Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
กระจกแข่งเดือด ต่างชาติทุ่มตลาด อาซาฮีลดราคาสู้ ขอแค่เท่าทุนก็พอ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท กระจกไทยอาซาฮี จำกัด (มหาชน)

   
search resources

กระจกไทยอาซาฮี, บมจ.
วิฑูร เตชะทัศนสุนทร
Glass




ในยามที่เศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ตัวเลขการเติบโตของภาคส่งออกครึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตเพียง 3.8% สาเหตุสำคัญมาจากหมวดประมง เกษตร และสิ่งทอสิ่งออกได้น้อยลงเป็นหลัก แต่ในบางหมวดนอกจากส่งออกลดลงแล้ว ยังโดนทุ่มตลาดจากต่างประเทศเข้ามาเสียอีก

อุตสาหกรรมเหล็ก นับว่าประสบปัญหาเรื่องโดนทุ่มตลาดอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำเอาบริษัทเหล็กในประเทศขาดทุนอย่างมหาศาลนับพันล้านบาท แต่รัฐบาลยุคบรรหารก่อนยุบสภาก็ได้แก้ไขโดยการเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กหลายชนิด เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันกับเหล็กนำเข้าจากรัสเซียและโปแลนด์ได้ในราคาที่ไม่ขาดทุน

สำหรับอุตสาหกรรมกระจก แม้ปัญหาจะไม่รุนแรงจนถึงขั้นขาดทุน แต่ก็ทำเอาผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์กันอุตลุด ทั้งการเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพิ่มมาตรฐานการผลิต การบริการและอื่น ๆ ซึ่งผลดีที่เห็นชัด ๆ ก็คือผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานได้ในราคาที่ถูกลง

วิฑูร เตชะทัศนสุนทร กรรมการบริหาร บมจ.กระจกไทย-อาซาฮี (TAG) เปิดเผยว่า "9 เดือนที่ผ่านมายอดขายยังไม่ได้สูงเท่าปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไม่ได้ตามเป้า ส่วนในประเทศยอดขายเพิ่มขึ้นไม่มากประมาณ 4% ทำให้กำไรหลังภาษีมีเพียง 169.3 ล้านบาท หรือโตประมาณ 18.% เมื่อเทียบกับปีก่อน 9 เดือนกำไร 143.9 ล้านบาท"

หากดูผลประกอบการครึ่งปีแรกของ TAG แล้วจะพบว่า บริษัทมีกำไรสุทธิเติบโตถึง 36% โดยครึ่งแรกปี 2538 มีกำไรสุทธิ 90.42 ล้านบาท ขณะที่ปี 2539 มีกำไรสุทธิถึง 122.97 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการลดค่าใช้จ่ายลงไปประมาณ 4% พร้อม ๆ กับการเพิ่มยอดขายได้ 3.5%

วิฑูร คาดว่าครึ่งปีหลังนี้แนวโน้มการเติบโตของยอดขายและกำไรสุทธิของบริษัทคงไม่สดใสนัก เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เนื่องจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ดุเดือดขึ้น มีการขายตัดราคากันและทุ่มตลาดจากกระจกนำเข้า

สาเหตุสำคัญมาจากการลดภาษีนำเข้ากระจกตามข้อตกลงของอาฟตา (AFTA) ทำให้มีการนำเข้ากระจกจากอินโดนีเซียมาขายในราคาถูกจำนวนมากประกอบกับภาวะของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น การสร้างบ้านและอาคารสูงซบเซาลง ทำให้ยอดขายกระจกมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงไปด้วย

ปัจจุบันไทยเก็บภาษีนำเข้ากระจกในอัตรา 40% หรือเก็บตามน้ำหนักกิโลกรัมละ 7.60 บาท แต่ในปี 2540 จะมีการปรับลดลงเหลือ 30% ส่วนประเทศที่ต้องลดภาษีลงในอัตราที่เร็วกว่าปกติ เช่น สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย นั้น ปกติเก็บภาษี 25% แต่ปี 2540 จะเก็บเพียง 20% และปี 2541 จะลดภาษีลงเหลือ 15%

"การที่กระจกนำเข้ามาแข่งขันเยอะส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอาฟตา ทำให้ประเทศอินโดนีเซียและจีนดัมป์ตลาดเข้ามามาก" วิฑูรกล่าว

ย้อนกลับไปหลายปีก่อนส่วนแบ่งตลาดกระจกนำเข้าอยู่ในระดับ 5-7% จากนั้นก็มีการปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 8-9% 13-15% จนปัจจุบันกระจกนำเข้ามีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 20% แม้ TAG จะยังคงรักษาความเป็นแชมป์ไว้ได้แต่ก็ถูกแย่งตลาดไปพอสมควร

