Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
แนวทางในการปรับโครงสร้างและการแปรรูปกิจการไฟฟ้า             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
www resources

โฮมเพจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Electricity




เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เกี่ยวกับแนวทางในการปรับโครงสร้างและการแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยดังต่อไปนี้

รูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในระยะยาว (2543-2548 เป็นต้นไป) จะมีลักษณะการแยกออกเป็น 3 กิจการ คือ กิจการผลิตไฟฟ้า (GENERATION) กิจการสายส่งไฟฟ้า (TRANSMISSION) และกิจการจำหน่ายไฟฟ้า (DISTRIBUTION) ซึ่งในแต่ละกิจการจะถูกแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด และรัฐบาลจะลดบทบาทของตนเองลง โดยเอกชนจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และ/หรือกระจายหุ้นให้แก่ประชาชนด้วยการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โครงสร้างกิจการไฟฟ้าในระยะปานกลาง (2539-2542)

การดำเนินกิจการของการไฟฟ้าในช่วงนี้ จะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่โครงสร้างกิจการไฟฟ้าในระยะยาว ดังนั้นจึงต้องมีการปรับโครงสร้าง และมีการแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศ จากกิจการที่ผูกขาดโดยรัฐมาสู่การส่งเสริมบทบาทของเอกชนให้มีมากขึ้น รวมทั้งมีการส่งเสริมการบริหารงานในเชิงพาณิชย์

รูปแบบโครงสร้างของกิจการไฟฟ้าในระยะปานกลางจะมีลักษณะดังนี้

กิจการผลิตไฟฟ้า : ส่งเสริมให้มีผู้ผลิตหลายราย โดยยังคงส่งเสริมผู้ผลิตเอกชนรายเล็กที่ผลิตไฟฟ้าโดยระบบ COGENERATION และพลังงานนอกรูปแบบ (SMALL POWER PRODUCER : SPP) รวมทั้งยังคงส่งเสริมผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (INDEPENDENT POWER PRODUCER : IPP)

นอกจากนั้น ยังมีการแปรรูปโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ให้เป็นบริษัทจำกัด เพื่อเพิ่มการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า

กิจการสายส่ง : จะแยกกิจการสายส่งไฟฟ้าออกเป็นหน่วยธุรกิจภายใต้การดูแลของ กฟผ. โดยในระยะนี้ กฟผ.ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ แต่ทั้งนี้กิจการสายส่งดังกล่าวจะต้องมีความเป็นกลางในการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่าง ๆ ทั้งจาก SPP และ IPP รวมทั้งผู้ผลิตที่จะเกิดจากบริษัทย่อยของ กฟผ.เดิม

กิจการจำหน่ายไฟฟ้า : ในช่วงระยะเวลาปานกลางนี้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะปรับตัวให้มีการบริหารเชิงธุรกิจ แต่ก็ยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ และยังคงทำหน้าที่ให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ของตนดังเดิม

สำหรับลักษณะของการกำกับดูแล กพช. และ สพช. ยังคงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในระยะปานกลางนี้ แต่จะต้องมีการปรับปรุงแนวทางในการกำกับดูแล โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการไฟฟ้าและคุณภาพของการบริการควบคู่ไปด้วย

โครงสร้างกิจการไฟฟ้าในระยะยาว (2543-2548 เป็นต้นไป)

กิจการผลิตไฟฟ้า : ส่งเสริมให้มีผู้ผลิตหลายราย เพื่อเพิ่มการแข่งขันในระบบผลิตไฟฟ้า และเพิ่มบทบาทของเอกชนอันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า

กิจการสายส่ง : ในที่สุดแล้วจะมีลักษณะเป็น COMMON CARRIER ที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตไฟฟ้าได้โดยตรงแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า โดยใช้บริการสายส่งภายใต้หลักเกรฑ์การกำหนดค่าใช้บริการสายส่งที่เป็นธรรม

กิจการจำหน่ายไฟฟ้า : ในแต่ละเขตจะยังคงมีผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว เพราะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์มากที่สุด แต่ระบบสายจำหน่ายจะมีลักษณะเป็น COMMON CARRIER ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อไฟฟ้าโดยตรงได้จากผู้ผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ ในส่วนของการกำกับดูแลจะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระ (INDEPENDENT REGULATORY BODY) ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าให้มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์และเป็นไปตามกลไกตลาด พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจและเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ลงทุนและผู้ใช้ไฟฟ้า อันจะส่งผลให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงและให้ประดยชน์แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้มากที่สุด

ซึ่งการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระนี้จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้อำนาจกำกับดูแลอยู่ที่องค์กรอิสระดังกล่าวเพียงแห่งเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us