|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติยอมรับหนี้เสียเพิ่มขึ้นแต่ยังคุมได้ หม่อมอุ๋ยระบุอย่านำหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การดูแลของคลังมารวมกับแบงก์พาณิชย์ที่ ธปท.กำกับดูแล เผยไม่มีสูตรตายตัวสูงต่ำของหนี้เสียต่อจีดีพี
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นจำนวนมากว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่นอกระบบสถาบันการเงินมีการแยกการกำกับดูแลอย่างชัดเจนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง นอกจากนี้เมื่อเทียบสัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์
"แบงก์เฉพาะกิจมีการแยกการกำกับค่อนข้างชัดเจน คนละระบบกับแบงก์พาณิชย์ไทย สัดส่วนสินเชื่อและเอ็นพีแอลมีไม่มากเมื่อเทียบกับแบงก์พาณิชย์ไทย แบงก์เฉพาะกิจเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปล่อยกู้ ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้กำกับดูแลโดยตรง ต้องไปถามกระทรวงการคลัง ไม่เกี่ยวกับธปท." ผู้ว่าการธปท.กล่าว
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบหนี้ในระบบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ขณะนี้เท่าที่ดูจากตัวเลขมีอัตราการเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ผ่านมามากพอสมควร ซึ่งหากเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ก็น่าเป็นห่วง ซึ่งคงต้องจับตาดูต่อไป อย่างไรก็ตามหากจะให้บอกระดับหนี้ที่เหมาะสมต่อจีดีพีว่าควรจะอยู่ที่ระดับใด คงไม่สามารถบอกได้ เพราะไม่มีสูตรที่ตายตัว
สำหรับ การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต ซึ่งก่อนหน้านี้ทางชมรมผู้ประกอบการบัตรเครดิตได้ส่งหนังสือเพื่อขอขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากปัจจุบันที่ 18% เป็น 20% นั้น นางธาริษา กล่าวว่า คงต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้รอบคอบอีกครั้ง แล้วจะประกาศให้ทราบพร้อมกัน
ขณะที่นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า จากการดูข้อมูลตัวเลขหนี้ระยะสั้นเมื่อเทียบกับหนี้ระยะยาวในขณะนี้ ถือว่าหนี้ระยะสั้นยังไม่น่ากังวลอย่างใด โดยล่าสุดหนี้ระยะสั้นอยู่ที่ประมาณ 20% เศษเท่านั้น ซึ่งรวมสินเชื่อเพื่อการค้าแล้ว
ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานตัวเลขหนี้ต่างประเทศล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 มียอดคงค้าง 57,325 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการนำเข้าหนี้ของภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารเป็นสำคัญ โดยสัดส่วนหนี้ระยะสั้นคิดเป็น 31% และหนี้ระยะยาว 69% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดซึ่งอยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อน
สำหรับหนี้รัฐบาลมียอดคงค้าง 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการซื้อคืนและรัฐบาลไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะยาว ส่วนหนี้ภาคธนาคาร มียอดคงค้าง 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำเข้าหนี้สุทธิ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่กิจการวิเทศธนกิจชำระคืนเงินกู้สุทธิ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่หนี้ภาคอื่นๆ มียอดคงค้าง 45,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการนำเข้าสินเชื่อการค้า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
|
 |
|
|