Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
เกรียงศักดิ์ แสงทอง ถึงเวลาหางานใหม่             
 


   
search resources

อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง
เกรียงศักดิ์ แสงทอง
Commercial and business




วันที่หนึ่งของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เกรียงศักดิ์ แสงทองได้รับคำสั่งจากบริษัทแม่ย้ายไปทำงานประจำในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ที่ประเทศสิงคโปร์ หลังจากเป็นประธานกรรมการบริหารหรือ CEO ของกลุ่มอินช์เคปในไทยสองปี แต่ผลงานที่ออกมาไม่เข้าตากรรมการ

สองปีที่เกรียงศักดิ์บริหาร ผลงานเด่นที่เกรียงศักดิ์กล้าเข้าไปทำ คือ การรีเอ็นจิเนียริ่งอินช์เคป เป็นงานใหญ่ที่รุกก้าวเข้าไปเปลี่ยนแปลงทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย เป็นธรรมดาที่สิ่งใหม่ย่อมเกิดกระแสต่อต้านจากคนเก่า ขนาดเจ้าของกสิกรไทย บัณฑูร ล่ำซำ ซึ่งเป็นผู้นำกระบวนการรีเอ็นจิเนียริ่งมาใช้ยังต้องใช้กำลังภายในมหาศาล กว่าจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือจนสำเร็จเป็นโฉมใหม่ได้ แล้วเกรียงศักดิ์เป็นใคร เป็นเพียง "คนนอก" ที่เป็นมืออาชีพระดับอินเตอร์ที่อินช์เคปจ้างมา คนใหม่อย่างเกรียงศักดิ์แม้จะเคยมีผลงานปรากฎในเอวอน แต่ก็เป็นเพียงบริษัทเครื่องสำอาง แต่โครงสร้างองค์กรและสินค้าของอินช์เคปใหญ่และซับซ้อนหลากหลายกว่านั้นมากๆ คนเก่าจึงยากจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่ได้พิสูจน์ฝีมือของเกรียงศักดิ์ ณ อินช์เคป

"สองปีที่ผ่านมา ผมเน้นในสี่ประเด็นหลัก ๆ หนึ่ง-รีเอ็นจิเนียริ่ง สอง-สร้างกระบวนการทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง สาม-สร้างทีมเวิร์ค และสี่-มองหาธุรกิจใหม่ ๆ จริง ๆ ไม่ใช่ผมเลือก แต่สถานการณ์มันบีบ การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้น เป้าหมายเพื่อความอยู่รอดของอินช์เคป ถึงผมไม่มา อินช์เคปก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ดี เพราะมันมีแม่บทและนโยบายที่กำหนดไว้" นี่คือคำบอกเล่าของเกรียงศักดิ์

ภายใต้แรงกดดันจากภายในและภายนอก เกรียงศักดิ์ยังสวมวิญญาณมืออาชีพระดับอินเตอร์ที่ยังคงลุยปรับโครงสร้างผู้บริหาร และการบริหารผลิตภัณฑ์ไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่น โดยเฉพาะการสานต่อภารกิจต่อจากปีเตอร์ แมคครีดี้ ประธานคนเดิมในโครงการสร้างกลยุทธ์บริหารสินค้าและปรับระบบการจัดส่งสินค้าที่ล้าหลังให้เกิดใหม่ภายใต้ชื่อ "ลอจิสติกส์" โดยลงทุนมหาศาลใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้กับคลังสินค้าใหม่ที่บางปะอินของบริษัท อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (ไอซีเอ็ม) ซึ่งบริหารสินค้าที่อยู่ในมือไม่ต่ำกว่า 300 รายการ ยอดขายแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของยอดขายโดยรวมของกลุ่มอินช์เคป

ฉะนั้น บริษัทไอซีเอ็มจึงเป็นหัวใจสำคัญที่เกรียงศักดิ์ยึดกุมเก้าอี้กรรมการผู้จัดการควบกับตำแหน่ง CEO ในยุคต้น ๆ เพราะไอซีเอ็มจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จวบจนเกรียงศักดิ์มั่นใจว่า กุมสภาพได้จึงแต่งตั้งมาร์ค เอช กริฟฟินที่ทำอยู่ที่ประเทศดูไบมารับตำแหน่งแทนในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และสิงหาคมปีนี้ก็ได้ทาบทามซื้อตัวอนัคฆวัชร์ ก่อวัฒนกุล อดีตผู้จัดการฝ่ายการตลาดของค่ายคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ มาเป็นผู้จัดการใหย่ที่ไอซีเอ็มอีกด้วย