ปัจจุบันปริมาณความต้องการซื้อกระจกมีประมาณ 7.73 ล้านหีบ กระจกไทยอาซาฮีมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือ 32% สยามการ์เดียน 22% บางกอกโฟลต 18% สนามเพลท 8% และอีก 20% เป็นกระจกนำเข้า

"อินโดนีเซีย ตอนนี้มีผู้ผลิตกระจกอยู่ประมาณ 9 โรงงาน มีกำลังการผลิตทั้งหมด 15.2 ล้านหีบ ขณะที่ความต้องในประเทศมีเพียง 9.6 ล้านหีบ เขาต้องส่งออกถึง 5.6 ล้านหีบ คาดว่าแนวโน้มปี 2541 อินโดนีเซียจะมีกระจกล้นตลาดถึง 1 ล้านหีบ" วิฑูร กล่าว

หากกล่าวถึงเรื่องของมาตรฐานสินค้าแล้ว กระจกที่นำเข้าจากอินโดนีเซียและจีนยังมาตรฐานต่ำกว่าของไทยอยู่บ้างแต่เมื่อราคาถูกกว่ากันมาก ในภาวะที่อุตสาหกรรมทุกชนิดพยายามที่จะลดต้นทุนกันตัวโก่งเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่กระจกเหล่านี้จะเข้ามาตีตลาดได้อย่างง่ายดาย

ขณะนี้ราคาขายกระจกค่อนข้างผันผวน แต่เป็นไปในทิศทางที่ลดลง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น TAG มีการปรับลดราคากระจกลงครั้งละประมาณ 3-5% ที่ลดราคาลงมากก็คือกระจกสีปัจจุบัน TAG ปรับลดลงมาประมาณ 30% แล้ว

"เราก็ต้องพยายามลดต้นทุนเพื่อให้ขายในประเทศและต่างประเทศได้ เอาแค่ให้เท่าทุนก็คือว่าสู้ได้" ชาติชาย พานิช ชีวะ กรรมการบริหาร TAG กล่าว

วิธีที่ TAG ใช้คือการพยายามเพิ่มผลตอบแทนจากการผลิต (Production yield) ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตลง พยายามซื้อวัตถุดิบให้ได้ในราคาที่ต่ำลง และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า เช่น การนำกระจกธรรมดาไปผลิตเป็นกระจกนิรภัยอาคารสูงซึ่งทำให้มีมารจินสูงขึ้น เป็นต้น

"ในเรื่องอัตราการสูญเสีย ถ้าเสียหายจากการขนส่งเราจะมีการประกันความเสียหายไว้ ซึ่งก็สามารถป้องกันความเสี่ยงได้มาก ส่วนเรื่องระบบการขนย้าย การวาง การบรรจุหีบห่อให้ดี คาดว่ามีอัตราการสูญเสียไม่ถึง 1% ในขณะนี้ตอนแรก ๆ เราสูญเสียประมาณ 5-7%" วิฑูรอธิบาย

ปัญหาในขณะนี้คือการพยายามหาแหล่งส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตรวมทั้งประเทศมีมากเกินกว่าความต้องการซื้อ

สำหรับปีนี้ปริมาณการผลิตกระจกโฟลตในไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 11.6 ล้านหีบ ซึ่งมากเกินความต้องการซื้อประมาณ 2.9 ล้านหีบ คาดว่าในปี 2540 กำลังการผลิตจะล้น 4.6 ล้านหีบ และในปีถัดไปจะล้นถึง 6.7 ล้านหีบ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องหาช่องทางในการส่งออก

ชาติชายให้ความเห็นว่า "ปีนี้เราคงต้องส่งออกไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านหีบ แต่ก็ยังดีกว่ารายอื่น ๆ ที่มีเงื่อนไขกับ BOI ว่าจะต้องส่งออก 50% ของกำลังการผลิตพวกนี้ก็ลำบากหน่อย

นอกจากการพยายามเพิ่มยอดขายลดค่าใช้จ่ายแล้ว สิ่งที่ TAG เน้นอีกจุดหนึ่งก็คือคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ

วิฑูร เปิดเผยว่า "ตอนนี้คุณภาพของสินค้าเราดีกว่ากระจกที่นำเข้ามาเยอะ ซึ่งเรา และสยามการ์เดียนก็ได้ร้องเรียนกับทางการไปแล้วว่า กระจกที่นำเข้ามาควรจะมีการตรวจสอบมาตรฐานด้วย ซึ่งรัฐบาลก็เห็นด้วยในหลักการและกำลังดำเนินการอยู่"

ทั้งนี้ TAG เพิ่งได้รับมาตรฐาน ISO 9002 จาก BVQI เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2539 นี้ ทำให้ บมจ.กระจกไทยอาซาฮี เป็นบริษัทผู้ผลิตกระจกแห่งแรกที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 ในทุกกระบวนการผลิตจาก 5 สถาบัน 6 ประเทศ คืออเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us