Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 สิงหาคม 2549
ปตท.สผ.ลดเป้ายอดขาย 5 ปีลงชี้ "อาทิตย์-เจดีเอ" เลื่อนเสร็จนาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.), บมจ.
Oil and gas




ปตท.สผ.ปรับเป้าการขายปิโตรเลียมลง เหตุโครงการโอมาน 44 ล่าช้า และนางนวลการผลิตหด ยอมรับโครงการอาทิตย์เลื่อนเสร็จ 8 เดือน ไปเป็น ม.ค. 51 และโครงการเจดีเอไทย-พม่าดีเลย์ไปเป็น ต.ค. 52 ด้าน ปตท. เร่งวางแผนจัดหาก๊าซฯ ให้เพียงพอป้อนโรงไฟฟ้ากฟผ. มั่นใจจะหาก๊าซฯ เพิ่มจากวันละ 3,000 เป็น 7,000 ล้านลบ.ฟุตได้ ยันแหล่งอาทิตย์เลื่อนไม่กระทบ

นายมารุต มฤคทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ปรับลดเป้าหมายปริมาณการขายปิโตรเลียม 5 ปี (2549-2553) ลง เนื่องจากมีบางโครงการได้ล่าช้าออกไป โดยในปีนี้ได้ปรับลดเป้าปริมาณการขายลงจากเดิม 1.79 แสนบาร์เรล/วัน เหลือเพียง 1.72 แสนบาร์เรล/วัน เนื่องจากโครงการโอมาน 44 ล่าช้าออกไป รวมทั้งแหล่งนางนวลมีปริมาณการผลิตปิโตรเลียมลดลง

ส่วนในปี 2550 ได้ลดเป้าหมายการขายจากเดิม 2.24 แสนบาร์เรล/วัน เหลือเพียง 1.88 แสนบาร์เรล/วัน ปี 2551 จากเดิม 2.36 แสนบาร์เรล/วัน เหลือ 2.22 แสนบาร์เรล/วัน ปี 2552 จากเดิม 2.40 แสนบาร์เรล/วัน เหลือ 2.26 แสนบาร์เรล/วัน และปี 2553 จากเดิม 2.38 แสนบาร์เรล/วัน เหลือ 2.33 แสนบาร์เรล/วัน

โดยยอมรับว่าโครงการอาทิตย์ต้องเลื่อนการผลิตก๊าซธรรมชาติ 330 ล้านลบ.ฟุต/วัน เข้าสู่ท่อก๊าซฯ เส้นที่ 3 จากกำหนดการเดิมเดือนเม.ย. 2550 เป็นเดือนม.ค. 2551 แทน หรือล่าช้าออกไปถึง 8 เดือน และคาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้ ส่งผลให้กระทบต่อกำไรของบริษัทในปี 2550 ส่วนการจะนำแท่นเจาะลอยน้ำมาใช้ในแหล่งอาทิตย์นั้น คงต้องพิจารณาความคุ้มค่า ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้ ส่วนโครงการพื้นที่ร่วมพัฒนาไทย-มาเลเซีย (JDA) ในแปลงที่ B17 ก็คงต้องล่าช้าออกไป คาดว่าจะเริ่มผลิตก๊าซฯจำหน่ายได้ในเดือนต.ค. 2552 จากเดิมเดือนก.ค.2551 และขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างขั้นตอนการประมูลงาน โดยผู้รับเหมายังไม่ได้ส่งตัวเลขค่าก่อสร้างมาให้บริษัทฯ

นายมารุต กล่าวถึงต่อไปว่า จากการล่าช้าในโครงการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้บริษัทได้ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมปีนี้ลง 6% เหลือ 5.9 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ตั้งค่าใช้จ่ายไว้ 6.3 หมื่นล้านบาท แต่หากพิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดใน 5 ปีข้างหน้า (2549-2553) จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2.32 แสนล้านบาท เป็น 2.33 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในแหล่งอาทิตย์ โครงการที่เวียดนามและโครงการ S1 เป็นต้น

"ครึ่งปีแรกนี้ บริษัทฯ ได้ขุดสำรวจแหล่งก๊าซไปแล้ว 8 หลุม พบก๊าซและน้ำมัน 6 หลุม โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายที่เจาะสำรวจให้ได้ 19 หลุม ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการได้ครบตามแผนหรือไม่ เนื่องจากขาดแคลนแท่นขุดเจาะและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น "

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีเงินสดในมือ 2.25 หมื่นล้านบาท เพียงพอที่จะลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต โดยบริษัทมีนโยบายที่จะจัดหาก๊าซฯ เพิ่มในพม่า และบังกลาเทศ รวมทั้งแหล่งนาทูน่าที่อินโดนีเซีย เพื่อนำก๊าซฯ ป้อนมายังไทย

วางแผนจัดหาก๊าซฯ ระยะยาว

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. ได้หารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกระทรวงพลังงาน ในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ซึ่งมั่นใจว่าจะจัดหาก๊าซฯ เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศที่จะเพิ่มขึ้นจาก 3,000 ล้านลบ.ฟุต/วัน เป็น 5,000 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2553 และขยับเพิ่มเป็น 7,000 ล้านลบ.ฟุต/วันในอนาคตได้ โดยโครงการในอ่าวไทยและพม่าในขณะนี้มีเพียงพอป้อนก๊าซฯ 5,000 ล้านลบ.ฟุต

ส่วนที่เหลืออีก 2,000 ล้านลบ.ฟุต/วัน จะมีการจัดหาเพิ่มเติมทั้งจากโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี )โครงการต่อท่อก๊าซฯ จากแหล่งนาทูน่า ประเทศอินโดนีเซีย โครงการรับซื้อก๊าซจากพม่าเพิ่มเติมทั้งแหล่งเก่าและแหล่งใหม่ในอนาคต ในขณะเดียวกัน ปตท.สผ. ก็อยู่ในระหว่างการเจรจากับหลายประเทศ ทั้งบังกลาเทศ แหล่งพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา เพื่อพัฒนาปิโตรเลียมและส่งกลับมาใช้ในประเทศไทย

ส่วนการดูแลค่าไฟฟ้าในปีหน้านั้น ทางปตท. ได้ร่วมกับ กฟผ. ร่วมวางแผนการจัดหาพลังงานร่วมกัน โดยพยายามหาก๊าซฯ มาทดแทนน้ำมัน เพื่อทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด ซึ่งกรณีโครงการอาทิตย์ดำเนินการจ่ายก๊าซฯได้ล่าช้าก็ไม่ได้สร้างปัญหาแต่อย่างใด เพราะ ปตท. ได้จัดหาก๊าซฯ เพิ่มเติมมาให้ ทั้งแหล่งภูฮ่อม แหล่งเจดีเอ แหล่งยูโนแคล รวมทั้งรับซื้อก๊าซจากพม่าเพิ่มอีก 50 ล้านลบ.ฟุต/วัน รวมแล้วมีก๊าซฯ ใหม่เข้าระบบประมาณ 200-300 ล้านลบ.ฟุต/วัน

นายวิเศษ จูภิบาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ จะร่วมเดินทางกับ ปตท.สผ. เดินทางไปบังกลาเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกัน โดยไทยสนใจจะเข้าไปสำรวจและผลิตก๊าซฯ ในบังกลาเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ประเทศในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us