Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
เจ้าพ่ออินเทลไม่ใช่แค่ผลิตชิป             
 


   
www resources

โฮมเพจ อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์

   
search resources

อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก.
ดุลยรัตน์ รัตนมังคละ
Computer




อินเทลไม่ใช่แค่ผู้ผลิตชิปหรือตัวประมวลผล บริษัทนี้ยังต้องการเสนอผลิตภัณฑ์อีกหลายประเภทสู่วงการคอมพิวเตอร์ แม้กระทั่งในเรื่องชิป อินเทลก็พยายามทำให้แตกต่างจากชิปในแบบเดิม ๆ นั่นคือมีการทำงานสารพัดประโยชน์มากขึ้น ทั้งสองเรื่องรวมกันเป็นวิสัยทัศน์ใหม่ ซึ่งไม่ง่ายต่อการรับมือของผู้อยู่ในวงการ

ดุลยรัตน์ รัตนมังคละ ผู้จัดการบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อินเทลต้องการผลักดันให้พีซีเป็นเครื่องมือทางด้านอินฟอร์เมชั่นที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด ที่สำคัญคือ ต้องมุ่งไปสู่อินเตอร์เน็ต โดจะใช้เทคโนโลยีในการผลิตชิป ใส่ฟังก์ชั่นทางด้านมัลติมีเดียเข้าไปในชิป เพื่อก้าวสู่ตลาดใหม่ ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต และตลาดเน็ตเวิร์ก

อินเทลยังมีโครงการวางตลาดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต และการทำงานเป็นเน็ตเวิร์ก ยกตัวอย่าง เทคโนโลยีโปรแชร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประชุมระหว่างบุคคล

การทำให้เครื่องพีซีสามารถสื่อสารกันได้ มีการทำงานเป็นเน็ตเวิร์กจะทำให้ขายพีซีได้มากขึ้น การที่อินเทลนำเข้าผลิตภัณฑ์ด้านเน็ตเวิร์ก ก็เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พีซีมากขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตชิป นับวันจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถทำมัลติมีเดียวได้จากตัวชิปเอง

"ส่วนใหญ่คนไทยรู้จักอินเทล ในด้านชิปเพียงอย่างเดียว" ดุลยรัตน์ยอมรับ

ทั้งที่โดยทิศทางแล้ว ธุรกิจของอินเทลจะมุ่งในสองส่วน คือ ส่วนของธุรกิจด้านโปรเซสเซอร์ซึ่งอินเทลเป็นผู้นำตลาด และส่วนของเน็ตเวิร์กทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ในเรื่องเน็ตเวิร์ก วุฒิชัย รุจิระประภา ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาระบบปฏิบัติการทั้งในเครื่องลูกข่าย และแม่ข่าย เป็นการพัฒนาไปตามความเร็วของชิปเป็นสำคัญ เริ่มตั้งแต่ชิปอินเทล 386, 486 เพนเที่ยม และเพนเที่ยมโปร ซึ่งมีความเร็วถึง 200 เมกะเฮิรตซ์

นี่มิใช่เรื่องแปลก ในเมื่ออินเทลครองตลาดชิปอยู่ประมาณ 90% ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ตลอดจนบริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความเร็วชิปของอินเทล

ที่แล้วมา อินเทลเองก็ฉับไวพอที่จะเดินแผนติดสโลแกน INTEL INSIDE ไว้ที่ตัวเครื่องพีซีของผู้ผลิตค่ายต่าง ๆ เนื่องจากเห็นว่า เครื่องพีซีเริ่มกลายเป็นสินค้าคอมซูเมอร์ ซึ่งผู้บริโภคจะเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้าเป็นสำคัญจึงต้องตอกย้ำชื่ออินเทลไว้ก่อน ผู้ผลิตพีซีที่ติดสโลแกนนี้จะได้รับเงินช่วยเหลือจากอินเทลในการโฆษณาประชาสัมพันธ์

