Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 สิงหาคม 2549
กรุงเทพฯเมืองแฟชั่นลุยเฟส 2ระดมสมองต่อยอด 3 แผนงาน             
 


   
search resources

Garment, Textile and Fashion




กรุงเทพเมืองแฟชั่นลุยเฟส 2 เพิ่มการพัฒนาขีดความสามารถของแต่ละสาขา พร้อมนำศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านแฟชั่นต่อยอดเขียนเป็นหลักสูตรนานาชาติโดยจุฬาฯขณะเดียวกันนำผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายเปิดโรดโชว์หวังเจาะตลาดเป้าหมาย

ปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์"ว่าหลังจากจบโครงการในระยะแรกแล้ว โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่นกำพลังเตรียมการที่จะทำเวิร์คช้อปเพื่อเตรียมขยายโครงการสู่ระยะที่สอง โดยในปลายเดือนสิงหาคมนี้จะเริ่มระดมสมอง โดยเน้นการเสนอแนวทางการต่อยอดของ 3 แผนงานคือ แผนงานแรก เพิ่มขีดความสามารถของแต่ละสาขาที่มีแนวโน้มดี เช่น สาขาเครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า แผนงานที่สอง ให้ความรู้กับผู้ประกอบการโดยการเปิดห้องสมุดแฟชั่นเพื่อรวบรวมความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นทั้งหมดที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแฟชั่นของไทย ประการที่สามเป็นแนวทางในการต่อยอดด้านการศึกษาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจัดทำหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาโท ในการพัฒนาบุคลากรด้านแฟชั่นซึ่งคาดว่าน่าจะเปิดหลักสูตรดังกล่าวนี้ในการศึกษาในปี 2550

อย่างไรก็ดีในโครงการระยะที่หนึ่งเราได้มีการเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากนักลงทุนชาวไทยและนักลงทุนในต่างประเทศมาก ดังนั้นโครงการในระยะที่สองยังคงเดินหน้าเจาะกลุ่มตลาดเป้าหมายต่อไป โดยในราวปลายเดือนสิงหาคมนี้จะไป "โรดโชว์"ที่ประเทศดูไบและสหรัฐอเมริกาเน้นสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้าและเครื่องหนัง มีทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง รองเท้า

"โครงการเจาะตลาดเป้าหมาย (Bangkok Fashion City Roadshow 2005/6) เป็นหนึ่งใน 11 โครงการของกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น วัตถุประสงค์ เพื่อลดอุปสรรคในการทำตลาดสินค้าแฟชั่นในต่างประเทศ ให้สามารถนำตราสินค้าไทยเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง และเพื่อเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของการเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาคสู่ตลาดโลกเป้าหมายของโครงการนี้คือ สร้างภาพลักษณ์ของสินค้าแฟชั่นไทย และทำการตลาดสินค้าแฟชั่นในกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศเป้าหมาย โดยการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง สร้างช่องทางการตลาดให้กับสินค้าแฟชั่นไทยที่มีตราสินค้าของตนเองในระยะยาว"

ปัจจุบันกรุงเทพฯเมืองแฟชั่นนับว่าประสบผลสำเร็จพอสมควร โดยดูได้จากแนวโน้มการส่งออกสินค้า 3 ประเภทหลักคือ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าในปีนี้พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยตลาดส่งออกหลักลำดับแรกของไทย คือ สหรัฐฯ มูลค่า 212.77ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.10 อันดับสองคือ ออสเตรเลีย มูลค่า 105.72ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 435.54 อันดับสาม คือฮ่องกงไทยส่งออกได้ 94.39ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.19

ขณะที่แนวโน้มมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่มพบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดหลักแถบสหภาพยุโรปมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (ฝรั่งเศส 30.97% อิตาลี 23.42% เบลเยียม 12.07%) และการออกมาตรการ Safeguard การนำเข้าสินค้า สิ่งทอจากจีนของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปซึ่งเริ่มใช้ในเดือนกรกฎาคม 2548 ทำให้ผู้นำเข้าเริ่มหันมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้า sportwear ยังมีแนวโน้มที่ดี ประกอบกับการพัฒนาระบบ VMI ของโรงงานใหญ่ๆ ของไทยทำให้สามารถสร้างระบบ supply chain กับลูกค้าเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านการบริการให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนสินค้าเครื่องหนัง เครื่องใช้ในการเดินทาง และรองเท้า เป็นสิค้าที่มีการแข่งขันสูงทำให้มูลค่าในการส่งออกลดลง เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามซึ่งเน้นการผลิตสินค้าในระดับเดียวกับไทย และมีต้นทุนการผลิตที่ ต่ำกว่า ฤดูการสั่งซื้อสินค้าเป็นช่วงกลาง-ปลายปี ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะเป็นตามเป้าหมายได้ เนื่องจาก EU ได้ออกมาตรการ AD สินค้ารองเท้าจากจีน และ เวียดนาม นอกจากนี้ ไทยยังคงได้รับการไว้วางใจในด้านคุณภาพของสินค้าจากบริษัทผู้ว่าจ้างการผลิตรองเท้ากีฬารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เช่น บริษัทไนกี้ และ รีบอค วึ่งถือเป็นจุดแข็งของเรา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us