Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
โอเชียนกลาสรุกตลาดแก้วไวน์ หวังชิงส่วนแบ่งตลาด 80%             
 


   
search resources

โอเชียนกลาส, บมจ.
สุภาวัลย์ กันยาประสิทธิ์
Alcohol




การดื่มไวน์เพื่อสุขภาพเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน แม้รัฐบาลจะออกมาตรการเพิ่มสรรพสามิตสำหรับการนำเข้าไวน์ซึ่งจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจาก 20% เป็น 40% ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมาแล้ว แต่ก็มีผลกระทบเพียงชะลอการขยายตัวของสินค้าประเภทนี้เท่านั้น

2-3 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของตลาดไวน์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 40% แต่ภายหลังการปรับภาษีซึ่งส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นถึง 20% นี้ ก็ยังมีการคาดการณ์กันว่า ตลาดไวน์ไทยน่าจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้ไม่น้อยกว่า 30% โดยมีมูลค่าตลาดรวมในปีนี้ประมาณ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี คาดว่าผลจากภาษีจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นในปีหน้า เนื่องจากผุ้นำเข้าไวน์ส่วนใหญ่จะมีสต็อกไวน์ไว้จำนวนหนึ่ง ทำให้ช่วงแรก ๆ หลังการปรับเพิ่มภาษีผู้นำเข้าก็ยังสามารถยืนราคาเดิมไว้ได้ และมาปรับราคาเพิ่มในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลปลายปีพอดี

ผลของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดไวน์นี้ ทำให้สินค้าประกอบไวน์ โดยเฉพาะแก้วไวน์มีอัตราการขยายตัวที่ดีตามไปด้วย

สุภาวัลย์ กันยาประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงการเติบโตของตลาดดังกล่าว รวมถึงเครื่องจักรของโอเชียนกลาสเองก็มีการเตรียมไว้สำหรับรองรับการผลิตเครื่องแก้วสเต็มแวร์หรือแก้วก้านอยู่แล้ว จึงอาศัยจังหวะเหมาะตรงนี้ลงทุนเพิ่มอีก 200 ล้านบาท เพื่อผลิตแก้วก้านสำหรับใช้กับเครื่องดื่มทุกประเภทขึ้น โดยเน้นที่รูปทรงการออกแบบและคุณภาพเป็นสำคัญ

"เราตั้งเป้ายอดขายทั้งในและต่างประเทศในปีแรกไว้ประมาณ 150-200 ล้านบาท หรือมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% โดยบริษัทมีกำไรการผลิตแก้วก้านนี้ปีละประมาณ 9 ล้านชิ้น" ซึ่งเมื่อผลิตและจำหน่ายแก้วก้านแล้ว ก็จะทำให้โอเชียนกลาสเป็นบริษัทผู้ผลิตภาชนะเครื่องแก้วสำหรับใช้บนโต๊ะอาหารครบทุกประเภท สุภาวัลย์กล่าว

สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทในช่วงแรกนี้จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทฮ็อตเอ้นคัทติ้ง ซึ่งขอบปากแก้วจะหนา คงทน และประหยัด ส่วนประเภทที่ 2 เรียกว่า โคล์ดคัทติ้ง ซึ่งขอบปากแก้วจะบาง เรียบสนิท ให้สุนทรียภาพในการดื่มมากกว่า

ในช่วงแรกบริษัทจะออกผลิตภัณฑ์แก้วก้านมา 2 ชุด คือ ชุด BANQUET SERIES ซึ่งเนฮ็อตเอ็นคัทติ้ง มีอยู่ 3 แบบ เหมาะสำหรับใช้ในงานจัดเลี้ยงและบนโต๊ะอาหาร และอีกชุดหนึ่ง คือ BASIC SERIES ซึ่งเป็นโคล์ดคัทติ้ง ชุดนี้จะมี 12 แบบให้เลือก เหมาะสำหรับจัดโต๊ะอาหารแบบสากลนิยม ที่ต้องการความพิถีพิถันในการเลือกใช้แก้วให้มีความเหมาะสมกับเครื่องดื่ม

