Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
บทเรียน PIZZA WAR             
 


   
search resources

Tricon Global Restaurant
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, บจก.
ไมเนอร์ โฮลดิ้ง
วิลเลียม อี.ไฮเน็คกี้
Food and Beverage
Franchises




บิล เฮนเนกี้ เติบโตอย่างเงียบๆ ตามสไตล์ของเขา เรื่องราวของเขามีสีสัน และเป็นที่สนใจมากขึ้นจากการต่อสู้ดุเดือดในการเข้าเทกโอเวอร์โรงแรมรีเจนท์ และการขับเคี่ยวกับเจ้าของแฟรนไชส์ "พิซซ่า ฮัท"

ประเทศไทย ดูเหมือนไม่ใช่ตลาดสำหรับอาหารอย่างพิซซ่าแม้แต่น้อย เพราะมีอาหารนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นแกงกะทิประเภทต่างๆ รวมทั้งต้มยำกุ้งรสจัด ที่ขึ้นชื่อ แต่ในความเป็นจริงอุตสาหกรรมอาหารฟาสต์ฟูดกำลังสู้กันอย่างหนักในตลาดที่มีประชากร 61 ล้านคนแห่งนี้ และเป็นตลาดที่แย่งชิงกันอย่างหนักหน่วงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผู้มีชัยชนะในครั้งนี้ไม่เพียงจะได้ครองส่วนแบ่งตลาดพิซซ่าเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสได้สัญญาแฟรนไชส์ทั่วเอเชียในอนาค วิลเลี่ยม เฮนเนกี้ หรือ ที่รู้จักทั่วไป "บิล เฮนเนกี้" เศรษฐีอเมริกันวัย 51 ซึ่งเป็นผู้ถือแฟรนไชส์อาหาร และกิจการโรงแรมรายใหญ่ และเป็นศูนย์กลางของการแย่งชิงตลาดในครั้งนี้จึงกล่าวว่า "ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องพิซซ่า แต่เป็นเรื่องของการแข่งขัน"

เฮนเนกี้ เข้ามาเปิดร้านพิซซ่าฮัทแห่งแรกในเอเชียตั้งแต่ปี 1980 ที่พัทยา โดยเปิดบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัดขึ้นมาดูแล ท่ามกลางเสียงคัดค้านของ เพื่อนร่วมงาน ที่มีประสบการณ์ ซึ่งมีความเห็นว่าชาวเอเชียไม่นิยมกินขนมปัง และชีส

"เขาต้องบ้าแน่ๆ" เป็นคำพูด ที่หลายๆ คนมองเฮนเนกี้หลังจากนำพิซซ่า ฮัท เข้ามาในประเทศไทย แต่คำทักท้วงกลับไม่ได้ทำให้เขาโอนอ่อนตาม และต้องนับว่าเป็นการบุกเบิก ที่ถูกจังหวะเวลาอย่างยิ่ง

"คนไทยกำลังเต็มใจพิสูจน์แนวความคิดแบบตะวันตก และเวลา ที่เหมาะสมเช่นนี้ไม่มีจุดด่างพร้อยในการนำพิซซ่า ฮัทเข้ามา" เฮนเนกี้ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความคิดของเฮนเนกี้ถูก เมื่อพิซซ่า ฮัทได้รับความนิยมในหมู่คนไทย และเขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกความคิดการนำเอาอาหารตะวันตกเข้ามา ทำให้คนไทยมีรสนิยมการรับประทานเปลี่ยนไป และสร้างจนสำเร็จ

ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการหากินกับธุรกิจสมัยใหม่ ต่างจากนักธุรกิจจีน ที่นิยมทำธุรกิจแบบดั้งเดิม คือ ขายสินค้าในปริมาณมากๆ แต่เฮนเนกี้จับกลุ่มเป้าหมายชนชั้นกลาง ที่เรียกว่า "เบบี้บูม"

ดังนั้น จึงถือว่าเฮนเนกี้เป็น "ฝรั่ง" คนล่าสุด ยึดเมืองไทยสร้างโอกาส และบทเรียนธุรกิจจากยุคสงครามเวียดนาม เบบี้บูม และวัฒนธรรมตะวันตก ขยายวงกว้างมากขึ้นในสังคมไทย

