Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 สิงหาคม 2549
คลังทุ่มสุดตัวจำนำหุ้น"อสมท"อุ้ม TMBพบเทมาเส็กถืออ้อม-แก้เกณฑ์ถือต่ำ70%             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

ธนาคารทหารไทย
กระทรวงการคลัง
Stock Exchange




กระทรวงการคลังอุ้มแบงก์ทหารไทยสุดฤทธิ์ ใช้วิธีการแปลกยอมนำหุ้น อสมท จำนำแบงก์ออมสิน จนถือหุ้นต่ำกว่า 70% แถมแก้กฎสร้างความถูกต้อง คนในวงการเผยมองได้ว่าถังแตกจริงและหากไล่ที่มาที่ไปพบเชื่อมโยงถึงเทมาเส็ก

หุ้นเพิ่มทุน 3,222.39 ล้านหุ้นของธนาคารทหารไทย หรือ TMB ที่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการธนาคารที่อนุมัติไว้ตั้งแต่ 10 มีนาคม 2549 ได้ข้อสรุปแล้วว่าทางกระทรวงการคลังจะใช้สิทธิเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ถือในหุ้นสามัญอยู่ 20.88% และถือในหุ้นบุริมสิทธิของ TMB ทั้งหมด หรือเกือบ 2 พันล้านหุ้น ด้วยเงื่อนไข 4.75 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคา 3 บาทต่อหุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 เบ็ดเสร็จต้องใช้เงินเพื่อรักษาสิทธิในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท

สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีการหาเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นความดิ้นรนอย่างมากในการหาเงินเพื่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุน จากที่เราเคยเห็นรัฐบาลอัดเงินหลายแสนล้านบาทแจกจ่ายให้กับโครงการต่าง ๆ อย่างไม่ต้องกังวล

แต่ครั้งนี้ถึงกับต้องมีการจำนำหุ้นบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) หรือ MCOT ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 531 ล้านหุ้นหรือ 77.28% ราว 11% เพื่อให้ได้เงิน 3 พันล้านบาท โดยมีธนาคารออมสิน ธนาคารคู่ใจรัฐที่ตอบสนองนโยบายทุกเรื่องได้เป็นอย่างดีทำหน้าที่รับจำนำหุ้น MCOT พร้อมทั้งคิดดอกเบี้ยฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 5% +1.66% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.66% ต่อปี และต้องซื้อคืนใน 3 ปี

ลงทุนจำนำหุ้น

แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า แปลกใจเช่นกันว่าทำไมการซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน TMB ของกระทรวงการคลังครั้งนี้จึงค่อนข้างสลับซับซ้อน เพราะที่ผ่านมาหากหุ้นตัวใดที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่หากต้องการเพิ่มทุนก็ไม่เห็นจะต้องใช้วิธีการในลักษณะนี้ ตรงนี้ทำให้หลายฝ่ายมองกันว่าสาเหตุที่ต้องทำในลักษณะนี้เป็นเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่รายนี้มีเงินไม่พอหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ภาพที่ดีต่อสาธารณชน โดยเฉพาะกับนักลงทุนต่างประเทศ

เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังประสบปัญหาด้านการเงิน โครงการก่อสร้างบางส่วนยังไม่ได้รับการเบิกจ่าย หรือการเร่งออกพันธบัตรมากขึ้น สอดรับกับความเป็นไปได้ในการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะภาษีประเภทต่าง ๆ ในครึ่งปีหลังที่มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บได้น้อยลง อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนลดลง

"เราไม่ได้บอกว่าวิธีการนี้ไม่ถูกต้อง เอกชนหลายแห่งก็ทำกัน เอาหุ้นไปจำนำไว้กับสถาบันการเงินแล้วเอาเงินออกมาเพื่อนำไปใช้จ่ายตามจุดประสงค์ แต่เราไม่ค่อยเห็นภาครัฐทำในลักษณะนี้ รวมถึงสงสัยต่อไปว่าเหตุใดแบงก์ทหารไทยจึงมีความจำเป็นมากที่รัฐต้องรักษาสัดส่วนไว้ ขณะที่แบงก์ชาติมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถือตามสถาบันการเงินต่างๆ"

TMBโยงเทมาเส็ก

หากย้อนกลับไปเมื่อ 21 มกราคม 2547 ธนาคารทหารไทยเป็นแกนหลักในการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารดีบีเอสไทยทนุกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ IFCT จากเดิมที่ IFCT ถูกวางตัวไว้ให้ควบกับธนาคารไทยธนาคารตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยศึกษาไว้

ในช่วงที่ธนาคารทหารไทยมีปัญหาจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากทางการ ต้องทำการเพิ่มทุนครั้งหนึ่งมีชื่อพานทองแท้ ชินวัตร เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TMB แต่ขายออกไปเมื่อไหร่กลับไม่มีรายงาน