เป้าหมายรีเอ็นจิเนียริ่งที่เกรียงศักดิ์วางไว้ และต้องทำให้บรรลุ คือ ลดเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนที่แพงมาก เพราะในแต่ละกระบวนการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดนั้น จะต้องทำให้เร็วขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ จากที่เดิมนั้นล่าช้าไม่ต่ำกว่า 20-30 วันหรือเป็นเดือนตั้งแต่รับออร์เดอร์ถึงจัดส่งสินค้า ทำให้ยอดขายหายไป

ผลกระทบจากรีเอ็นจิเนียริ่งบนพื้นฐานอนุรักษนิยมของอินช์เคป คือ "ได้อย่างและเสียหลายอย่าง" เพราะกว่าที่เกรียงศักดิ์จะชัดเจนในเกมรุก ปัญหารุมเร้าที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงใหม่นี้ก็เกิดขึ้นตลอดสองปี นับเนื่องจากการทยอยลาออกของคนเก่าและลูกค้าของอินช์เคปหลุดไป รายแรก คือ กลุ่มบริษัท ที.เอ.เอส.กรุ๊ป เจ้าของโจ๊กสำเร็จรูปยี่ห้อ "ควิ๊กโจ๊ก" และเครื่องดื่มดับกระหาย "เควนเซอร์"

รายที่สอง คือ บริษัทกระดาษธนธาร เจ้าของผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ "ฟินน์" "กรีนแอนด์คลีน" "แนปกิ้น" "ทัช" และ "พรีเมี่ยม" ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะคู่ค้ากันมานานนับ 17 ปีต้องยกเลิกสัญญาจัดจำหน่ายกับบริษัทอินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง แล้วไปจ้างดีทแฮล์ม ทำแทน เพราะเหตุจากการปรับระบบบริหารสินค้าใหม่ภายในอินช์เคปที่กระทบยอดขายให้ลดลง 30% เมื่อเทียบกับยุคก่อนปรับ ขณะเดียวกับบริษัทลูกค้าก็ทำใจยอมรับค่าใช้จ่ายใหม่ที่เพิ่มขึ้น จากที่มีค่าใช้จ่ายในการจัดรูปการบริหารสินค้าใหม่ที่ลงทุนสูงมาก ซึ่งลูกค้าเก่าอย่างบริษัทธนธารอ้างว่า ไม่สามารถรับได้กับค่าใช้จ่ายใหม่ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นอันสิ้นสุดกันไป

"ขณะนี้ บริษัทได้เปิดเกมรุกในสินค้าบางตัวแล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์ฟลูโอคารีน จากเดิมที่บริษัทเน้นสร้างภาพพจน์เป็นหลัก ตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป บริษัทได้เปลี่ยนแนวทางโฆษณาเพื่อผลักดันยอดขายมากกว่า พร้อมกับขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ร้านค้าปลีกมากขึ้น ส่วนสินค้าอื่นอยู่ระหว่างศึกษา สำหรับผลการปรับโครงสร้างองค์กรจะออกมามีรูปแบบที่ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน อีก 5 เดือนถึงจะสรุป โดยขณะนี้บริษัทได้ทำแบบฟอร์มสำรวจและประเมินผลส่งให้กับลูกค้า หากผลสรุปทุกคนพอใจก็ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่หากยังไม่เป็นที่พอใจก็ต้องแก้ไขต่อไป" นี่คือสไตล์การบริหารแบบอเมริกันที่มืออาชีพระดับอินเตอร์อย่างเกรียงศักดิ์เล่าให้ฟัง

ปรากฏว่า การประเมินผลที่ลูกค้าและพนักงานผู้เกี่ยวข้องกับไอซีเอ็มสรุปออกมานั้น ชี้ไปในทางที่ไม่น่าพอใจดังกล่าว และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเกรียงศักดิ์หลุดจากเก้าอี้ CEO ทำให้มาร์ค กริฟฟิน กรรมการผู้จัดการไอซีเอ็มต้องรายงานโดยตรงกับสำนักงานใหญ่ประเทศสิงคโปร์ ขณะนี้

ถึงตอนนี้การจากไปสิงคโปร์ของเกรียงศักดิ์ แสงทอง แม้จะถูกมองว่าถูกย้ายไปเพราะล้มเหลว เพราะผลงานนั้นได้ถูกประเมินแล้ว แต่สำหรับมืออาชีพระดับอินเตอร์อย่างเกรียงศักดิ์ แสงทอง ย่อมต้องพิสูจน์ตัวเองในที่ใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us