Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 สิงหาคม 2549
ธปท.มั่นใจหนี้คงค้างบัตรเครดิตลด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Credit Card




ธปท.เผยตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิตล่าสุดไตรมาส 2 ของปี 49 พบว่าปริมาณและยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมกลับลดลงมาอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท จากในเดือนก่อนที่ 6.3 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 6.7% "ธาริษา" ระบุแบงก์พาณิชย์ระมัดระวังมากขึ้น แบงก์ชาติออกกฎดูแลอีกชั้นหนึ่ง มีแนวโน้มยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตจะลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าได้เห็นแน่

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขยอดคงค้างบัตรเครดิตโดยรวมในช่วงไตรมาส 2 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังมากขึ้นในการให้บริการลูกค้า ขณะเดียวกันธปท. ก็มีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ มากำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ยอดคงค้างบัตรเครดิตจากเดิมสมัยก่อนอยู่ที่ 30-40% กลับมาลดลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันลดลงอยู่ที่ระดับ 16%

“เดิมทีสมัยก่อนประชาชนที่มีรายได้ประมาณ 7,000-8,000 บาท ก็สามารถมีบัตรเครดิตได้แล้ว แต่ขณะนี้ด้วยมาตรการต่างๆ ของแบงก์ชาติและแบงก์พาณิชย์เองก็มีความระมัดระวังมากขึ้น รวมไปถึงผู้บริโภคเองเมื่อมีรายได้น้อยลงจึงมีความระมัดระวังมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามที่แบงก์ชาติคาดการณ์ไว้แล้ว”

อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของบัตรเครดิตจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน แต่ในฐานะผู้กำกับสถาบันการเงินต้องดูแลไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตทั้งระดับประเทศและส่วนต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ อาทิ เมื่อภาคครัวเรือนมีการใช้จ่ายมากเกินไปอาจเกิดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นก็จะกระทบทั้งธนาคารพาณิชย์และผู้บริโภคเองด้วย ดังนั้นการขยายตัวของบัตรเครดิตในขณะนี้ไม่มีอะไรที่น่าห่วงและยังคงเติบโตต่อไปได้ จึงยืนยันว่าบัตรเครดิตจะลดลงเรื่อยๆ และเอ็นพีแอลจะสามารถลดลงได้ตามเป้าที่ 2% ในปี 2550 อย่างแน่นอน

ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง จากในช่วงปี 45 อยู่ที่ระดับ 39% ปี 46 ลดลงเหลือ 33% ปี 47 เหลือ 25% และปัจจุบันมาอยู่ที่ 16-17% และคาดว่าแนวโน้มในปีหน้าสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตจะลดลงเรื่อยๆ

ทั้งนี้ รายงานจากสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า ธปท.ได้รายงานตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิตของสถาบันการเงิน ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 หรือสิ้นไตรมาส 2 พบว่า ปริมาณบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง โดยมีบัตรเครดิตให้บริการทั้งสิ้น 10,481,460 บัตร เทียบกับสิ้นไตรมาสแรก ที่มีบัตรเครดิตทั้งสิ้น10,156,382 บัตร หรือเพิ่มขึ้น 325,078 บัตร คิดเป็น 3.2%

โดยแบ่งเป็นบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย 4,046,364 บัตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 106,623 บัตร บัตรเครดิตของสาขาธนาคารต่างประเทศ 1,162,359 บัตร เพิ่มขึ้น 82,268 บัตร และบัตรเครดิตของบริษัทประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 5,272,737 บัตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 136,187 บัตร ทั้งนี้ จำนวนบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้น เป็นเพราะธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์มีการแข่งขันสินเชื่อรายย่อยกันอย่างรุนแรง

สำหรับยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีนี้ มีทั้งสิ้น 153,848 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบ 143,564 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10,284 ล้านบาท คิดเป็น 7.1% โดยแบ่งเป็นยอดคงค้างสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย 50,232 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 48,557 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,675 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างประเทศ 31,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้นไตรมาสก่อนหน้า 3,115 ล้านบาท และนอนแบงก์ 72,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,495 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจาณาดูตัวเลขปริมาณบัตรและยอดสินเชื่อคงค้างจะเห็นตัวเลขของทั้งระบบ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างชาติ และนอนแบงก์ ณ สิ้นไตรมาส 2 มียอดเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก

ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายรวมทั้งระบบมีทั้งสิ้น 58,944 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 63,184 ล้านบาท ลดลงถึง 4,240 ล้านบาท หรือคิดเป็นลดลง 6.7% โดยแบ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรภายในประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 42,312 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 1,906 ล้านบาท โดยเป็นปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย 34,159 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 999 ล้านบาท เป็นยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตธนาคารต่างประเทศ 8,153 ล้านบาท ลดลง 1,907 ล้านบาท สำหรับการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49 ล้านบาท และเป็นการเบิกเงินสดล่วงหน้า 14,387 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสแรก 1,383 ล้านบาท

ผู้สื่อข่ายรายงานว่า เมื่อดูภาพรวมของการให้บริการบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทั้งระบบจะพบว่าปริมาณบัตรยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับยอดสินเชื่อคงค้างจะเห็นว่ายอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารต่างชาติในไตรมาสที่ 2 มีอัตราเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก แต่เมื่อดูตัวเลขปริมาณการใช้จ่ายรวมมียอดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ทางการเมือง ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากไม่มั่นใจกับรายได้ในอนาคต

ซึ่งในส่วนความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธปท.ที่ระบุว่าการกู้ยืมของครัวเรือน พบว่าการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้ติดตามการขยายตัวของยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตที่ออกโดยนอนแบงก์ต่อไป เพราะเกรงว่าความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวจะลดลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us