ผู้บริโภคชาวไทยจึงขานรับอาหารชนิดใหม่ ที่ดัดแปลงให้เข้ากับตลาดรวมทั้งพิซซ่าต้มยำเป็นอย่างดี เฮนเนกี้เดินหน้าขยายสาขาร้านต่อไปจนปัจจุบันมีร้านทั้งหมด 116 แห่ง ครองส่วนแบ่งตลาดพิซซ่ามูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีเป็นสัดสวนถึง 95% ตัวเขาเองก็แปลงสัญชาติเป็นคนไทยเมื่อปี 1991 (นิตยสารไทม์)

ทว่าสายสัมพันธ์ทางธุรกิจ ที่มีมายาวนานถึง 20 ปี ระหว่างเฮนเนกี้กับไทรคอน โกลบอล เรสเตอรองส์ (Tricon Global Restaurant) ซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์พิซซ่า ฮัท เคเอฟซี และทาโก เบล กลับจบลงด้วยรอยร้าว และความไม่เป็นมิตร

PIZZA WAR จึงเกิดขึ้นระหว่างไทรคอน กับเดอะ พิซว่า ฮัท คู่สัญญาลิขสิทธิ์ฟาสต์ฟูดชื่อดัง ความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 เมื่อไทนคอน ประกาศแผนการทำตลาดพิซว่า ฮัทในประเทศไทยด้วยตนเอง เป็นการทวงสัญญาลิสิทธิ์พิซว่า ฮัทคืนจากเดอะ พิซซ่าของเฮนเนกี้ หลังจากหมดสัญญาในวันที่ 18 มกราคม 2543

เป็นการประกาศยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างทั้งสองฝ่าย แม้ว่าจะพยายามใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการเจรจายุติศึก แต่ก็ไม่สามารถเจาจากันได้ ทั้ง ที่สองทศวรรษ ที่ทำธุรกิจด้วยกันมาไม่เคยมีเรื่องบาดหมางใจกันเลย

เฮนเนกี้ได้ยื่นฟ้องไทรคอน ต่อศาลสหรัฐอเมริกา เพื่อให้จ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากการละเมิดสัญญา และการแข่งขัน ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาส่วนหนึ่งในอีกหลายข้อกล่าวหา

ศาลมีกำหนดไต่สวนตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2543 ทั้งนี้ตามข้อตกลงการถือแฟรนไชส์ทั่วโลกฉบับใหม่ของไทรคอน ระบุว่า ผู้ถือแฟรนไชส์ต้องได้รับอนุญาตจากไทรคอน หากต้องการดำเนินธุรกิจอาหารประเภทอื่น แม้ว่าจะเป็นอาหารประเภท ที่ไม่ใช่คู่แข่งกับพิซซ่า ไก่ทอด และอาหารเม็กซิกันก็ตาม แต่ในสัญญา ที่ผ่านมาไทรคอน ระบุเพียงแค่ห้ามเปิดร้านอาหาร ที่เป็นคู่แข่งกับพิซซ่าเท่านั้น

"ทำไมอเมริกา ซึ่งสนับสนุนการค้าเสรี และการแข่งขันจึงใช้แนวทางปฏิบัติ ที่เข้มงวดแบบนั้น " เฮนเนกี้ตั้งคำถาม ในขณะที่ ปีเตอร์ เฮิร์ล (Peter Hearl) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารของไทรคอน เรสเตอรองส์ อินเตอร์เนชันแนลกล่าวว่า "เราต้องการให้ผู้ถือแฟรนไชส์ของเรามุ่งเน้น ที่ธุรกิจของเราเป็นหลัก" (นิตยสารไทม์)

เฮนเนกี้ กล่าวว่าเขาไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ เพราะเขาไม่ได้มีธุรกิจพิซซ่าเพียงอย่างเดียว อีกทั้งพิซซ่าก็ไม่ใช่ธุรกิจอย่างแรก ที่เขาลงทุน เฮนเนกี้สร้างตัวจากธุรกิจ ที่ถือหุ้นเพียงส่วนน้อยแต่องค์ประกอบ และเป้าหมาย ที่ต้องการเติบใหญ่ช่วยผลักดันให้ "ไมเนอร์ โฮลดิ้ง" ขยับฐานะเป็นผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการในเครือทั้งหมด ผลผลิตงอกเงยออกมาเป็นรูปเป็นร่างในปัจจุบันถูกกลั่นกรองมาจากเฮนเนกี้

