Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์"ผมเกือบจะหนีมหาวิทยาลัยแล้ว"             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
search resources

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์




ขณะที่อาชีพนักวิเคราะห์หรือ Analyst เป็นที่เฟื่องฟูมากในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคนที่ยึดอาชีพนี้ในยุคแรก มาวันนี้น่าจะไต่ขึ้นมาเป็นระดับอาวุโส หรือหัวหน้าฝ่ายในบริษัทหลักทรัพย์ไปแล้ว ส่วนอาชีพที่ปรึกษาหรือ Consultant ก็ไปได้ดีเรื่อย ๆ ในสังคมธุรกิจยุคทุนการเงินเป็นกระแสหลัก กลุ่มคนเหล่านี้มีอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ตั้งแต่เรือนหมื่นจนถึงหลายแสนบาทในภาคเอกชนขณะที่หากหันมามองวิชาชีพใกล้เคียงกันในภาคราชการแล้ว ห่างไกลยิ่งนัก

มีความพยายามที่จะจัดหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้งในแง่การตั้งเป็นหน่วยงานแยกออกมาต่างหากและบริหารเองเช่น TDRI หน่วยงานที่ยังอิงภาครัฐเช่น สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

หน่วยงานที่โดดเด่นที่สุดในเวลานี้คือ สกว. ซึ่งตั้งขึ้นในยุคของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เป็นหน่วยงานที่มี พ.ร.บ. จัดตั้งเฉพาะ ขึ้นต่อสำนักยากรัฐมนตรี มีเงินกองทุนจำนวนมากที่จัดสรรมาจากงบประมาณแผ่นดิน และนำดอกผลมาใช้มอบเป็นทุกนวิจัยให้นักวิชาการที่มีผลงานเยี่ยมยอดสกว. ในตอนนี้จึงเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการสร้างงานวิจัยในประเทศ

รางวัล เมธีวิจัย สกว. เริ่มให้มาตั้งแต่ปี 2537 แต่ในปีนั้นยังไม่ได้มีการตั้งชื่อว่า "เมธีวิจัย สกว." เพิ่งจะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อปี 2538

สำหรับปี 2539 นี้มีนักวิชาการได้รับคัดเลือกเป็นเมธีวิจัย สกว.ทั้งหมด 16 คน แบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์ 12 คนด้านมนุษยศาสตร์ 2 คน และสังคมศาสตร์ 2 คน

รศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และดร.เมธี ครองแก้ว เป็นเมธีวิจัย สกว.ด้านสังคมศาสตร์ 2 คนในปีนี้

รังสรรค์ เป็นชาวกรุงเทพมหานครสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมดีมาก) จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับพระราชทาน ทุนภูมิพลตลอดระยะเวลา 4 ปีที่เรียน และได้ทุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ธรรมศาสตร์ เขาได้รับราชการเนอาจารย์สอนหนังสือที่คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปัจจุบัน เขาเป็นผู้ที่มีผลงานทางวิชาการ และงานเขียนอย่างโดดเด่นสม่ำเสมอ ซึ่งนี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ได้รับทุนเมธีวิจัย สกว.ในปีนี้ ซึ่งหากไม่มีจุดนี้เข้ามาในชีวิตเขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อาจต้องสูญนักวิชาการคุณภาพไปอีกคนหนึ่ง หลังจากที่เขาอดทนอยู่กับระบบที่นี่มานานผ่านยุคที่ใครต่อใครเลิกเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกันไปเป็นจำนวนมาก

"หากว่าทุนนี้เกิดขึ้นมานาน คือมาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มันจะดึงให้คนอยู่ที่มหาวิทยาลัยได้เยอะ ทุนแบบนี้มาช้าไป คนหนีมหาวิทยาลัยหมดแล้วในเวลานี้ ผมเกือบจะหนีมหาวิทยาลัยแล้ว ทุนนี้มาในจังหวะที่ผมกำลังตัดสินใจว่าผมจะมาทำงานเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทเอกชนดีไหม แล้วเขาให้ทุนผม ผมเลยต้องกลับไปทำงานวิจัยใหม่" รังสรรค์เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

คณะกรรมการผู้พิจารณาให้ทุนแก่เมธีวิจัย สกว.ไม่เป็นที่เปิดเผย แต่ชื่อของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเมธีวิจัย สกว.ในแต่ละปีที่ประกาศออกมานั้น ไม่เป็นที่กังขาแก่แวดวงวิชาการ ไม่ว่าจะเป็น ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศาตราจารย์ดร.เขียน ธีระวิทย์, รศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, รศ.ดร.ศณีศักร วัลลิโภดม เป็นต้น

