|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"พาณิชย์" เลื่อนผลสอบนอมินีชินคอร์ปออกไปอีก 2 สัปดาห์ เหตุต้องรอบคอบ เพราะตัดสินออกมาแล้วจะใช้เป็นหลักเกณฑ์ต่อกรณีนอมินีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นางสาวอรจิต สิงคาลวนิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสรุปผลการตรวจสอบกรณีคนต่างด้าวว่าจ้างคนไทยให้ถือหุ้นแทน (นอมินี) ในบริษัทกุหลาบแก้ว และซีดาร์โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ชินคอร์ป ว่า ขณะนี้ใกล้จะได้ข้อสรุปทั้งหมดแล้ว และคาดว่าไม่เกินสัปดาห์ ที่ 2 ของเดือนส.ค.นี้ จะสามารถเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดได้ ซึ่งล่าสุดอยู่ในขั้นตอนการตรวจข้อมูลและจัดทำรายละเอียดของฝ่ายกฎหมายกรมฯ และต้องนำเสนอให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์รับทราบก่อน
"ไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางกรมฯ ก็เร่งตลอดเพื่อให้ได้รับทราบผล และเข้าใจว่าทุกฝ่ายก็ต้องการรับทราบผล แต่เป็นเรื่องที่ต้องรอบคอบ เพราะหากกรณีทำเสร็จจะใช้เป็นหลักเกณฑ์ของการพิจารณานอมินีของกรณีอื่นๆ อีก หากมีการร้องเรียนมา แต่ตอนนี้ยังไม่มีใครร้องเรียนเพิ่มเติม" น.ส.อรจิตกล่าว
ทั้งนี้ การตรวจสอบในกรณีดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ก.พ.2549 และจากการพิจารณามาต่อเนื่อง ทั้งการขอข้อมูลจากสถาบันการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และจากการเชิญผู้บริหารของบริษัทที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง และกำหนดว่าจะสรุปผลทั้งหมดภายในสิ้นเดือนก.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหานอมินี ล่าสุดกรมฯ ได้กำหนดเกณฑ์ในการป้องกันไว้ 2 แนวทาง คือ การตรวจสอบก่อนการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด โดยจะมีการตรวจสอบที่มาของเงินลงทุนของคนไทยในกิจการที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจจะมีการถือหุ้นหรือลงทุนแทนคนต่างด้าว เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย และการตรวจสอบหลังจากที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดแล้ว โดยจะเข้าไปตรวจสอบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายหรือไม่เพียงใด เช่น ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้างหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการบัญชี เป็นต้น
นางสาวอรจิต กล่าวอีกว่า กรมฯ ยังได้ร่วมมือกับกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และกระทรวงแรงงาน ในการจัดทำโครงการลดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนธุรกิจ และสามารถใช้ฐานข้อมูลเดียวกันของเลขรหัส 13 หลัก ของผู้ประกอบการที่จะได้รับเมื่อมีการขึ้นทะเบียน ซึ่งเดิมแม้จะเป็นเลขรหัส 13 หลักเหมือนกัน แต่หมายเลขแตกต่างกัน ซึ่งรหัส 13 หลัก ในส่วนของกรมพัฒนาธุรกิจจะเป็นเลขทะเบียนการค้า กระทรวงการคลังใช้ในเรื่องการเสียภาษี ส่วนกระทรวงแรงงานใช้ในเรื่องสวัสดิการแรงงาน แต่จากนี้ไปจะใช้เลข 13 หลัก ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกัน
"เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการระบบราชการร่วมกัน ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน เวลา และค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบได้อีก 50% จากเดิมทุกขั้นตอนต้องใช้เวลารวมกันกว่า 30 วัน ให้เหลือ 15 วัน ต่อไปผู้ประกอบการยื่นเรื่องเพียงที่เดียวก็จะได้ครบทุกขั้นตอน โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อหลายที่ ทั้งนี้กำหนดว่าจะจัดทำแผนนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และเริ่มโครงการได้ในเดือนส.ค.2549 นี้" นางสาวอรจิตกล่าว
|
|
|
|
|