ไมเนอร์ โฮลดิ้งบริษัทท้องถิ่น ที่มีอายุดำเนินธุรกิจยาวนาน 3 ทศวรรษก่อตั้ง และบริหารงานโดยเฮนเนกี้ เด็กหนุ่มชาวอเมริกัน ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจไมเนอร์ โฮลดิ้งเมื่ออายุ 18 ปี ประวัติส่วนตัวไม่ค่อยรู้จักวงกว้างในหมู่คนไทย และการศึกษาไม่สูง เป็นผู้ชาย ที่มีความอดทนสูง

เฮนเนกี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จในช่วงต้นๆ ของการก้าวขึ้นเป็นนักธุรกิจ แต่ค่อยๆ เกี่ยวเกี่ยวประสบการณ์จากจุดผิดพลาด และสำเร็จนำมาปรับปรุงใช้ด้วยความยืดหยุ่นจนทำให้กลายเป็นเศรษฐีคนหนึ่งในระยะเวลาอันสั้น

แม้เฮนเนกี้ไม่ได้เรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยแต่ก็ใส่ใจกับการดำเนินชีวิตในเมืองไทยอย่างมาก ถือเป็นการศึกษา เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากคนรอบข้าง "ผมเข้าใจภาษาไทยได้เพียงพอ ที่ไม่สร้างความยากลำบากใจอะไรในการอาศัยภายใต้สถานการณ์ต่างๆ" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ"

นอกจากอาศัยความได้เปรียบจากความเป็นอเมริกันแล้ว เฮนเนกี้ยังมีโอกาสเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มนักธุรกิจระดับสูง ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยทำให้เขาได้รับข้อมูล "วงใน" เป็นสิ่งสำคัญของการสร้างตัว และขยายเครือข่ายกลุ่มธุรกิจของเขาอีกด้วย

เฮนเนกี้เป็นต้นแบบของฝรั่ง ที่อีกยุคหนึ่งในประเทศไทย ที่มากับอิทธิพลอเมริกาในระดับกว้างของภูมิภาคนี้ ที่เริ่มโหมโรงอย่างรุนแรงจากสงครามเวียดนาม เขาอาศัยความไม่แน่นอนของสงครามเวียดนาม ที่สั่นคลอนความมั่นใจของธุรกิจตะวันตกยุคก่อนเป็นโอกาสในการริเริ่ม และเรียนรู้การประกอบการ

เฮนเนกี้ เกิด ที่โรงพยาบาลทหารเรือสหรัฐฯ ที่รัฐเวอร์จิเนียเมื่อปี 1949 จากนั้น ย้ายไปอาศัยอยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย จนกระทั่งปี 1956 ได้ย้ายตามครอบครัวมาอยู่ ที่ฮ่องกง อีก 4 ปีถัดมาย้ายมายังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เฮนเนกี้ เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1963 ช่วงนั้น เขาอายุเพียง 14 ปี และได้เข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่ง พร้อมๆ กับทำงานเก็บเงินด้วยการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับหนังสือพิมพ์ Bangkok World (ปัจจุบันคือ Bangkok Post)

จุดเปลี่ยนชีวิตของเฮนเนกี้เกิดขึ้นเมื่อปฏิเสธการเดินทางไปศึกษาต่อ ที่อเมริกา แต่กลับกู้ยืมเงินถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยอมเสียอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อเปิดกิจการทำความสะอาดสำนักงานกับบริษัทประชาสัมพันธ์อย่างละแห่ง คือ Inter-Asian Enterprise และ Inter-Asian Pubicity ตามลำดับ นับเป็นก้าวแรกของเฮนเนกี้ในโลกธุรกิจ

เขาหาเงินล้านได้ก้อนแรกตั้งแต่อายุไม่ถึง 21 ปี ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์พิซซ่าเป็นที่นิยมทั่วอเมริกา เขาจึงเกิดความคิดว่าหากคนไทยได้ลองพิซซ่าแล้วจะต้องชอบ "ผมมีความเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วเรามีความคล้ายคลึงกันมากกว่าความแตกต่างกัน" เฮนเนกี้บอก

นอกจากพิซซ่า ฮัทแล้ว เฮนเนกี้ยังเป็นผู้บุกเบิกแฟรนไชส์ของมิสเตอร์โดนัท สเวนเซ่นส์ ซิซซ์เลอร์ แดรีควีน และเบอร์เกอร์คิง เขามีกิจการโรงแรมในเครือ 7 แห่ง รวมทั้งแมริออต รอยัล การ์เดน ริเวอร์ไซด์ในกรุงเทพฯ และยังเป็นผู้จัดจำหน่ายเชนเสื้อผ้าเอสปริต เครื่องสำอางเรดเอิร์ธ เครื่องเขียนเซฟเฟอร์ ฯลฯ

