"เราจะตามสิงคโปร์ทันในอีก 1-2 ปีข้างหน้า"
นั่นเป็นคำกล่าวของคริสโตเฟอร์ เดวิด มวนด์ เอฟเวินส์ กรรมการผู้จัดการบริษัท
พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TSLIFE หลังจกาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
เขาได้นำผู้บริหารตัวแทนขายและนักขาย 10 รายที่ทำยอดขายได้ตามเป้าจากทั่วประเทศ
ไปเยี่ยมชมกิจการ และความสำเร็จของบริษัทในเครือพรูเด็นเชียลที่สิงคโปร์
และเขาหวังว่าในอีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า จะเป็นฝ่ายต้อนรับทีมงานจากสิงคโปร์เพื่อมาดูความสำเร็จในประเทศไทยบ้าง
แบบอย่างของกลุ่มพรูเด็นเชียลในตลาดสิงคโปร์นับว่าจับตามองทีเดียวจากกิจการที่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจประกันภัยเมือ่ปี
2474 โดยเป็นเพียงสาขาของพรูเด็นเชียลอังกฤษ กระทั่งปี 2533 จึงได้จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทในสิงคโปร์
จนมาถึงปัจจุบันพรูเด็นเชียลสิงคโปร์ (PACS) ดูจะโดดเด่นที่สุด
ด้วยอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้นจาก 127.8 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือประมาณ
1,917 ล้านบาทในปี '33 เป็น 471.9 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือประมาณ 8,494.2
ล้านบาท ในปี '38 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยปีละ 53.84% โดยมีกำไรก่อนหักภาษีในปี
'33 เท่ากับ 5.2 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือ 78 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 28.8
ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 518.4 ล้านบาท ในปี '38 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยปีละ
90.77%
นับว่าเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างดีทีเดียว ในภาวะการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยในสิงคโปร์ที่มีบริษัททำกิจการอย่างจริงจังอยู่ถึง
12 บัตร และหากพิจารณาตลาดประกันชีวิตในสิงคโปร์พบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจในปี
'39 นี้อยู่ระหว่าง 10-15% และจะเพิ่มเป็น 20% สำหรับปี '40
อย่างไรก็ตาม มร.ตัน ซูจี ประธานกรรมการบริหาร พรูเด็นเชียล สิงคโปร์ ก็ยังมั่นใจว่า
สิ้นปี '39 นี้ บริษัทจะมีเบี้ยประกันรับประมาณ 10,600 ล้านบาท ด้วยนโยบายที่เขาวางไว้
คือ 'การทำให้ลูกค้ามีความประทับใจมากที่สุด' โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรเป็นหลัก
ทั้งในส่วนตัวแทนขาย พนักงาน รวมทั้งผู้บริหาร "เพื่อคงความเป็นผู้นำตลาดในเรื่องสินค้าอยู่เสมอ
และการบริการที่จะเป็นตำนานที่ถูกกล่าวขวัญ" มร.ตัน กล่าวอย่างมั่นใจ
จากสถิติกลางปี '39 พรูเด็นเชียลสิงคโปร์ครองส่วนแบ่งการตลาด 13.4% เป็นอันดับ
3 ในตลาดเบี้ยประกันรายปี (Regular Premium) โดยใช้เบี้ยรับประกันปีแรกเป็นเกณฑ์
รองจาก เอ.ไอ.เอ. ที่มีส่วนแบ่ง 36% และเกรท อิสเทิร์น ไลฟ์ บริษัทในเครือโอเวอร์ซี-ไชนีส
แบงก์กิ้ง บริษัทประกันแห่งแรกของสิงคโปร์ ซึ่งครองส่วนแบ่ง 31.1%
และเมื่อพิจารณาในส่วนตลาดเบี้ยประกันชำระครั้งเดียว (Single Premium) พรูเด็นเชียลสิงคโปร์อยู่เป็นอันดับ
2 ครองส่วนแบ่งตลาด 22.9% รองจาก เกรท อิสเทิร์น ไลฟ์ ที่เป็นอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด
28.9% ส่วน เอ.ไอ.เอ. ในตลาดนี้เป็นอันดับ 4 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 12% รองจากอันดับ
3 เอ็นทียูซีอินคัม ที่มีส่วนแบ่งตลาด 13.6%
ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนที่ทำให้พรูเด็นเชียลสิงคโปร์ ตีตื้นยักษ์ใหญ่ในวงการขึ้นมาได
้เป็นเพราะในปี '35 บริษัทได้ออกสินค้าตัวใหม่ที่ชื่อ Investment Link เป็นกรมธรรม์ประกันภัยชนิดพ่วงการลงทุนเข้าไปด้วย
ซึ่งได้รับการตอบรับจากชาวสิงคโปร์ค่อนข้างดี
