|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"หม่อมอุ๋ย" ยังกั๊กอนุมัติให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% ระบุต้องพิจารณาต้นทุนของผู้ประกอบการก่อน แต่ยืนยันไม่ผ่อนผันลดวงเงินชำระขั้นต่ำเหลือ 5% ยอมรับเป็นห่วงเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ประกอบการบัตรเครดิตขอปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตและเสนอขอปรับลดวงเงินการผ่อนส่งบัตรเครดิตรายเดือนว่า ทั้ง 2 เรื่องได้มอบหมายให้นายเกริก วณิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน กลับไปศึกษารายละเอียดแล้วกลับมารายงาน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลสรุปแต่อย่างใด ส่วนประเด็นที่ว่าจะผ่อนผันให้ลดวงเงินการผ่อนส่งบัตรเครดิตรายเดือนจาก 10% เหลือ 5% คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ส่วนข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ก็ยังไม่ส่งมาให้เซ็นเลย ขณะเดียวกันการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% มาเป็น 20% นั้น ก็ยังไม่ได้รับข้อมูลเช่นกัน และไม่รู้ว่าต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ผู้ว่าคนนี้ก่อนจะเซ็นอะไรก็ต้องคิดก่อน
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. มีคำตอบอยู่แล้วในเรื่องดอกเบี้ยบัตรเครดิต และจะแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบอีกครั้ง หลายเรื่องที่ผู้ประกอบการขอมา ก็มีทั้งที่อนุมัติและไม่อนุมัติ ซึ่งยอมรับว่า ธปท.เป็นห่วงเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เป็นห่วงเรื่องหนี้สาธารณะ
อนึ่ง ก่อนหน้านี้นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะเสนอกระทรวงการคลังเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ประกอบการบัตรเครดิตเสนอให้ธปท.พิจารณาปรับขึ้นเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 18% มาเป็น 20% รวมถึงการเสนอขอปรับลดวงเงินการผ่อนส่งบัตรเครดิตรายเดือนจาก 10% เหลือ 5% อีกทั้งประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ที่ขอมาทั้งหมดให้กระทรวงการคลังพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ โดยผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตนั้น นอกเหนือจากพ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์แล้ว ในส่วนที่เป็นผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินการเงิน จะต้องออกประกาศด้วย ปว.58 ซึ่งทั้ง 2 กฎหมายเป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง เมื่อ ธปท.พิจารณาเรื่องเหล่านี้แล้ว และได้ความเห็นชัดเจน ก็จำเป็นต้องเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
“โดยความเห็นที่เสนอกระทรวงการคลังไปครั้งนี้ มีทั้งเรื่องที่เห็นด้วยให้มีการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอของผู้ประกอบการบัตรเครดิต และเรื่องที่ไม่เห็นควรให้ปรับเปลี่ยน เพราะไม่ว่าจะเห็นควรหรือไม่เห็นควร ธปท.ต้องให้เหตุผลกระทรวงการคลังด้วยเพื่อให้คลังมีข้อมูลในการพิจารณาและให้ความเห็น ซึ่งการเสนอครั้งนี้ไม่ใช่การเสนอความเห็นให้คลังรับทราบ และดำเนินการออกประกาศ แต่เป็นการเสนอความเห็นเพื่อให้พิจารณา เพราะคลังเป็นผู้มีอำนาจในเรื่องนี้ ธปท.เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้พิจารณาเท่านั้น ซึ่งเท่าที่ได้รับข้อมูลนั้น ยอมรับว่าในภาวะปัจจุบันนั้น ทางผู้ประกอบการบัตรเครดิตมีต้นทุนในการประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องดูภาระที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนด้วย” นายเกริกกล่าว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ธปท.เพิ่มเติมว่า ข้อเสนอที่ผู้ประกอบการบัตรเครดิตขอมา และธปท.ได้จะเสนอกระทรวงการคลังในครั้ง ประกอบด้วย การขอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% การไม่ยกเลิกบัตรเครดิต กรณีลูกค้าเก่าที่ไม่แจ้งยอมรายได้ปัจจุบัน แต่มีการผ่อนชำระต่อเนื่อง โดยไม่มีการติดหนี้ และการปรับลดวงเงินผ่อนรายเดือนจาก 10% เหลือ 5% ในกรณีของลูกค้ารายเก่าที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 10% ในวันที่ 1 เม.ย.2550 ซึ่งกรณีการปรับลดวงเงินผ่อนขั้นต่ำนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธปท. ได้กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า ธปท.ตัดสินใจว่าจะไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการลดวงเงินการผ่อนชำระจาก 10% ลงให้เป็นไปตามกำหนดเดิม แต่ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น คาดว่า ทางธปท.ได้เสนอให้พิจารณาต้นทุนการดำเนินการของผู้ประกอบการอีกระยะก่อนที่จะพิจารณาเรื่องการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตอีกครั้ง
|
|
|
|
|