เมื่อเศรษฐกิจไทยประสบภาวะวิกฤตินับตั้งแต่ลดค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 คือ สัญยาณอันตรายจากความตกต่ำของอาณาจักรธุรกิจของเฮนเนกี้ กิจการของเขาก็ได้รับผลกระทบ และกำลังสั่นคลอนความยิ่งใหญ่

ในปีนั้น เอดะ พิซซ่า มีกำไรสุทธิเพียง 81.8 ล้านบาท ลดลงจากปี 1996 ถึง 58.5% ขณะไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น ขาดทุนสุทธิ 76 ล้านบาท จาก ที่เคยมีกำไร 65 ล้านบาทในปีก่อนหน้า รวมไปถึงรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท ที่ขาดทุน 226.3 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจของเฮนเนกี้สามารถฟื้นตัวได้เร็ว จากรายงานผลประกอบการปี 1998 เดอะ พิซซ่า มีกำไรสุทธิ 180.4 ล้านบาท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น 103.5 ล้านบาท และรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท กำไร 227.6 ล้านบาท

ปี 1999 เดอะ พิซซ่า มีกำไร 405.99 ล้านบาท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น กำไร 146.98 ล้านบาท และรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท กำไร 169.08 ล้านบาท

สำหรับผลประกอบการงวดเก้าเดือนปี 2543 เดอะ พิซซ่า ทำกำไรได้ 98.51 ล้านบาท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น กำไร 30.85 ล้านบาท และรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท กำไร 121.15 ล้านบาท

มีบางอย่างที่ทำให้เฮนเนกี้เริ่มหยุดเดินก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เหมือนกับเขาจะรู้สึกว่าจะมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งความรู้สึกนี้เขาได้ถ่ายทอดให้ผู้บริหารระดับกลางห้องประชุมได้ยิน "เรากำลังอยู่ในภาวะยุ่งยาก"

สไตล์การบริหารช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของเฮนเนกี้ คือ ความยืดหยุ่น เพราะมองเว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา "สิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามคาด บางทีพูดได้ว่าต้องใช้ความอดทนมากขึ้นสำหรับบางประเทศ อย่างเมืองไทย"

บทเรียน ที่ยิ่งใหญ่ในวิกฤติครั้งนี้สำหรับเฮนเนกี้ คือ ต้องมีเงิน และอย่าให้หมด "เพราะนั่นหมายถึงทุกอย่างจบ" เขาบอก และว่า "อย่าลงทุนเกินตัว กู้สั้นแต่ลงทุนระยะยาว" ซึ่งการลงทุน ที่ไม่สัมพันธ์กันแบบนี้ทำให้เศรษฐกิจฟองสบู่ ถ้าพูดตรงไปตรงมาตามบุคลิกของเฮนเนกี้ คือ การเกิดขึ้นของวิกฤติเศรษฐกิจ เกิดจากคนขาดความระมัดระวัง

ประสบการณ์ล่าสุด ที่ทำให้เฮนเนกี้เจ็บปวดพอสมควร ก็คือ การต่อสู้ทางกฎหมายกับไทรคอน ซึ่งเป็นบทเรียนบทเดิม ที่เกิดขึ้นกับ "ผู้บุกเบิกตลาดใหม่" กับเจ้าของสินค้า

ในแง่ความเป็นมืออาชีพ เฮนเนกี้เป็นคนแรกๆ ที่ยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้สัมผัสไม่ได้ผันเป็นเงินทั้งหมด ความล้มเหลวได้สอนให้เขารู้ว่าไม่สามารถ "ชนะ" ได้ตลอดเวลา และทักษะอรกอย่าง คือ ทำอย่างไรจะชกอย่างชาญฉลาดเมื่อขึ้นบนสังเวียนแล้วเจอกับคู่แข่ง ที่มีศักยภาพมากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้การต่อสู้ของเฮนเนกี้ก็ดูไม่เลวร้ายเสียทีเดียว เฮิร์ลบอกบริษัทของเขาพยายามประนีประยอม "เราเป็นฝ่าย ที่ให้ความคิดเขามากมายในสัญญา แต่เขากลับได้ความคิดมากกว่า ที่ไทรคอนมีเสียอีก"