"ในอนาคตเราจะพยายามออกชุดแก้วไวน์ใหม่ ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จากที่ขณะนี้มีเพียง 2 ชุดเท่านั้น" สุภาวัลย์กล่าวพร้อมทั้งให้ความเห็นต่อภาวะการแข่งขันในประเทศว่า "การแข่งขันในประเทศตอนนี้มีมากขึ้น แต่ก็จะมีการแบ่งตลาดกันไป ซึ่งของเราก็เป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีก็จะมีตลาดของตัวเอง การนำเข้าจากยุโรปอเมริกามากขึ้น จากผลของการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องแก้วลงจาก 55% ปีหน้าก็จะเป็น 30% แต่โดยเฉลี่ยราคาของเขายังแพงกว่าเรา แต่ถ้านำเข้าจากอินโดนีเซียก็จะมีส่วนกระทบบ้างแต่ไม่มาก"

เธอมองว่า การแข่งขันกับสินค้านำเข้า โอเชียนกลาสจะได้เปรียบในเรื่องของราคาที่ถูกกว่า แต่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน ขณะที่ตลาดในประเทศนั้นจะได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพที่ดีกว่า เพราะมีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต

ปัจจุบัน โอเชียนกลาสผลิตแก้วทุกชนิดทั้งหมดประมาณปีละ 120 ล้านชิ้น โดยมีสัดส่วนรายได้จากการขายในประเทศและต่างประเทศในสัดส่วน 55% และ 45% ตามลำดับ

สำหรับมูลค่าตลาดรวมของตลาดเครื่องแก้วในขณะนี้มีอยู่ประมาณ 700-800 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยมีแนวโน้มการขยายตัวของตลาดประมาณ 5-10% ต่อปีจากมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด

ทั้งนี้ สุพจน์ ศรีอุดมพร ผู้จัดการทั่วไปของโอเชียนกลาส เปิดเผยว่า ในส่วนของตลาดต่างประเทศนั้น บริษัท โอเชียน ซาซากิกลาส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างโอเชียนกลาส และบริษัทซาซากิกลาส ของญี่ปุ่น ถือในสัดส่วน 90% และ 10% ตามลำดับ จะเป็นผู้ดูแล โดยมีตลาดหลัก ๆ อยู่ 4 ภูมิภาค คือ ตลาดเอเชีย เช่น จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เป็นต้น ตลาดยุโรป ตลาดเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และตลาดที่ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ส่วนตลาดในประเทศนั้น โอเชียนกลาสจะดูแลโดยตรง ซึ่งมีตลาดหลักอยู่ 3 ตลาด คือ ตลาดผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคารต่าง ๆ และธุรกิจบันเทิง ตลาดธุรกิจค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของโอเชียนกลาสมีจำหน่ายในเกือบทุกห้าง ทุกสาขา และตลาดที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ คือ ตลาดพรีเมียม หรือกลุ่มที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วไปเพื่อการโปรโมตสินค้า แจกแถม เป็นต้น

ปัจจุบันตลาดพรีเมียมสามารถทำรายได้เข้าบริษัทได้ประมาณ 40% ของรายได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม โอเชียนกลาสมีนโยบายที่จะรุกตลาดโรงแรม ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกให้มากขึ้น และลดสัดส่วนตลาดพรีเมียมลง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง

สุภาวัลย์ ชี้แจงว่า "ถ้าเป็นไปได้เราพยายามลดในส่วนของตลาดพรีเมียมลง เพราะเป็นตลาดที่ไม่แน่นอน อย่างปีนี้ซื้อ ปีหน้าอาจจะไม่ซื้อ เช่น โกดัก ปีที่แล้วซื้อ ปีนี้อาจจะไม่ทำแคมเปญ แต่เราก็พยายามที่จะเปลี่ยนไปยังสินค้าอื่น ๆ ด้วย คงไม่ใช่เฉพาะตลาดฟิล์ม เป๊ปซี่ โคล่า เท่านั้น"

เธอ กล่าวถึงแผนการดำเนินงานในอนาคตของโอเชียนกลาสด้วยว่า นอกจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า บริษัทอาจจะมีการเพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้กำลังการผลิตอยู่กว่า 90% แล้ว

อย่างไรก็ตาม การขยายการลงทุนในอนาคต บริษัทยังคงจะเน้นในเรื่องของเครื่องแก้วต่อไป เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ถนัด เธอกล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us