Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 สิงหาคม 2549
ธปท.ชี้แนวโน้มเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติชี้อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงเป็นแนวโน้มที่ดี และเชื่อจะลดลงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีจากแรงกดดันหลายๆ ด้านที่ผ่อนคลายลง แต่ก็ยังคงจับตาตัวแปรหลักโดยเฉพาะราคาน้ำมันอยู่ สำหรับการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้นจะต้องพิจารณาถึงเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงตัวเลขทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงเดือนกรกฎาคม 2549 มีการปรับลดลงว่า ถือเป็นแนวโน้มที่ดี และหากดูไส้ในก็จะพบว่า การปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั้ง 2 ตัว ไม่ใช่เกิดจากผลของปีฐานเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากแรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มอ่อนตัวลง ดังนั้นธปท.มองว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลง

“หากดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราทั่วไปเพิ่มขึ้นเดือนต่อเดือนมีอัตราที่ลดลงทั้ง 2 ตัว โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 0.2% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ระดับ 0% ฉะนั้นแรงกดดันเรื่องอัตราเงินเฟ้อเริ่มที่จะผ่อนลง เป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น และเชื่อว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อัตราแนวโน้มจะเริ่มลดลง”

นายบันฑิต กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มลดลงมีด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. การปรับขึ้นของราคาสินค้าตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้มีการปรับราคามาพอสมควรแล้ว โดยเฉพาะเรื่องค่าขนส่ง ดังนั้น ภาวะที่ราคาสินค้าจะปรับขึ้นตามราคาน้ำมันในอนาคตจะลดลงเทียบกับช่วงที่ผ่านมา 2. ภาวะเศรษฐกิจที่ธปท.ประเมินว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะชะลอตัว สร้างแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปลดลง และ 3.แรงกดดันด้านอื่นๆ ซึ่งภาคธุรกิจคาดหวังอนาคตจะไม่สูง รวมไปถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างก็จะไม่มาก

ทั้งนี้ ในอนาคตคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่า อัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาวะการใช้จ่ายในประเทศปรับตัวดีขึ้น ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อเศรษฐกิจทำให้ความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) เริ่มน้อยลง อย่างไรก็ตามกนง.จะติดตามดูอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงอย่างชัดเจนต่อไปหรือไม่ในเดือนต่อๆ ไป รวมไปถึงตัวแปรหลักด้านราคาน้ำมันจะเป็นเช่นไร สิ่งเหล่านี้ต้องติดตามดูต่อไป

สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินโยบายการเงินแบบเข้มงวดนั้น นายบัณฑิต กล่าวว่า กลุ่มประเทศหลัก 3 ประเทศ ยังคงมีทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอยู่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจในแต่ละประเทศเป็นสำคัญ

ส่วนการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่มีการไหลเข้าออกมากในช่วงที่ผ่านมานั้น มองว่านักลงทุนจะให้ความสำคัญปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมากกว่าจะดูส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย โดยหากเป็นการลงทุนระยะยาวก็จะดูปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ถ้านักลงทุนคิดถึงส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นเพียงการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญต้องดูว่าอัตราดอกเบี้ยระดับไหน จึงจะเหมาะสมต่อเศรษฐกิจ

“แบงก์ชาติจะให้ความสำคัญเสถียรภาพเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตลาดโลกมองไม่อ่อนตัวมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนเศรษฐกิจโลกได้ แบงก์ชาติจึงต้องดูแลให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศไม่สูงมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดสมดุลหรือขาดดุลไม่มาก เงินสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่ง และมีหนี้ต่างประเทศที่ต่ำ ปัจจุบันเสถียรภาพเศรษฐกิจดีพอสมควร” นายบัณฑิตกล่าว

นอกจากนี้ จากสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือ ไข้หวัดนกรอบใหม่ และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ธปท.จะติดตามดูผลกระทบต่างๆ อยู่เสมอว่าจะมีต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ต่อเนื่องแค่ไหน ซึ่งขณะนี้ก็ยังจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us