Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์7 สิงหาคม 2549
"วังขนาย"ทุ่ม600ล้านบ.ย้ายโรงงานน้ำตาลมหาวังปักฐานใหม่ที่มหาสารคามเดินเครื่องจักรปลายปีนี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มวังขนาย

   
search resources

กลุ่มวังขนาย
Agriculture




กลุ่มน้ำตาลวังขนายทุ่ม 600 ล้านบาท ย้ายโรงงานน้ำตาลมหาวัง จากกาญจนบุรี ปักฐานใหม่ที่มหาสารคาม เผยเหตุภาคตะวันตก พื้นที่ปลูกอ้อยลด โรงงานแย่งชิงวัตถุดิบรุนแรง มั่นใจพื้นที่ใหม่ เดินเครื่องเต็มศักยภาพผลิตที่ 15,000 ตันอ้อย/วัน คาดแล้วเสร็จทันปีการผลิต 49/50 เดินเครื่องผลิตได้ทันที เตรียมเกษตรกรปลูกอ้อยรองรับแล้วกว่า 80,000 ไร่ เชื่อสถานการณ์อ้อยและน้ำตาลปีนี้สดใส ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 55 ล้านตันอ้อย

นายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย นายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย กรรมการบริหารกลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทน้ำตาลวังขนายได้ย้ายโรงงานน้ำตาล มหาวัง จากพื้นที่อำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มาตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม โดยใช้เงินเงินทุนค่าก่อสร้างเพิ่มเติม ขนย้าย ติดตั้งเครื่องจักรในโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาท

ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตั้งเครื่องจักร ดำเนินการคืบหน้าไปแล้วประมาณ 40% โดยมีศักยภาพการผลิตน้ำตาลที่ 15,000 ตันอ้อย/วัน คาดว่าการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรและงานด้านต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 49 นี้ และจะสามารถเปิดหีบอ้อยได้ทันปีการผลิต 2549/2550 นี้

สาเหตุที่กลุ่มน้ำตาลวังขนาย ต้องย้ายโรงงานน้ำตาลมหาวังเข้ามาในภาคอีสาน เพราะพื้นที่ตั้งโรงงานเดิม ในจ.กาญจนบุรี ต้องเผชิญกับการแข่งขันแย่งชิงผลผลิตอ้อยเข้าโรงงานสูงมาก จากการที่มีโรงงานน้ำตาลหลายบริษัท ตั้งโรงงานอยู่อย่างหนาแน่น ในรัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะมีโรงงานน้ำตาลตั้งอยู่ ส่งผลให้พื้นที่ส่งเสริมปลูกอ้อยทับซ้อนระหว่างกัน จนเกิดปัญหาแย่งชิงผลผลิตอ้อยอย่างรุนแรง

อีกทั้งชาวไร่อ้อยภาคกลางและภาคตะวันตก ปลูกอ้อยโรงงานลดลงเรื่อยๆ ประชาชนนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ ด้านอื่น ซึ่งปัญหาการแย่งชิงอ้อยที่รุนแรง และพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตส่งเสริมลดจำนวนลง ทำให้ผลผลิตอ้อยป้อนโรงงานน้ำตาลไม่เต็มศักยภาพการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำตาลสูงกว่าที่ควรจะเป็น

"พื้นที่ภาคอีสาน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะต่อการลงทุนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เนื่องจากพื้นที่ขนาดใหญ่ มีโรงงานตั้งอยู่เพียง 14 แห่ง แต่ละโรงงานตั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร ทำให้แต่ละโรงงานมีพื้นที่ส่งเสริมปลูกอ้อยได้มาก ปัญหาการแย่งชิงวัตถุดิบอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลไม่รุนแรง ประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าพื้นที่ภาคกลางและตะวันตก"นายบุญญฤทธิ์กล่าวและว่า

กลุ่มวังขนายได้เตรียมการล่วงหน้ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3-4 ปี โดยเข้าไปรวบรวมพื้นที่ตั้งโรงงานมากกว่า 1,000 ไร่ มีสมาชิกเกษตรกรในรอบรัศมีใกล้เคียงโรงงานปลูกอ้อยมากกว่า 1,000 ราย คิดเป็นพื้นที่ปลูกรวมกว่า 80,000 ไร่ ล่าสุดปีการผลิต 2548/2549 ที่ผ่านมา ได้ผลผลิตอ้อยสูงเกือบ 1 ล้านตัน ขณะเดียวกันพื้นที่ส่งเสริมปลูกอ้อยของโรงงานน้ำตาล มหาวัง สามารถขยายเขตส่งเสริมปลูกอ้อยได้อีกมาก อีกกว่าเท่าตัว คิดเป็นปริมาณอ้อยสูงถึง 2 ล้านตัน โดยช่วงเตรียมได้จัดส่งอ้อยของชาวไร่ไปหีบที่โรงงานน้ำตาลราชสีมา

การย้ายฐานการลงทุนเข้ามาที่จังหวัดมหาสารคาม จะเสริมศักยภาพให้การผลิตน้ำตาล ของกลุ่มน้ำตาลวังขนายมีประสิทธิภาพ โรงงานสามารถผลิตน้ำตาลได้เต็มศักยภาพการผลิต ขณะเดียวกัน การตั้งโรงงานได้สร้างงานและรายได้ให้กับประชากรในพื้นที่รอบโรงงาน มีชีวิตความเป็นอยู่และฐานรายได้ที่สูงขึ้น เพราะปัจจุบันราคารับซื้ออ้อยโรงงาน เบื้องต้นสูงเกือบ 1,000 บาท/ตันอ้อย

การดำเนินงานช่วงนี้ ทางทีมงานบริษัท น้ำตาลวังขนาย ได้รุกเข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ถึงประเด็นข้อสงสัยเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทั้งได้จัดเตรียมพื้นที่รองรับบำบัดน้ำเสียถึง 500 ไร่ มีระบบดักควันจากกระบวนการผลิต ถือเป็นโรงงานที่มีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง

สำหรับปีการผลิต 2549/2550 นี้ หากการติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จตามกำหนดที่ตั้งไว้ โรงงานน้ำตาลมหาวัง ที่อ.โกสุมพิสัย จะสามารถหีบอ้อยได้ทันที เพราะมีผลผลิตอ้อยที่ปลูกเตรียมไว้ สามารถขนเข้าหีบที่โรงงานน้ำตาลมหาวังได้ทันที

นายบุญญฤทธิ์ กล่าวถึงสถานการณ์ในอุตสาหกรรมผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายปีการผลิต 2549/2550 ว่า สถานการณ์ด้านการผลิตน้ำตาลปีการผลิตนี้ มีแนวโน้มสดใส ไม่น่าจะเกิดปัญหาผลผลิตอ้อยขาดแคลนและการแย่งชิงผลผลิตอ้อยเข้าโรงงาน เนื่องจากคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนปีนี้ ตกชุก จะทำให้อ้อยของชาวไร่ได้ผลผลิตสูงขึ้น

กอปรกับราคาผลผลิตอ้อยโรงงานเมื่อปีการผลิตที่ผ่านมา มีราคาสูงมาก ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ สนใจปลูกอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้น คาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยโรงงานออกสู่ตลาดประมาณ 55-60 ล้านตันอ้อย จากปีการผลิตที่แล้วที่มีอ้อยไม่ถึง 47 ล้านตันอ้อย ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำตาลในตลาดโลก ราคาน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลดีต่อกลไกการรับซื้ออ้อยปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us