รังสรรค์เคยได้รับทุนวิจัยมาพอสมควร แต่ไม่มีทุนวิจัยครั้งใดที่ได้มากเท่าครั้งนี้ เขาเคยได้ทุนวิจัย 4 ล้านบาท เป็นเวลา 4 ปี สำหรับครั้งนี้เป็นทุนที่ไม่ได้เขียนข้อเสนอหรือ Proposal เพื่อขอทุน และผู้ที่ได้รับทุนจะทำวิจัยเรื่องอะไรก็ได้ โดยในแต่ละปีต้องมีผลงานให้เห็นเพื่อที่จะได้รับทุนในปีถัดไป ซึ่งทุนนี้จะให้ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี ๆ ละ 3 ล้านบาท

นอกเหนือจากการได้รางวัลทุนวิจัย จากการเป็นเมธีวิจัย สกว.แล้ว ก่อนหน้านี้เขาเคยได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐก ซึ่งเขาถือว่าเป็นการให้รางวัลด้วยเช่นกัน ปาฐกถาที่เขาแสดงได้แก่ ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ปาฐกถาสุภา ศิริมานนท์ และปาฐกถาไชย้ง ลิ้มทองกุล

ผลงานทางวิชการหลัก ๆ ของเขาแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

- กลุ่มแรกเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์การศึกษา ซึ่งเป็นงานช่วงแรกหลังจากที่เขากลับจาก
ต่างประเทศ เขาได้เข้าไปช่วยคณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในปี 2517 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขาผลิตงานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การศึกษาออกมามากพอสมควร เขาทิ้งเรื่องนี้ไปในช่วงปี 2522-2523 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาไปช่วยทบวงมหาวิทยาลัยในการปฏิรูประบบการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย แล้วปรากฏว่าทบวงฯ ไม่ได้เอาจริงในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีระบบที่เขา และดร.โคทม อารียา ดร.พจน์ สะเพียรชัย ซึ่งร่วมเป็นคณะทำงานได้เสนอไว้ในตอนนั้น กำลังจะมีการนำมาใช้ในปี 2542 นี้ คือระบบที่ให้น้ำหนักกับผลการเรียนในร.ร. และลดความสำคัญของการสอบสัมฤทธิผล ให้ความสำคัญกับการสอบ Aptitude Test และมี Achievement Test ด้วย

เขากลับมาสนใจเรื่องนี้ใหม่เมื่อรับตำแหน่งบริหารเป็นรองอธิการบดี ฝ่ายงางแผนและ
พัฒนาเช็ค ในปี 2537 เขาเสนอให้มีการขึ้นค่าเล่าเรียนประมาณ 300% เพราะมหาวิทยาลัยไม่เคยมีการปรับค่าเล่าเรียนโดยส่วนมากเลย ข้อเสนอของเขาไม่ได้มีผลกระทบกับนักศึกษาปัจจุบัน แต่เปลี่ยนแปลงสำหรับคนที่เข้าใหม่ และให้มีการกันเงินรายได้ส่วนหนึ่งสำหรับนักศึกษาที่ยากจนกันไว้ถึง 10% ซึ่งเป็นวงเงินที่เยอะมากแต่มีคนมาขอน้อยมาก เพราะคนจนหลุดไปตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว นอกจากนี้ให้กันเงินไว้เป็น Saving หรือเงินรายได้พิเศษของมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งนโยบายกันเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่จะมากำหนดจังหวะก้าวของการพัฒนามหาวิทยาลัย

เขาเล่าว่า "ผมศึกษาเรื่องนี้มาก ใช้เวลามากในการทำข้อมูล มีโปสเตอร์ด่าผมเต็มท่า
พระจันทร์ ผมต้องไปเจรจากับผู้แทนนักศึกษา กับองค์การนักศึกษาฯ นอกจากนี้ก็มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยทักท้วงเป็นจำนวนมาก แต่ผมก็พยายามดังให้ผ่าน เพราะถ้าไม่ผ่าน มหาวิทยาลัย ก็อยู่อย่างนี้ ทำอะไรไม่ได้ แม้กระทั่งห้องสมุดก็ยังทำไม่ได้"

- งานกลุ่มที่สองของเขาคือการศึกษาเรื่องเศรษฐศาสตร์การคลัง ซึ่งเขามีผลงานออก
มาเป็นจำนวนมาก ทั้งงานสอนและงานวิจัย

