|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปูนใหญ่ฯ ชี้ตลาดวัสดุก่อสร้างครึ่งปีแรกหดตัว เหตุธุรกิจอสังหาฯ ชะลอ ราคาน้ำมันผันผวน กระทบต้นทุน หวังรายได้จากการส่งออกประคองผลกำไร
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจวัสดุก่อสร้างต้องพึ่งพากับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมาก ในฐานะที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตที่สำคัญ และยิ่งในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัว ทำให้การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตาม ยิ่งจะเป็นบททดสอบของธุรกิจวัสดุก่อสร้างว่าจะสามารถฝ่าวิกฤติที่หนักหน่วงครั้งนี้ไปได้หรือไม่
ปูนซีเมนต์ไทยฯ ยักษ์ใหญ่เบอร์ 1 ของวงการวัสดุก่อสร้างเมืองไทยก็ได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าวนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เห็นได้จากในไตรมาสของปี 2549 ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างของเครือมียอดขายที่ลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ทั้งนี้เป็นผลมาจากดีมานด์ของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลง
จากภาวะดังกล่าว กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า การที่ดีมานด์ลดลง เป็นผลมาจากภาวะดอกเบี้ย และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวตามไปด้วย ซึ่งปีนี้ตลาดซีเมนต์หดตัว 3% และคาดว่าในอนาคตมีแนวโน้มจะหดตัวมากกว่านี้
สำหรับยอดขายของธุรกิจซีเมนต์ในไตรมาส 2 มียอดขายรวม 10,818 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5% เป็นผลมาจากราคาส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้บริษัทฯ มีกำไรลดลง เนื่องจากมีต้นทุนพลังงานสูงขึ้น และตลาดก่อสร้างในประเทศลดลง
จะเห็นได้ว่าแม้ยอดขายของบริษัทฯจะเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มดังกล่าวมาจากการปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาถึง 15% โดยเดิมคาดว่าตลาดในประเทศทั้งปีนี้จะมียอดขาย 11 ล้านตัน มีการเติบโตของกำไร 0-3%
ในเมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จะมีผลต่อการพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้าหรือไม่ กานต์ กล่าวว่า “ขึ้นอยู่กับภาวะตลาด แต่ยอมรับว่าหากดีมานด์ยังน้อยอยู่ ก็ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ โดยขณะนี้ทางสมาคมผู้ผลิตซีเมนต์กำลังยื่นหนังสือต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอปรับขึ้นราคาเพดานใหม่ ซึ่งหากไม่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นราคา”
จากภาวะดังกล่าวทำให้ ปูนซีเมนต์ไทยฯ มองว่าเมื่อตลาดในประเทศหดตัว ก็ถึงเวลาที่จะต้องพึ่งพาตลาดส่งออกไปต่างประเทศมาเป็นหนทางในการรักษารายได้และผลกำไรของบริษัทฯ ให้เป็นไปได้ตามเป้า ซึ่งตลาดส่งออกก็เป็นสิ่งที่บริษัทฯ ทำมานานแล้ว และราคาขายซีเมนต์ในและต่างประเทศมีความแตกต่างกันมาก โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราคา 42-43 เหรียญ ถือว่าต่ำที่สุดใน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่มีราคาขายประมาณ 50 เหรียญ
ซึ่ง กานต์ กล่าวว่า “เราเห็นสัญญาณการหดตัวของตลาดซีเมนต์มาตั้งแต่เดือน มี.ค. แล้ว จึงพยายามเร่งรัดการส่งออกให้มากขึ้น เร่งเอายอดการส่งออกเดือน เม.ย. มาไว้ในในเดือน มี.ค. ตั้งเป้าการส่งออกในปีนี้ 6-7 ล้านตัน”
แต่ทั้งนี้สิ่งที่ กานต์ ยังคงเป็นห่วง คือ ค่าเงินบาทที่แข็งในขณะนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก
ทั้งนี้โดยรวมของผลประกอบการไตรมาส 2 ของปูนซีเมนต์ไทยฯ มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเคมีภัณฑ์มากที่สุด ซึ่งเป็นธุรกิจที่บริษัทฯ หันมาให้ความสำคัญมากขึ้น มีสัดส่วนถึง 50% ในขณะที่ 20% เป็นธุรกิจซีเมนต์ และ 8% เป็นธุรกิจวัสดุก่อสร้าง โดยขณะนี้มีการขยายการลงทุนธุรกิจปิโตรเคมีที่ประเทศอิหร่าน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานในระยะแรก จะสามารถเปิดดำเนินงานได้ประมาณปี 2552 และที่ประเทศกัมพูชา จะเปิดดำเนินงานในปี 2551
|
|
|
|
|