Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 สิงหาคม 2549
ราชบุรีประมูลไอพีพี 3 รักษาสัดส่วนผลิต 15%             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
Electricity




ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ทุ่มเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ประมูลไอพีพี 3 โครงการ ผลิตไฟฟ้า 2.1 พันเมกะวัตต์ เพื่อรักษาสัดส่วนการผลิตไฟให้ได้15% ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ ส่วนโครงการต่างประเทศยังเดินหน้าทั้งที่ลาวและพม่า

นายธวัช วิมลสาระวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมแผนที่จะเข้าประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) รอบใหม่ โดยจะร่วมประมูล 3 ยูนิต ยูนิตละ 700 เมกะวัตต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยจะประมูลในนามบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งมีพื้นที่รองรับไว้แล้ว 70 - 100 ไร่ บริเวณเดียวกับโรงไฟฟ้าราชบุรี สามารถผลิตไฟฟ้าได้อีก 700 เมกะวัตต์ และจะประมูลในนามของบริษัทไตรเอนเนอจี้ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทกับเชฟรอน มีพื้นที่ขยายกำลังผลิตได้อีก 700 เมกะวัตต์

โดยการเข้าร่วมประมูลไอพีพีครั้งนี้ เพื่อต้องการรักษาสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของบริษัทให้อยู่ในระดับ 14-15% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันราชบุรีฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 3995 เมกะวัตต์ นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดินใหม่ เพื่อเข้าประมูลอีก 700 เมกะวัตต์ ส่วนจะเป็นที่ใดนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านสายส่ง แหล่งน้ำ รวมทั้งชุมชน ส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้าไอพีพีจะมีทั้งก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน

"ขณะนี้พื้นที่ของโรงไฟฟ้าราชบุรีได้แยกโฉนดต่างหากเพื่อการประมูลไอพีพีล็อตใหม่แล้ว และปัจจุบันได้อีไอเอแล้ว คาดว่าต้นทุนการผลิตในยูนิตนี้จะต่ำ เนื่องจากมีระบบสาธารณูปโภครองรับไว้อยู่แล้ว"

นางวัจนา อังศุโกมุทกุล รองกรรมการผู้จัดการบัญชีและการเงิน ราชบุรีโฮลดิ้ง กล่าวว่า ได้ศึกษากฎของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุแล้ว พบว่าไม่มีข้อห้ามที่จะไม่ให้บริษัทเข้าร่วมประมูล ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาทราบว่ามีหลายฝ่ายได้ชี้แจงกับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า หรือ Regulator แล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

ส่วนการลงทุนในครึ่งปีหลัง นอกจากประมูลไอพีพีแล้ว ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีเพาเวอร์ ขนาด 1400 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ประมาณปี 2551 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ - น้ำงึม 2 ขนาด 615 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในสปป.ลาว คาดว่าจะเดินเครื่องได้ในเดือนมกราคม 2556 และโครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 กำลังผลิต 460 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทจะเข้าไปถือหุ้น 25% อยู่ระหว่างการเจรจาค่าไฟฟ้า คาดว่าจะจบในปีนี้ โดยทั้งสามโครงการจะลงทุนรวม 6000 ล้านบาท ซึ่งแหล่งเงินจะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

โครงการลงทุนโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายโครงการทั้งในสปป.ลาว และพม่าเพิ่มเติมอีกด้วย รวมทั้งบริษัทยังสนใจที่จะเข้าไปร่วมประมูลทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (RPS) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และระบบรวม ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามเงื่อนไขการประมูล RPS ว่าจะประมูลรวมกับไอพีพีหรือแยกประมูล

นางวัจนา กล่าวว่า แม้บริษัทจะมีการลงทุนค่อนข้างมากในอนาคต แต่ยังยืนยันจะจ่ายเงินปันผลในอัตราส่วนเท่าเดิม คือ 40% ของกำไรสุทธิ โดยคณะกรรมการบริษัทจะมีการพิจารณาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ และคาดว่าจะจ่ายเงินปันผลในเดือนกันยายนปีนี้

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9% และกำไรสุทธิ 1.46 พันล้านบาท ลดลง 21.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทมีรายได้ค่าความพร้อมจ่าย (เอพี) ลดลง รวมถึงการหยุดเดินเครื่องบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมยูนิต 1 เป็นเวลา 50 วัน

สำหรับไตรมาส 3 นั้น ยังมีค่าใช้จ่ายในการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุดที่ 1 CCGT - 11 ที่เริ่มเดินเครื่องเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม อีก 100 ล้านบาท คาดว่าผลประกอบการในไตรมาส 3 จะดีกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนไตรมาส 4 มีการหยุดซ่อมบำรุงน้อยมาก จึงคาดว่าจะมีกำไรสุทธิสูงสุดเมื่อเทียบทั้งปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us