบเพราะอาจจะทำให้เดินผิดทางได้" นั้น มาใช้กับบริษัทแม่ให้เห็นผลเสียก่อนจะดีกว่า

ดังนั้นจากเดิมที่เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ เร่งขายแฟรนไชส์เพื่อให้เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ มีจำนวนสาขาตามเป้าที่ตั้งไว้ คงจะต้องชะลอลง และหันมาให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ตามที่ประธานกรรมการบริหารของบริษัท กล่าวไว้ว่า

"ปัญหาต่าง ๆ ที่เจอสอนให้บริษัทต้องเริ่มสกรีนผู้ซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น โดยกำหนดคุณสมบัติขั้นต้นไว้ว่าอย่างน้อยจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการเงินและบัญชีเบื้องต้น เพราะอย่างน้อยต้องมีการติดต่อทำสัญญากับธนาคารรวมทั้งความรู้พื้นฐานด้านการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประเมินราคา"

นอกจากจะเช็กความรู้พื้นฐานของผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้วปัญหที่เคยเกิดขึ้นจะถูกตรรวจสอบในขั้นตอนแรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินทุนหมุนเวียนซึ่งบริษัทจะทำการตรวจเช็กและกำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 1-2 ปี รวมถึงสอบถามความมุ่งหวังในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจบ้านมือสองนี้ด้วย และพนักงานหรือผู้ร่วมงานของบริษัทสาขาว่าจะมีเท่าไร

อย่างไรก็ดี เทวมิตร ถือว่าปัญหาและจุดอ่อนที่เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ ได้พบจากผู้ซื้อแฟรนไชส์นั้น เป็นรเองท้าทายที่ต้องแก้ไขให้ผ่านไปได้ดี ด้วยการให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำงานได้ในกฎเกณฑ์ที่บริษัทแม่กำหนด

พร้อมกันนี้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เรียลตี้เอ็กเซ็คคิวทีฟ ได้เพิ่มทุนบริษัทเป็น 20 ล้าน บาท เมื่อราวเดือนกันยายน 2539 ที่ผ่านมา เพื่อขยายสาขาภายใต้การบริหารงานของบริษัทแม่ และวางแผนขยายธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาในช่วงที่ธุรกิจบ้านมืองสองชะลอตัวนี้ด้วยการขยายสู่ธุรกิจการขายและบริหารโครงการใหม่ในปี 2540 นี้ด้วย

ทั้งนี้ จะเป็นตัวอย่างที่ดีได้แค่ไหน คงต้องรอดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us