อินเทลต้องการให้ผู้ที่ซื้อคอมพิวเตอร์ให้ความสำคัญกับชิปด้วย มิใช่ให้ความสำคัญกับ แบรนด์ของเครื่องพีซีแต่เพียงอย่างเดียว

ยิ่งอินเทลพยายามผลักดันให้โลกคอมพิวเตอร์ไปสู่มัลติมีเดียว เพื่อขยายตลาดความเร็วสูงของตนเอง การตอกย้ำชื่ออินเทล ก็ยิ่งจำเป็นมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นชิปของไอบีเอ็ม ไซริกส์ เอเอ็มดี ก็ล้วนพยายามเร่งความเร็วแซงหน้าอินเทล และมีทิศทางไปสู่มัลติมีเดียทั้งสิ้น

ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่เป็นมัลติมีเดีย จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่อพ่วงมาเสียบ หรือเสริมอุปกรณ์บางตัวเข้าไป เช่น การ์ดเสียง วิดีโอการ์ด ต่อไปมีแนวโน้มว่า ฟังก์ชั่นต่าง ๆ จะอยู่ในตัวชิป

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานในเมืองไทยยังไม่เอื้อประโยชน์ให้เครื่องพีซีทำงานเป็นเครือข่ายและมัลติมีเดียได้อย่างแท้จริง เนื่องจากยังไม่สามารถส่งข้อมูลจำนวนมาก ๆ และมีความเร็วสูง จึงทำให้เกิดความคับคั่งของข้อมูลได้ง่าย

ปัญหานี้ดูเหมือนจะมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในไทย

โดยทั่วไปแล้ว ขณะที่ความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นทุก 18 เดือน แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั่วโลกกลับล้าหลังกว่ามาก จึงออกจะเป็นการจำกัดการสร้างตลาดมัลติมีเดีย ซึ่งใช้ชิปความเร็วสูง

โครงสร้างพื้นฐานอันล้าหลังยังจำกัดการเติบโตของบริการอินเตอร์เน็ต หรือไม่ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการใช้เครือข่ายนี้ เนื่องจากต้องรอคอยข้อมูลที่วิ่งมาตามสายเคเบิลเป็นเวลานาน เพราะการจราจรข้อมูลคับคั่ง นี่เป็นปัญหาหนึ่งที่ขวางทางอินเทล ซึ่งมีแผนผลักดันให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้เวลาบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ขายชิปสารพัดประโยชน์ได้มากขึ้น

ไม่น่าแปลกใจสำหรับการผลักดันเรื่องต่าง ๆ ของอินเทล เพราะการครอบครองตลาดชิปทำให้อินเทลเป็นเจ้าพ่อตัวจริง ซึ่งอาจชี้เป็นชี้ตายให้แก่ผู้ผลิตเครื่องพีซีได้ เนื่องจากผู้ผลิตเครื่องพีซีก็ย่อมต้องการชิปของอินเทลซึ่งมีความเร็วสูง มีราคาถูก และเป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภค

อินเทลมีอิทธิพลต่อผู้ผลิตเครื่องพีซี ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ในประเทศ (local brand) หรือแบรนด์ต่างประเทศ (international brand) นั่นคือ อินเทลจะเป็นผู้แนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของตนเอง คอยแนะนำแม้กระทั่งการสต็อกสินค้า เพราะหากสต็อกไว้มาก เมื่ออินเทลออกชิปใหม่ ก็อาจทำให้ผู้ผลิตมีปัญหาสินค้าค้างสต็อก

สำหรับผู้ผลิตพีซีแบรนด์ในไทย ก็มิได้หมายถึงจะนำชิปอินเทลไปประกอบตัวเครื่องได้ง่ายๆ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตตัวเครื่องจากอินเทลเสียก่อน

สำหรับค่ายแบรนด์สากล อินเทลก็จะคอยตรวจสอบไม่ให้นำเอาเครื่องพีซีรุ่นเก่า ๆ มาโละขายในเมืองไทย