ประเด็น ที่ไทรคอน คัดค้านเฮนเนกี้มากก็คือ การที่เฮนเนกี้ริเริ่มแฟรนไชส์ใหม่ "Chicken Treat" เฮิร์ลกล่าวว่า "การที่เฮนเนกี้ทำธุรกิจร่วมกับไทรคอนมานาน ย่อมล่วงรู้ข้อมูลภายในของเคเอฟซี ซึ่งทำให้ทางเราต้องคิดเรื่องนี้มาก เรายินดี ที่มีการแข่งขัน แต่ต้องไม่ใช่การแข่งขันแบบไม่เป็นธรรมอย่างนี้" (นิตยสารไทม์)

ด้านเฮนเนกี้ ตอบโต้ว่าผู้ถือแฟรนไชส์ของไทรคอนในอเมริกา และในสหภาพยุโรปไม่ถูกผูกมัดด้วยเงื่อนไขแบบเดียวกับเขา อีกทั้งยังสามารถเข้ามาแข่งกับเขาในตลาดไทยได้หากต้องการ

ปัจจุบันเคเอฟซี ครองส่วนแบ่งตลาดอาหารฟาสต์ฟูดกลุ่มไก่ทอดกว่า 65 % จากมูลค่าตลาดรวม 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดเมืองไทย ส่วนในตลาดทั่วโลกเคเอฟซี มีสาขาทั้งหมดกว่า 30,000 แห่ง

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ไทรคอนจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบกลุ่มไมเนอร์ของเฮนเนกี้อย่างมาก แต่เฮนเนกี้ไม่ได้หวั่นเกรง ที่จะต่อกรกับยักษ์ใหญ่แต่อย่างใด

เมื่อปี 1998 เขาร่วมมือกับผู้ถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ที่เป็นชาวไทยในการต่อต้านโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจจากอเมริกา ที่พยายามเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการโรงแรม ทำให้โกลด์แมน แซคส์ทำได้เพียงแค่การเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นกิจการจาก 34% เป็น 40% เท่านั้น เนื่องจากผู้ถือหุ้น ที่เหลือเข้าข้างเฮนเนกี้ และพันธมิตร ที่เป็นผู้ถือหุ้นไทย เฮนเนกี้เชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้วเขาจะสามารถเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการดังกล่าวได้

ยิ่งกว่านั้น เฮนเนกี้ก็ดูเหมือนจะได้เปรียบในการต่อสู้ในศาลด้วย เพราะศาลมลรัฐนิวยอร์ก เป็นผู้ควบคุมดูแลสัญญาระหว่างเขากับไทรคอน เขาคงจะเป็นฝ่ายชนะในการต่อสู้กับคู่แข่งในประเทศของคู่แข่งเอง

หากเป็นเช่นนั้น เฮนเนกี้จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย ซึ่งนำมาเป็นเงินทุนสำหรับสร้างเชนพิซซ่าแห่งใหม่ของเขาเอง ส่วนไตรคอนนั้น แม้ว่ากำลังปรับปรุงพิซซ่า ฮัทในรูปโฉมใหม่อยู่ แต่ไฮเนกี้คงจะเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดในไทย เพราะเขามีเชนร้าน ที่มีทำเลได้เปรียบกว่าอยู่ในมือแล้ว

กรณีการต่อสู้ของเฮนเนกี้กับไทรคอน ดูเหมือนจะเป็นการต่อสู้กันของธุรกิจแฟรนไชส์กรณีท้ายในโลกยุคไร้พรมแดนแล้ว เพราะโอกาส ที่เจ้าของลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ระดับยักษ์ใหญ่ จะปล่อยให้โอกาสทองแห่งผลประโยชน์หลุดมือไปอยู่กับคนอื่นคงจะยาก

นอกจากนี้ กรณีการต่อสู้ในรูปแบบดังกล่าวของเฮนเนกี้เป็นการต่อสู้ ที่ "ฝรั่งเข้าใจฝรั่ง" และจะไม่เกิดขึ้นเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับนักธุรกิจไทย และถ้าหากเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้นนักธุรกิจไทยก็คงจะไม่มีทางต่อสู้ได้ และไม่มีทางเลียนแบบเฮนเนกี้ได้อย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us