Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 สิงหาคม 2549
'เกียรตินาคินฯ'คว้าหนี้บง.มหาสมุทรทุ่ม240ล้านบาทเพิ่มพอร์ตที่อยู่อาศัย             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมบังคับคดี
โฮมเพจ ธนาคารเกียรตินาคิน

   
search resources

กรมบังคับคดี
ธนาคารเกียรตินาคิน




กรมบังคับคดีเร่งขายหนี้ตกค้างของ 56 สถาบันการเงิน หวังลดความเสี่ยงให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ด้าน "เกียรตินาคิน" ชนะประมูลลูกหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อพาณิชย์ของบง.มหาสมุทร จากกรมบังคับคดี ราคา 246 ล้านบาท ขณะที่บริษัทสำนักงานกฎหมายฯ คว้าหนี้เช่าซื้อของบง.เอกธนา ด้านกรมบังคับคดีฯ เตรียมขนหนี้ตกค้างของ 46 สถาบันการเงิน ขาย 16 ส.ค.นี้

แหล่งข่าวจากกรมบังคับคดี เปิดเผยถึงความคืบหน้าความคืบหน้าการขายสิทธิ์เรียกร้องของ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกฟ้องล้มละลาย ตามนโยบายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ว่า ทางกรมฯได้มีการจัดการขายสิทธิ์เรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง แต่ภาระหน้าที่ของทางกรมบังคับคดียังคงต้องดำเนินการต่อไป เพื่อนำรายได้จากการขายสิทธิ์เรียกร้องของลูกหนี้ให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งยังมีหนี้คงเหลือที่ต้องผลักดันออกไป โดยหนี้ในส่วนของบง.มหาสมุทรฯทางธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ชนะประมูลสิทธิ์เรียกร้องลูกหนี้ในส่วนของกลุ่มลูกหนี้ที่อยู่อาศัยและเพื่อพาณิชย์ (กลุ่มที่ 1) และหนี้เช่าซื้อ รวมไปในราคาประมาณ 246 ล้านบาทเศษ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 24% ของทุนทรัพย์ 1,771 ล้านบาท

ในส่วนของกลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อ ได้มีการเปิดประมูลไปเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ได้แก่ บง.เอกธนา,บง.เอกธนกิจ ,บง.พรีเมียร์,บง.ไทยธำรงและบงล.ศรีมิตร โดยทางกรมฯ สามารถขายสิทธิ์เรียกร้องได้เฉพาะในส่วนของสองบริษัทเงินทุน ซึ่งทางบริษัทสำนักงานกฎหมายธนาสิทธิ์ จำกัด ชนะการประมูลเฉพาะในส่วนของสิทธิ์เรียกร้องเช่าซื้อของบง.เอกธนา ในราคา 7.2 แสนบาท หรือคิดเป็น 4% ของทุนทรัพย์ 22 ล้านบาทเศษ เนื่องจากลูกหนี้บางมีปัญหาในการท้วงหนี้ค่อนข้างเยอะ ซึ่งผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องมีการลงทุนเพื่อติดตามหนี้เหล่านี้อีกมากและต้องใช้เวลาที่นาน ขณะที่หนี้ของบง.เอกธนากิจ มีการจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ลูกหนี้จำนวน 6,000-7,000 ราย แต่ขายสิทธิ์ในกลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ 2,000 ราย ราคาขาย 2.4 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการประเมินทุนทรัพย์ที่ชัดเจน

"สำหรับ 3 บริษัทเงินทุนมีการงดขายออกไป เพราะมีลูกหนี้บางได้เสนอที่จะซื้อหนี้เฉพาะบางส่วน ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางของกรมบังคับคดีที่ต้องการจำหน่ายทั้งหมด ทั้งนี้ทางกรมฯ ตั้งใจว่าจะขายลูกหนี้ที่งดไปอีก 1-2 ครั้ง และหากยังคงเหลืออยู่คงต้องปล่อยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ" แหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ช่วงปีงบประมาณ 2546 ถึงเดือนตุลาคม 2548 กรมฯสามารถขายสิทธิ์เรียกร้องตามมูลหนี้ที่อยู่อาศัยและเพื่อพาณิชย์และหนี้เช่าซื้อ 54 สถาบันการเงินได้แล้ว 13,098.542 ล้านบาท และได้นำรายได้จากการจำหน่ายทยอยชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ราคาขายเฉลี่ยที่ทำได้ระหว่าง 20-45% ถือเป็นตัวเลขที่สูงและทางกองทุนฟื้นฟูฯ ค่อนข้างพอใจ ขณะที่ในวันที่ 16 ส.ค.นี้ ทางกรมฯ จะเปิดประมูลขายสิทธิ์เรียกร้องลูกหนี้ใน 46 สถาบันการเงิน ซึ่งเป็นส่วนที่คงเหลือจากการประมูลในช่วงที่ผ่านมา จำนวน 300 รายเศษและรวมถึงลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วไม่ปฎิบัติตามแผน

แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกเหนือจากการจำหน่ายหนี้ในสถาบันการเงินต่างๆตามนโยบายแล้ว ทางกรมฯ ยังต้องรับผิดชอบลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 1 บาทถึง 25,000 บาท โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการท้วงหนี้แทนการจำหน่ายลูกหนี้ สาเหตุมาจาก ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูกหนี้ดังกล่าวค่อนข้างสูง เช่น หากเป็นลูกหนี้ที่อยู่ปริมณฑลจะมีค่าใช้จ่ายต่อรายประมาณ 3,800 บาท ส่วนที่อยู่รอบนอกปริมณฑลประมาณ 7 ,000-8,000 บาทต่อราย หรือบางรายอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 10,000 บาท ซึ่งถือว่าไม่คุ้ม

"ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวทั้งเจ้าหนี้และกรมฯได้มีการหารือมานานแล้ว จึงมีมติให้งดการประมูล แต่ด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานคงไม่สามารถจะเมินเฉยได้ เพียงแต่กระบวนการจะมีความต่างกัน โดยจะงดขายแต่มิใช่จะปล่อยให้สูญไปเลย ส่วนมากจะเป็นลูกหนี้เช่าซื้อประมาณ 2,000 ราย" แหล่งข่าวกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us