ในการควบรวมกิจการทำให้ดีบีเอสแบงก์จากสิงคโปร์ เดิมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยทนุ กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ที่ 18.48% โดยดีบีเอสนี้ยังร่วมทุนกับกลุ่มชิน คอร์ป ในบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด โดยถือหุ้น 40% ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารดีบีเอส คือเทมาเส็กจากสิงคโปร์ที่ถือหุ้นในธนาคารแห่งนี้ 28%

นอกจากนั้นผู้ถือหุ้นอันดับ 13 บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 1.03% เคยเป็นผู้บริหารเวลาในสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อครั้งที่มีพลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก โดยได้มีข้อครหาเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องอย่างบริษัทฮาวคัม และบริษัท เอส.ที. คอม.ซัพพลาย จำกัด ที่มีคนนามสกุลชินวัตรเป็นผู้บริหาร ขณะที่ผู้เช่าเวลาอื่นถูกปรับตกผังรายการ

จากผิดเป็นถูก

แม้ว่าการขายครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนของกระทรวงการคลังถือหุ้นใน MCOT ต่ำกว่า 70% แต่ก็ได้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ต่ำกว่า 70% แทน จะเห็นได้ว่าแม้บางครั้งวิธีการบางอย่างจะขัดต่อกฎเกณฑ์เดิมไปบ้าง แต่รัฐบาลก็สามารถหาทางออกได้เสมอ

คนในวงการไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมกระทรวงการคลังภายใต้รัฐบาลชุดนี้ต้องใช้วิธีการนี้ เพราะเท่ากับต้องจ่ายสูงกว่าราคาซื้อ 3 บาท บวกดอกเบี้ยอีกเกือบ 0.2 บาท แต่หากเทียบกับราคาตลาดที่ 3.40-3.50 บาทก็ยังนับว่ามีส่วนต่างราคา และราคาหุ้นก็มีสิทธิปรับลดลงได้อีกหากหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 3.22 พันล้านหุ้นเข้ามาซื้อขาย ซึ่งนักลงทุนที่ซื้อหุ้นหลังวันที่ 7 มีทางเดียวคือต้องหาจังหวะขายออกไป

ที่สำคัญดีลนี้ถูกวิพากวิจารณ์ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีอุปสรรคเรื่องเกณฑ์การถือหุ้นขั้นต่ำของกระทรวงการคลัง แต่รัฐก็ใช้วิธีเลี่ยงแล้วแก้กฎเกณฑ์เพื่อสร้างความถูกต้อง ส่วนจะถูกต้องหรือไม่คงต้องแล้วแต่มุมมองของแต่ละฝ่ายพบเทมาเส็กถืออ้อม-แก้เกณฑ์ถือต่ำ70%

กระทรวงการคลังอุ้มแบงก์ทหารไทยสุดฤทธิ์ ใช้วิธีการแปลกยอมนำหุ้น อสมท จำนำแบงก์ออมสิน จนถือหุ้นต่ำกว่า 70% แถมแก้กฎสร้างความถูกต้อง คนในวงการเผยมองได้ว่าถังแตกจริงและหากไล่ที่มาที่ไปพบเชื่อมโยงถึงเทมาเส็ก

หุ้นเพิ่มทุน 3,222.39 ล้านหุ้นของธนาคารทหารไทย หรือ TMB ที่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการธนาคารที่อนุมัติไว้ตั้งแต่ 10 มีนาคม 2549 ได้ข้อสรุปแล้วว่าทางกระทรวงการคลังจะใช้สิทธิเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ถือในหุ้นสามัญอยู่ 20.88% และถือในหุ้นบุริมสิทธิของ TMB ทั้งหมด หรือเกือบ 2 พันล้านหุ้น ด้วยเงื่อนไข 4.75 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคา 3 บาทต่อหุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 เบ็ดเสร็จต้องใช้เงินเพื่อรักษาสิทธิในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท

สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีการหาเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นความดิ้นรนอย่างมากในการหาเงินเพื่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุน จากที่เราเคยเห็นรัฐบาลอัดเงินหลายแสนล้านบาทแจกจ่ายให้กับโครงการต่าง ๆ อย่างไม่ต้องกังวล แต่ครั้งนี้ถึงกับต้องมีการจำนำหุ้นบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) หรือ MCOT ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 531 ล้านหุ้นหรือ 77.28% ราว 11% เพื่อให้ได้เงิน 3 พันล้านบาท โดยมีธนาคารออมสิน ธนาคารคู่ใจรัฐที่ตอบสนองนโยบายทุกเรื่องได้เป็นอย่างดีทำหน้าที่รับจำนำหุ้น MCOT พร้อมทั้งคิดดอกเบี้ยฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 5% +1.66% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.66% ต่อปี และต้องซื้อคืนใน 3 ปี