เพราะนอกจากจะคุ้มคอรงชีวิตและทรัพย์สินแล้วแต่ลูกค้าจะเลือกแล้ว กรมธรรมดังกล่าวนี้ยังมีความยืดหยุ่นในเงื่อนไขของสัญญาค่อนข้างสูง
เนื่องจากลูกค้าสามารถเลือกเพิ่มลดหรือเปลี่ยนจำนวนเงินเอาประกันได้ รวมทั้งลูกค้ายังจะมีส่วนในการตัดสินใจในพอร์ตการลงทุนที่บริษัทบริหารให้อีกด้วย
ซึ่งกรมธรรม์ในลักษณะนี้เป็นกรมธรรม์ที่ออกได้โดยอาศัยกฎหมายพิเศษที่กำหนดขึ้นมา
เพื่อช่วยให้สัญญามีความยืดหยุ่นขึ้นกว่ากรมธรรม์แบบเดิม ๆ โดยเป็นการประสานงานระหว่างพรูเด็นเชียลสิงคโปร์กับกรมการประกันภัย
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาได้เป็นผลสำเร็จ และผลพลอยได้ก็คือ ขณะนี้กลุ่มพรูเด็นเชียลได้นางมีมี่ซิโฮ
และลิม เคียน ฮิน นักคณิตศาสตร์ประกันภัย มือดีจากกรมการประกันภัยเข้ามาร่วมพัฒนางานด้านนี้ต่อ
สำหรับมีมี่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปและนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในพรูเด็นเชียลสิงคโปร์
เพื่อดำเนินงานและดูแลในส่วนผลิตภัณฑ์ของบริษัท รวมทั้งการคิดค้นสินค้าใหม่ๆ
ออกมา
มีมี่เล่าถึงความสำคัญของหน่วยงานที่เธอรับผิดชอบ ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในปัจจุบันว่า
"ในช่วงปี '33-34 ตลาดประกันมีความคึกคัก บริษัทจึงออกสินค้า 5 ประเภท
มี 3 ประเภทที่เป็นสินค้าใหม่ ซึ่งคุ้มครองกรณีเป็นโรคร้ายแรงและทุพพลภาพถาวร
มาในปี '35 ถือเป็นปีที่สำคัญที่สุด เพราะบริษัทได้ออกสินค้าใหม่มา 2 ตัว
คือ Edu-Plus และ Investor-Plus ซึ่งเป็นการสร้างมิติใหม่ให้กับวงการประกันชีวิตในสิงคโปร์
และต่อจากนั้นเราก็ออก Investment Link ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี
และหลังจากนั้นเราก็เป็นผู้นำตลาดในเรื่องสินค้าใหม่ ๆ มาได้ตลอด"
ส่วน ลิม เคียน ฮิน ได้เข้ามาเป็นรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้กับพรูเด็นเชียล
ทีเอสไลฟ์ฯ ในประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับกรมการประกันภัยของไทย
ในเรื่องกฎเกรฑ์ของทางราชการ เพื่อที่จะนำสินค้าใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดบ้านเรา
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ สินค้าที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับ Investment Link
ที่ขายดิบขายดีในสิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ความสำเร็จของกลุ่มพรูเด็นเชียลที่สิงคโปร์
ส่วนหนึ่งมาจากแรงผลักดันของภาครัฐที่เห็นความสำคัญของการร่วมพัฒนาธุรกิจ
จึงได้ออกกฎหมายใหม่ที่เปิดโอกาสให้บริษัทประกันชีวิตเข้าไปร่วมลงทุน และบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐบาลที่มีเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งการออกกฎหมายพิเศษที่ให้ความยืดหยุ่นในตัวกรมธรรม์ ทำให้บริษัทมีความคล่องตัวในการบริหารงาน
กลับมาดูพรูเด็นเชียล ทีเอสไฟล์ฯ ในประเทศไทย หลังจากที่ผ่านมาได้เปิดกรมธรรม์ใหม่
7 ประเภทแล้ว ขณะนี้บริษัทมีแผนเพิ่มช่องทางการขายกรมธรรม์โดยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ
โดยในชั้นแรกอาจเป็นสถาบันการเงิน และธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ โดยให้ผลประโยชน์บริษัทเหล่านั้นในลักษณะจ่ายเปอร์เซ็นต์การขายประกัน
นอกจากนี้ ทิศทางที่พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ฯ จะดำเนินต่อไป น่าจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับพรูเด็นเชียลในสิงคโปร์
คือ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาดึงดูดความสนใจจากตลาดโดยเฉพาะตัว Investment
Link ที่คาดว่า บริษัทจะต้องพยายามผลักดันให้เกิดมีขึ้นในประเทศไทยให้ได้
เพื่อความหวังที่จะเด่นดังและเติบโตอย่างพรูเด็นเชียลในสิงคโปร์ ดังคำที่คริสโตเฟอร์ได้กล่าวไว้ข้างต้น