- งานกลุ่มที่สาม เป็นงานเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ คล้ายกับพัฒนาการของ
ระบอบเศรษฐกิจไทย มีผลงานเช่น กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจประเทศไทย

ทั้งนี้งานวิจัยที่เขากำลังศึกษาต่อเนื่องในตอนนี้ก็อาจนับเข้าในกลุ่มงานที่สามของเขา
แกนหลักของงานวิจัยที่รังสรรค์สนใจศึกษาอยู่ในเวลานี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของทุนวัฒนธรรมทั้งในสังคมเศรษฐกิจโลกและสังคมเศรษฐกิจไทย

บทความเรื่องฟุตบอล รักบี้ คริกเก็ต เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกายอขงเขาที่ตีพิมพ์ในช่วง
หลังเป็นการศึกษาถึงกระบวนการสากลานุวัตร (สากล+อนุวัตร) หรือมาจากศัพท์ Internationalization ของสินค้าและบริการเหล่านี้

ตัวอย่างเรื่องกีฬานั้น เขาอธิบายว่า "ผมต้องการดูว่ากีฬามีกระบวนการสากลานุวัตร
อย่างไร กีฬาจะกลายเป็น International Sport ได้อย่างไร แต่ก่อนนี้กระบวนการที่จะทำให้มันเป็นกีฬาสากลนี่มันอาศัยระบบจักรวรรดินิยม" กีฬาอย่างกอล์ฟ และการตั้งสโมสรกีฬาหรือ Sport Club ล้วนแล้วแต่มาพร้อมลัทธิจักรวรรดินิยม แต่ตอนนี้ระบบจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมกำลังเข้ามาแทนที่ เขาต้องการศึกษาการเคลื่อนตัวของสินค้าวัฒนธรรมเหล่านี้ เพื่ออธิบายพัฒนาการของทุนวัฒนธรรมซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจระบบทุนนิยมโลก

รังสรรค์ไม่เพียงแต่เป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่โดดเด่นมีผลงานต่อเนื่องสม่ำเสมอเท่า
นั้น ผลงานเขียนด้านอื่น ๆ ก็มีไม่น้อย เขาเล่าว่า "ชอบอ่านหนังสือประวัติบุคคล หนังสือบันทึกความทรงจำหากคุณให้ผมเล่าเรื่องปัญญาชนอังกฤษในทศวรรษ 1920-1930 นี่ผมอ่านหนังสือในช่วงนั้นค่อนข้างเยอะ ยุคของเคนส์ กลุ่มบลูมส์เบอรี่ส์ เป็นต้น"

ในยุคหนึ่งเขามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในงานเขียนที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร "โลกหนังสือ" ของ
บรรณาธิการสุชาติ สวัสดิ์ศรี ซึ่งกลายเป็นนิตยสารที่เป็นตำนานไปแล้ว นอกจากนี้ผลงานในวารสารธรรมศาสตร์ในยุคใกล้เคียนกันเป็นงานที่นอกเหนือไปจากเรื่องวิชาการเศรษฐศาสตร์ก็มีอยู่ไม่น้อย

เขาเล่าว่าในช่วงหลังไม่ค่อยมีเวทีแบบโลกหนังสือให้เขียนอีก "ช่วงที่ผมเขียนให้โลก
หนังสือนั้นเป็นช่วงที่ผมกำลังมีปัญหาส่วนตัว เพราะว่าหลัง 6 ตุลานี่ผมค่อนข้าง depress ผมไม่ได้ทำงานวิชาการเป็นเวลาปีกว่าถึง 2 ปี เพราะว่าผมถูกรบกวน"

นอกเหนือจากการอ่านงานวิชาการเศรษฐศาสตร์แล้ว เขาอ่านหนังสืออะไร? "ขณะนี้
ส่วนใหญ่ผมอ่านพวกนิตยสาร ใช้เวลาไปกับพวกนี้เยอะ เช่น อ่าน London Book Review ในนั้นจะมีบทความดีมากทุกประเภท และผมกำลังอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษ กำลังดูกระบวนการสากลานุวัตรของภาษา"

แม้ว่าจะมีผลงานวิชาการที่โดดเด่นต่อเนื่องสม่ำเสมอในการอธิบายเศรษฐกิจสังคมไทย
แต่ปรากฎว่าในการสัมมนาครั้งสำคัญ ๆ เรื่องไทยศึกษาหรือ Thai Studies ไม่ว่าครั้งใดที่มีการจัดขึ้น น่าประหลาดใจที่เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ผู้นี้ไม่เคยได้รับเชิญร่วมประชุมสักครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us