นโยบายของอินเทลนั้น ต้องการใหมีการขายเครื่องพีซีที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เท่านั้น

คอมแพคผู้ผลิตเครื่องพีซีซึ่งมียอดขายเป็นอันดับ 1 ของโลกก็เคยขัดแย้งกับอินเทลจนหันไปใช้ชิปเอเอ็มดี แต่ในภายหลังก็มาใช้ชิปอินเทลเช่นเดิม เพราะทำตลาดได้ง่ายกว่า ในขณะที่อินเทลก็ยินดีที่จะคืนดีกับคอมแพค เพราะหากสูญเสียคอมแพคไป ตลาดของอินเทลจะเล็กลง

อย่างไรก็ดี ในยุคที่อินเทลจะยึดกุมตลาดมัลติมีเดีย และอินเตอร์เน็ตก็ยิ่งเป็นยุคที่อินเทลประมาทไม่ได้ เนื่องจากค่ายผู้ผลิตชิปรายอื่น ๆ ล้วนพยายามผลักดันชิปให้มีความเร็วใกล้เคียงหรือสูงกว่าชิปของอินเทล

ที่น่าจับตา คือ บิรษัทไซริกส์ คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา ซึ่ไงด้พัฒนาชิปไซริกส์ให้มีความเร็วเหนือกว่าชิปเพนเที่ยมของอินเทลถึง 29% ทั้งยังพยายามใช้กลยุทธ์ดัมพ์ราคาชิปลงกว่า 50% อีกทั้งยังขยายตลาดสู่ผู้ผลิตพีซีแบรนด์ในไทย

การลดราคาชิป ในขณะที่ชิปทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้บริษัทผู้ค้าพีซีสามารถที่จะขายเครื่องได้ในราคาถูกลง ซึ่งเท่ากับทำให้พีซีมีตลาดที่กว้างขึ้น เนื่องจากต้นทุนชิปนั้นจะมีมูลค่าราว 40% ของตัวเครื่อง

ในไทย อินเทลวางตลาดเพนเที่ยมโปรตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ต้องการเน้นให้เพนเทียมโปรประกอบอยู่ในเครื่องพีซีมากที่สุด อันเป็นอีกจังหวะก้าวหนึ่งในการปลุกตลาดมัลติมีเดีย แต่ก็ยังครองตลาดได้เพียง 1% เท่านั้น เมื่อเทียบกับชิปรุ่นอื่น ๆ ของอินเทล เนื่องจากชิปเพนเที่ยมโปรที่มีความเร็วตั้แงต่ 150-200 เมกะเฮิรตซ์ ยังมีราคาแพง ซึ่งหากนำมาประกอบในเครื่องพีซีแล้วก็จะทำให้เครื่องพีซีมีราคาแพงตามไปด้วย แนวโน้มของอินเทลจึงต้องปรับราคาของเพนเที่ยมโปร

ปีหน้า ในไทยจะมีการวางตลาดเครื่องพีซีที่ใช้เพนเทียมโปรรุ่นใหม่ มีคุณสมบัติด้านการประมวลผล เช่น MMX (Multimedia Extensions) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งแบบมัลติมีเดีย สามารถส่งคำสั่งแบบ 3 มิติ

อินเทลไม่ยอมหยุดอยู่แค่ชิป จึงเข้าเป็นหุ้นส่วนและอยู่ในระหว่างการทดลองเทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น เคเบิลโมเด็ม ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10 เมกกะบิตต่อวินาที ราคาราว 700-800 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ลดราคาลงมาเหลือ 200-300 เหรียญสหรัฐ

อินเทลยังร่วมมือกับ Hughes Network Systems เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมที่จะส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตได้ที่ความเร็ว 27 เมกะบิตต่อวินาที

นี่เป็นตัวอย่างของการหาตลาดใหม่ ๆ โดยอาศัยพื้นฐานจากการเป็นผู้นำชิปความเร็วสูง นั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us