Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
บรรหาร ศิลปอาชาอดีตนายกฯ ที่ใช้มือการเงินเปลืองที่สุด             
 


   
search resources

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
วิจิตร สุพินิจ
เอกกมล คีรีวัฒน์
บดี จุณณานนท์
บรรหาร ศิลปอาชา




บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 รับหน้าที่บริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2538 เวลาผ่านพ้นมาเป็นเพียงเวลาปีเศษเท่านั้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่บรรหารเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เขาได้ใช้มือดีทางการเงินมาแล้วถึง 4 คน ในระยะเวลาอันสั้นหลังจากที่ได้รับตำแหน่ง ที่คนเหล่านั้น ได้ถูกปลด บีบบังคับ และเก็บกดจนต้องลาออกไปเองและบทสรุปที่ทุกคนได้รับนั้นล้วนไม่สวยงาม

เริ่มจากเอกกมล คีรีวัฒน์ ถูกกดดันให้ออกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. และถูกปลดกลางอากาศจากตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยบรรหาร 1 และขณะนี้ยังมีคดีความค้างคาอยู่ในศาล

รายที่สอง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลว่าผลงานไม่เป็นที่พอใจของพรรคร่วมรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่ติดราชการอยู่ต่างประเทศ กลับมาเปิดแถลงข่าวการลาออกด้วยเสียงอันสั่นเครือ น้ำตาแทบนองหน้า แถมขณะนี้ไปเป็นกลุ่มที่ปรึกษาให้กับหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

รายต่อมาคือ วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ลาออกไปเพราะถูกกดดัน และไปร่วมเป็นทีมที่ปรึกษาให้กับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เช่นเดียวกับ ดร.สุรเกียรติ์

รายล่าสุด บดี จุณณานนท์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 2 ของรัฐบาลบรรหารประกาศลาออกแบบปุ๊บปั๊บ สร้างความประหลาดใจให้อย่างมาก เพราะว่าเหลือเวลาเป็นรัฐมนตรีรักษาการอีกแค่เพียง 1 เดือน ก็จะพ้นวาระหลังการเลือกตั้งในวันที่ 17 พ.ย.นี้ ช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เหลืออยู่ถือว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดี
ที่บดีจะได้แสดงความรู้ความสามารถที่จะฝากผลงานไว้ให้เป็นที่ประจักษ์

แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างนั้น การชิงลาออกของบดีจุณณานนท์ ไม่ได้ให้เหตุผลที่ชัดเจนไว้ บอกแต่เพียงว่าเป็นเหตุผลส่วนตัว แต่เท่าที่พอจะสามารถสรุปกันได้นั้นประเมินกันว่าแม้ว่าจะมีแนวทางการดำเนินงานเป็นของตนเองได้ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากว่าความจริงแล้วความคิดเห็นของบดี ยังมีหลายเรื่องที่ตรงกันข้ามกับนายกรัฐมนตรีบรรหารโดยสิ้นเชิง

เรื่องแรกคือถูกกดดังเรื่องการจัดตั้งแบงก์ใหม่ ซึ่งบดีจุณณานนท์ ไม่ยอมเซ็นชื่อ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อมารยาททางการเมือง ควรที่จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งหลังวันที่ 17 พ.ย. เป็นคนมาทำแทน

เรื่องต่อมาคือ การตัดงบจัดซื้ออาวุธของทหารจำนวน 16,000 ล้านบาท เพราะกรมสรรพากรเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ อีกทั้งยังลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปด้วย แต่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว

เรื่องที่สามคือการเข้าไปโอบอุ้มโครงการดอนเมืองโทลเวย์ ซึ่งกระทรวงการคลังถูกบีบบังคับให้หาเงินเป็นจำนวน 5,000 ล้านบาทเพื่อเข้าไปช่วยเหลือโครงการดังกล่าว ซึ่งบดีไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้มาตลอด เนื่องจากไม่มีเหตุผลดีเพียงพอที่กระทรวงการคลังจะต้องเข้าไปอุ้มโครงการของภาคเอกชนเช่นนั้น

เรื่องที่สี่ คือการนำเงินคงคลังมาชำระหนี้ต่างประเทศโดยให้นำเงิน 12,000 ล้านบาท ไปซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อเก็บไว้ชำระหนี้ ซึ่งการนำเงินคงคลังไปใช้ จะส่งผลเสียต่อฐานะของประเทศในระยะยาวและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน

เรื่องสุดท้ายที่มีการประเมินกันไว้คือ การแก้ไขปัญหาตลาดหุ้นที่ตกต่ำ แนวทางที่บดี ต้องทำคือการลดสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติลง เพื่อลดอิทธิพลครอบงำตลาดหุ้นไทยของชาวต่างชาติ เนื่องจากอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่าการลงทุนของต่างชาติถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกประเทศ ทำให้ควบคุมได้ยาก จึงสมควรที่จะลดสัดส่วนลงให้เหลือน้อยที่สุด แต่ก็ถูกหลายฝ่ายคัดค้าน เพราะเห็นว่านโยบายดังกล่าวไปขัดกับนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน

ด้วยเหตุผลที่เกิดขึ้น ผู้คร่ำหวอดในวงการเงินหลายท่านเห็นว่า ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอยู่เหมือนกัน

"เพราะถ้าพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วจะเห็นว่าคุณบดีไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก การตัดสินใจทุกอย่างยังขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวท่านั้น ดูไปก็เหมือนร่างทรงคุณบรรหาร คงกดดันลาออกเสียดีกว่า" นักวิเคราะห์ทางการเงินรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

"นักการเงินทั้ง 4 คนที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีชะตากรรมที่ไม่แตกต่างกัน คือจากไปด้วยความเจ็บปวด พร้อม ๆ กับที่เศรษฐกิจของประเทศไทยก็ถูกย่ำยีจนเสียหายไปไม่น้อยทีเดียว ตอนนี้คงได้แต่ฝากความหวังไว้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังคนใหม่จะมาช่วยเยียวยาได้หรือไม่" นักวิเคราะห์คนเดิมกล่าว

จะเห็นได้ว่าวิบากกรรมของมือการเงินและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้ง 4 หาใช่ตำแหน่งที่หอมหวนและอยู่กันได้ง่าย ๆ จำเป็นต้องใช้ความสามารถทางเงินและการคลังยิ่งในยุคที่ภาวะวิกฤติในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่มีปัญหา ล้วนต้องอาศัยมืออาชีพทั้งสิ้น

หากนักการเมืองอาชีพอย่างบรรหาร ศิลปอาชา หรือว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะมาเถลิงอำนาจต่อ ๆ ไปยังคงดำเนินการเชือดอาสาสมัครเหล่านี้ ต่อไปคงไม่มีมืออาชีพหรือคนดี ๆ เข้ามาอาสาทำงานในตำแหน่งสำคัญ ๆ ทางการเงินอีกต่อไป

แม้จะมีระบบการคัดเลือกแต่งตั้งการดำรงตำแหน่งกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แต่บทจะล้มกันง่าย ๆ ก็ทำได้ราวกับไม่มีระบบอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us