Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
โนเบิลเคลียร์…จุดชี้เป็นชี้ตาย CNT             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว อรวรรณ บัณฑิตกุล ศิริรัตน์ ภัตตาตั้ง
 


   
search resources

คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย), บมจ.
โนเบิลเคลียร์ จีเอ็มบีเอช




โนเบิลเคลียร์ จีเอ็มบีเอช เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี มีทุนจดทะเบียนในปัจจุบัน 305,800 ดอยช์มาร์ค หรือประมาร 5 ล้านบาทเศษ ๆ ซึ่ง CNT มีสัดส่วนถือหุ้น 80.74% ในบริษัทนี้ทางอ้อมผ่านทางบริษัทซีเอ็นที จีเอ็มบีเอช โดยคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนแค่ 4 ล้านบาทเศษ ๆ เท่านั้น ส่วนผู้ถือหุ้นในโนเบิลเคลียร์อีก 19.26% เป็นบริษัทในเยอรมนี

โครงการที่โนเบิลเคลียร์ดำเนินการ คือ "โคนิคส์ พาร์ค" ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเบอร์ลินไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตรและติดถนนสายใหญ่ของกรุงเบอร์ลินไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตรและติดถนนสายใหญ่ของกรุงเบอร์ลิน ห่างจากสนามบินเก่าของเยอรมันตะวันออกไปเพียง 10 กิโลเมตร ถือว่าเป็นทำเลที่ดีทีเดียว

พื้นที่จำนวน 636 ไร่ของโครงการแบ่งเป็นพื้นที่ที่พักอาศัย 146 ไร่ ซึ่งตามแผนงานจะก่อสร้างบ้านพักจำนวน 923 หลัง และพื้นที่เชิงพาณิชย์ประมาณ 490 ไร่

ตอนที่ CNT เข้าลงทุนในโนเบิลเคลียร์เมื่อปี 2537 นั้น ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเยอรมนีมีอัตราเติบโตสูง CNT คาดว่า โนเบิลเคลียร์จะขายบ้านพักได้ปีละ 300 หลังหรือประมาณ 25% ต่อปี และจะปิดโครงการได้ภายในปี 2540

รวมทั้งคาดว่าที่ดินในเชิงพาณิชย์จะปิดโครงการได้ในปี 2542 โดยแบ่งเป็น 30% ของพื้นที่จะขายในรูปพื้นที่บริการสำหรับผู้ซื้อในการพัฒนาเอง ส่วนอีก 70% จะขายขาดหรือให้เช่าต่ออาคาร ซึ่งจะทำให้มีงานก่อสร้างและกำไรจากการพัฒนางานสร้างอาคารตามมา

ทว่า เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามนั้น ภาวะที่อยู่อาศัยล้นตลาดจากการเกิดโครงการรอบกรุงเบอร์ลินถึงกว่า 200 โครงการและผลจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้รายได้ของบุคคลและนิติบุคคลลดลง การขายที่อยู่อาศัยจึงเป็นไปอย่างลำบาก ประกอบกับพื้นที่ส่วนพาณิชย์ที่คาดว่าบริษัทต่าง ๆ จะเข้ามาซื้อหรือเช่า ก็ได้รับผลกระทบด้วย เพราะมีการย้ายฐานการผลิตจากเยอรมนีไปยังต่างประเทศเพราะปัญหาค่าแรง

โนเบิลเคลียร์จึงต้องปรับเป้าหมายการขายพื้นที่ใหม่ครั้งแรกในปี 2538 คาดว่าที่อยู่อาศัยจะปิดโครงการได้ในปี 2542 และต้องปรับตัวเลขใหม่อีกครั้งในปี 2539 โดยเลื่อนปิดโครงการเป็นปี 2547 เช่นเดียวกับพื้นที่พาณิชย์ที่เลื่อนการปิดโครงการเป็นปี 2547

ผลก็คือจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ดอกเบี้ยจ่ายค่าโสหุ้ยต่าง ๆ รวมไปถึงอาจต้องมีการลดราคาขาย จึงประมาณการว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการโนเบิลเคลียร์จะมียอดขาดทุนประมาณ 61.50 ล้านดอยช์มาร์คหรือประมาณ 1,045 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้โนเบิลเคลียร์ต้องตั้งสำรองการขาดทุนไว้ด้วย

นอกจากนี้ โครงการโนิคส์ พาร์คยังใช้เงินสนับสนุนส่วนใหญ่จากการเงินกู้ยืมเป็นตัวจักรในการลงทุน โดยตามประมาณการปี 2539 จะมีเงินกู้ยืมจาก CNT ทั้งหมด 67 ล้านดอยช์มาร์ค หรือประมาณ 1,100 ล้านบาทและเงินกู้จากธนาคารอีกประมาณ 3,400 ล้านบาท ซึ่งเบิกใช้ได้สูงสุดประมาณ 2,800 ล้านบาท โดยมี CNT เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ยืมให้ ดังนั้นการเลื่อนปิดโครงการจึงส่งผลกระทบถึงปัญหาการเงินตามมา

ธนาคารเจ้าหนี้ไม่อาจปล่อยให้โนเบิลเคลียร์จัดการกับโครงการอย่างอิสระต่อไป แต่สร้างกรอบใหม่ในการทำงานให้กับโนเบิลเคลียร์ โดยวางเงื่อนไขให้โนเบิลเคลียร์ต้องขายโครงการได้ถึง 50% ก่อนที่จะก่อสร้างเสร็จและต้องขายโครงการในเฟสเดิมได้ถึง 75% และขายเฟสก่อนหน้าเฟสเดิม 95% ของโครงการก่อนที่จะเริ่มโครงการต่อไป กล่าวได้ว่าโนเบิลเคลียร์มีข้อจำกัดในการขยายตัวมากขึ้น

ดังนั้นการจะผลักดันโครงการโคนิค พาร์คให้เดินหน้าต่อไปจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โนเบิลเคลียร์ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งภาระหนักย่อมจะตกแก่ CNT ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยต้องสนับสนุนในด้านเงินกู้ และอาจต้องเซ็นค้ำประกันการกู้ยืมให้โนเบิลเคลียร์เพิ่มขึ้น

แต่ CNT ไม่มีเวลาให้กับโนเบิลเคลียร์อีกต่อไป

เพราะขณะนี้ CNT ต้องแบกรับผลกระทบทั้งสองด้านเพียบบ่าอยู่แล้ว นั่นคือในฐานะผู้ถือหุ้น CNT ต้องรับรู้สำรองการขาดทุนและหนี้ที่โนเบิลเคลียร์ติดชำระกับเจ้าหนี้อื่น ๆ เข้ามาในงบการเงินรวมของบริษัท ขณะที่ในฐานะเจ้าหนี้ CNT ก็เรียกเก็บเงินจากโนเบิลเคลียร์ไม่ได้ ผลที่ตามมาก็คือ CNT มีสถานะทางกาเรงินง่อนแง่นจนถึงขั้นอาจถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

แผนการลดสัดส่วนการถือหุ้นในโนเบิลเคลียร์จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเท่าที่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ CNT จะทำได้ในขณะนี้เพื่อรักษาสถานภาพการเป็นบริษัทจดทะเบียนของ CNT

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us