|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เจอหางเลขพิษเศรษฐกิจ ราคาทองผันผวนเป็นเหตุ แต่ยังมีการเติบโตของการส่งออก 20% เท่าปีที่ผ่านมาอยู่ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้าน
นายสุทธิพงษ์ ดำรงค์สกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ.จี.เอส. จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี เปิดเผยว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมืองและราคาทองในตลาดโลกนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะราคาทองในตลาดโลกที่มีการผันผวนใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกมีปัญหาบ้าง แต่ก็สามารถเจรจากับคู่ค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปีนี้คาดว่าจะมีการเติบโตเท่ากับปีที่ผ่านมาที่ 20% มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เนื่องจากตลาดยังให้ความมั่นใจในฝีมือและคุณภาพสินค้าอยู่ โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นตลาดสำคัญในการส่งออก
ในขณะที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานีเองนั้น สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% จากตัวเลขการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ 1 แสนล้านบาท จากจำนวนผู้ประกอบการที่มีอยู่กว่า 80 บริษัท คิดเป็นจำนวนแรงงานประมาณ 12,000 ราย โดยกว่า 80 % เป็นบริษัทจากต่างประเทศ และที่เหลือเป็นผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยในลักษณะการดำเนินธุรกิจแบบเอสเอ็มอีทั้งหมด ทั้งนี้คาดว่าภายในสิ้นปีจะมีผุ้ประกอบการเพิ่มขึ้นอีก 20 บริษัท
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า ตลาดอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในระดับโลก ที่กำลังเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทยในขณะนี้ คือ จีน อินเดีย และเวียดนาม เนื่องจากเป็นประเทศที่มีแรงงานมากและมีค่าแรงที่ถูกกว่า ในขณะที่ทางภาครัฐเองก็กำลังสนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนไทยนั้นมีเสียเปรียบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีระยะเวลาเพียง 8 ปี ให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามา แต่บางประเทศที่เป็นคู่แข่งให้มากกว่าถึง 15 ปี รวมไปถึงภาวะการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านการขนส่ง ทำให้การเติบโตของการส่งออกไม่สูงนัก
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่สนามบินสุวรรณภูมิเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ จะช่วยให้ต้นทุนของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานีลดลงอีกประมาณ 5 % จาก 15-18% เหลือเพียง 12% แต่หากต้องการแข่งขันกับตลาดโลกได้ ด้านการขนส่งจะต้องไม่เกินตัวเลข 2 หลัก หรือต่ำกว่า 10%
ปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีแรงงานประมาณ 1.2 ล้านคน แต่ยังขาดแรงงานอยู่อีกประมาณ 20% โดยเฉพาะแรงงานที่มีมีฝีมือ และส่วนของผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นระดับ เอสเอ็มอีกว่า 70% และการลงทุนจากต่างประเทศ 30% โดยผู้ประกอบการคนไทยนั้นที่ได้มีการลงทะเบียนไว้มีประมาณ 2,000 ราย
|
|
|
|
|