"เมื่อตลาดหุ้นบ้านเรามีการพัฒนาไปได้ ณ ระดับหนึ่ง ก็ควรที่จะมีเครื่องบ่งชี้ให้ได้ว่าตอนนี้ภาวะดีหรือเลวอย่างไรในแง่ใดบ้าง
ซึ่ง ก.ล.ต.กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกับธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีดัชนีวัดตัวเลขภาวะเงินเฟ้อ
กระทรวงพาณิชย์ มีตัวเลขการส่งออกตลาดหุ้นก็ควรมีเช่นกัน คาดว่าปีหน้าจะเห็นภาพที่ชัดเจน"
คำกล่าวข้างต้นนี้เป็นของ ดร.พิชิต อัคราทิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาตลาดทุน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. ที่ได้กล่าวถึงทิศทางในการทำงานของสำนักวิจัยว่าในปี
2540 ว่าจะมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากที่ผ่านมาลักษณะงานจะเป็นค้นคว้าเพื่อสนับสนุนงานของ
ก.ล.ต. เป็นหลัก แต่ปีหน้าจะวิจัยศึกษางานเพื่อเสริมการพัฒนาตลาดหุ้นไทย
"ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะใช้ดัชนีตัวใดเป็นการชี้ค่าเช่นดูเรื่องการเติบโต
ดูประสิทธิภาพในการทำงาน ดูการพัฒนาของระบบ และดูเสถียรภาพ ซึ่งในระยะแรกอาจจะใช้
4 ข้อหลักนี้เป็นตัววัดค่าก่อนแต่จริง ๆ แล้วมีหลายตัวที่ใช้ประกอบได้ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหุ้น
จำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียน จำนวนคน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบของตลาดหุ้นไทยทั้งหมด
เหล่านี้เป็นต้น"
ในเรื่องเดียวกันนี้ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล รองเลขาธิการ ก.ล.ต. เคยกล่าวไว้ว่าตัวตลาดทุนเองถือว่าเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่สามารถนำเข้ามาใช้ในการจัดสรรทรัพยากร
หรือเรื่องเงินออมให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดและสามารถเป็นดัชนีที่วัดค่าความก้าวหน้าได้เช่นกัน
"เนื่องจากตลาดทุนที่ดีจะสามารถจัดสรรทรัพยากรให้ได้ เป็นตลาดที่มีคุณภาพอย่างเช่น
อุตสาหกรรมใดที่คิดว่าดีมีแนวโน้มเติบโตสูงราคาหุ้นก็จะสูงไปด้วย การระดมทุนของบริษัทเหล่านั้นก็ง่าย
การระดมทุนไปสู่อุตสาหกรรมประเภทนี้ก็จะมีมาก ถ้าอุตสาหกรรมใดที่แนวโน้มไม่ดีการระดมทุนจะน้อย
จึงมีพวกนักคิดมาสร้างกลไกของราคาขึ้นมาเป็นตัวกำหนดซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎ"
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาตลาดทุน ก.ล.ต. ได้ตอบข้อถามที่ว่าตลาดหุ้นไทยเปิดดำเนินการมาเป็นเวลาถึง
20 ปี แล้วแต่ทำไมเพิ่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลตัวนี้ขึ้นมาว่า
แม้ตลาดหุ้นไทยจะตั้งมาถึง 20 ปี แต่ ก.ล.ต. ตั้งมาเมื่อปี 2535 เท่านั้น
ส่วนสำนักวิจัยฯ เพิ่มจะตั้งเป็นรูปเป็นร่างมาเพียง 2 ปีถือว่าใหม่มาก และทางตลาดหุ้นเองก็มีตัววัดดัชนีคร่าว
ๆ อยู่แล้วแต่จะดูในลักษณะการเจริญเติบโตของมูลค่าเป็นหลัก ส่วนของ ก.ล.ต.
จะดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย
เนื่องจากตลาดทุนที่ดีจะสามารถจัดสรรทรัพยากรให้ได้ เป็นตลาดที่มีคุณภาพอย่างเช่น
อุตสาหกรรมใดที่คิดว่าดีมีแนวโน้มเติบโตสูงราคาหุ้นก็จะสูงไปด้วย การระดมทุนของบริษัทเหล่านั้นก็ง่าย
การระดมทุนไปสู่อุตสาหกรรมประเภทนี้ก็จะมีมาก ถ้าอุตสาหกรรมใดที่แนวโน้มไม่ดีการระดมทุนจะน้อยจึงมีพวกนักคิดมาสร้างกลไกของราคาขึ้นมาเป็นตัวกำหนด
ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎ"
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาตลาดทุน ก.ล.ต. ได้ตอบข้อถามที่ว่าตลาดหุ้นไทยเปิดดำเนินการมาเป็นเวลาถึง
20 ปี แล้วแต่ทำไมเพิ่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลตัวนี้ขึ้นมาว่า
แม้ตลาดหุ้นไทยจะตั้งมาถึง 20 ปี แต่ ก.ล.ต. ตั้งมาเมื่อปี 2535 เท่านั้น
ส่วนสำนักวิจัยฯ เพิ่งจะตั้งเป็นรูปเป็นร่างมาเพียง 2 ปีถือว่าใหม่มาก และทางตลาดหุ้นเองก็มีตัววัดดัชนีคร่าว
ๆ อยู่แล้วแต่จะดูในลักษณะการเจริญเติบโตของมูลค่าเป็นหลัก ส่วนของ ก.ล.ต.
จะดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย
เนื่องจากยังเป็นหน่วยงานที่ใหม่ งานวิจัยจึงไม่มีเท่าที่ควรและถ้ามีจะเป็นงานที่สนับสนุนการบริหารภายใน
ก.ล.ต. เองมากกว่าที่จะคิดค้นอะไรข้างนอก แต่ปีต่อไปนี้ สำนักวิจัยฯ เริ่มมีความพร้อมมากขึ้น
จึงทำงานอื่น ๆ หรือร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ พิชิต บอกว่ามีอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังช่วยกับหลายฝ่ายคิดขึ้นมา
และคาดการณ์ว่าจะสามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้ประมาณกลางปีหน้าคือเรื่องของศูนย์ข้อมูลเครดิต
หรือ CENTRAL CREDIT FINE (CCF) ซึ่งเรื่องนี้เป็นความร่วมมือกับหลายฝ่ายคือกระทรวงการคลัง,
ธนาคารแห่งประเทศไทย, ก.ล.ต. และบริษัทโบรกเกอร์ต่าง ๆ โดยมี ก.ล.ต. เป็นหน้าด่านเป็นผู้ดำเนินการด้านฐานข้อมูลและสำนักงานจะตั้งอยู่ที่
ก.ล.ต. แห่งนี้
ปฐมเหตุที่มีการศึกษาเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นเพราะว่า ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการปล่อยสินเชื่อ
โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเรื่องดังกล่าวจึงมีการรวมตัวกันเพื่อตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา
เรียกว่าศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งประเทศไทย
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงการจัดสรรสินเชื่อในระบบการเงิน และเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อ
โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ขอกู้สินเชื่อจากสถาบันการเงินหลายแห่งและสถาบันการเงินไม่ทราบ
ถ้ามีศูนย์เครดิตก็จะตรวจสอบได้เพราะทางสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจะแจ้งกับศูนย์เครดิตว่ามีใครมาขอกู้บ้างแล้ว
และก็นำไปใช้ในธุรกิจใด ควรจะให้หรือไม่ให้ในวงเงินเท่าใด
"คล้าย ๆ กับที่ชมรมบัตรเครดิตเขาทำ แต่ของเราเป็นเรื่องของสถาบันการเงินที่เป็นโครงการมากว่าที่เป็นของลูกค้ารายย่อย
แต่การนำเรื่องนี้มาใช้ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษเพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
จนมีหลายฝ่ายเป็นห่วงว่ามันอาจจะคาบเกี่ยวกับเรื่องของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
ซึ่งเราต้องแบ่งแยกให้ชัดเจนเพราะเป็นเรื่องเปราะบาง เราอาจจะเลี่ยงไม่ตอบในข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผลหรือในทางที่ควรจะเป็น
เช่นชื่อบุคคลหรือบริษัทเราอาจจะไม่กล่าวกับสาธารณชนเป็นอันขาด ทั้งตัวผู้ใช้ข้อมูลเองก็ต้องมีจรรยาบรรณเพียงพอด้วย"
สำหรับการจัดตั้งศูนย์เครดิตแห่งประเทศไทยนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว ในเรื่องของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
เหลือเพียงรายละเอียดในการดำเนินการและบุคลากรเท่านั้นที่ยังไม่ลงตัวนัก
เพราะร่วมกับหลายฝ่าย ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้นสำนักวิจัยฯ ของ ก.ล.ต. เป็นผู้รับผิดชอบ
ส่วนเรื่องข้อมูลและการบริหารนั้นฝ่ายกำกับของ ก.ล.ต. จะเป็นผู้ดูแล
"สำหรับประธานการจัดตั้งคนแรกคาดว่าจะเป็นคุณณรงค์ ปัทมเสวี จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร
ซึ่งเป็นกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมบริษัทเงินทุนอยู่แล้ว ปีหน้าคงได้เกิดแน่นอน