ลงทุนจำนำหุ้น

แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า แปลกใจเช่นกันว่าทำไมการซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน TMB ของกระทรวงการคลังครั้งนี้จึงค่อนข้างสลับซับซ้อน เพราะที่ผ่านมาหากหุ้นตัวใดที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่หากต้องการเพิ่มทุนก็ไม่เห็นจะต้องใช้วิธีการในลักษณะนี้ ตรงนี้ทำให้หลายฝ่ายมองกันว่าสาเหตุที่ต้องทำในลักษณะนี้เป็นเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่รายนี้มีเงินไม่พอหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ภาพที่ดีต่อสาธารณชน โดยเฉพาะกับนักลงทุนต่างประเทศ

เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังประสบปัญหาด้านการเงิน โครงการก่อสร้างบางส่วนยังไม่ได้รับการเบิกจ่าย หรือการเร่งออกพันธบัตรมากขึ้น สอดรับกับความเป็นไปได้ในการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะภาษีประเภทต่าง ๆ ในครึ่งปีหลังที่มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บได้น้อยลง อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนลดลง

"เราไม่ได้บอกว่าวิธีการนี้ไม่ถูกต้อง เอกชนหลายแห่งก็ทำกัน เอาหุ้นไปจำนำไว้กับสถาบันการเงินแล้วเอาเงินออกมาเพื่อนำไปใช้จ่ายตามจุดประสงค์ แต่เราไม่ค่อยเห็นภาครัฐทำในลักษณะนี้ รวมถึงสงสัยต่อไปว่าเหตุใดแบงก์ทหารไทยจึงมีความจำเป็นมากที่รัฐต้องรักษาสัดส่วนไว้ ขณะที่แบงก์ชาติมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถือตามสถาบันการเงินต่างๆ"

TMBโยงเทมาเส็ก

หากย้อนกลับไปเมื่อ 21 มกราคม 2547 ธนาคารทหารไทยเป็นแกนหลักในการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารดีบีเอสไทยทนุกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ IFCT จากเดิมที่ IFCT ถูกวางตัวไว้ให้ควบกับธนาคารไทยธนาคารตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยศึกษาไว้

ในช่วงที่ธนาคารทหารไทยมีปัญหาจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากทางการ ต้องทำการเพิ่มทุนครั้งหนึ่งมีชื่อพานทองแท้ ชินวัตร เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TMB แต่ขายออกไปเมื่อไหร่กลับไม่มีรายงาน

ในการควบรวมกิจการทำให้ดีบีเอสแบงก์จากสิงคโปร์ เดิมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยทนุ กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ที่ 18.48% โดยดีบีเอสนี้ยังร่วมทุนกับกลุ่มชิน คอร์ป ในบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด โดยถือหุ้น 40% ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารดีบีเอส คือเทมาเส็กจากสิงคโปร์ที่ถือหุ้นในธนาคารแห่งนี้ 28%

นอกจากนั้นผู้ถือหุ้นอันดับ 13 บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 1.03% เคยเป็นผู้บริหารเวลาในสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อครั้งที่มีพลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก โดยได้มีข้อครหาเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องอย่างบริษัทฮาวคัม และบริษัท เอส.ที. คอม.ซัพพลาย จำกัด ที่มีคนนามสกุลชินวัตรเป็นผู้บริหาร ขณะที่ผู้เช่าเวลาอื่นถูกปรับตกผังรายการ

จากผิดเป็นถูก

แม้ว่าการขายครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนของกระทรวงการคลังถือหุ้นใน MCOT ต่ำกว่า 70% แต่ก็ได้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ต่ำกว่า 70% แทน จะเห็นได้ว่าแม้บางครั้งวิธีการบางอย่างจะขัดต่อกฎเกณฑ์เดิมไปบ้าง แต่รัฐบาลก็สามารถหาทางออกได้เสมอ

คนในวงการไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมกระทรวงการคลังภายใต้รัฐบาลชุดนี้ต้องใช้วิธีการนี้ เพราะเท่ากับต้องจ่ายสูงกว่าราคาซื้อ 3 บาท บวกดอกเบี้ยอีกเกือบ 0.2 บาท แต่หากเทียบกับราคาตลาดที่ 3.40-3.50 บาทก็ยังนับว่ามีส่วนต่างราคา และราคาหุ้นก็มีสิทธิปรับลดลงได้อีกหากหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 3.22 พันล้านหุ้นเข้ามาซื้อขาย ซึ่งนักลงทุนที่ซื้อหุ้นหลังวันที่ 7 มีทางเดียวคือต้องหาจังหวะขายออกไป

ที่สำคัญดีลนี้ถูกวิพากวิจารณ์ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีอุปสรรคเรื่องเกณฑ์การถือหุ้นขั้นต่ำของกระทรวงการคลัง แต่รัฐก็ใช้วิธีเลี่ยงแล้วแก้กฎเกณฑ์เพื่อสร้างความถูกต้อง ส่วนจะถูกต้องหรือไม่คงต้องแล้วแต่มุมมองของแต่ละฝ่าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us