Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์31 กรกฎาคม 2549
"ยุ่น-ลอดช่อง"ดัชนีเชื่อมั่นทะยานลิ่ว"ไทย-กิมจิ"มุมมองเศรษฐกิจ"ดิ่งเหว"             
 


   
search resources

Economics




"มาสเตอร์อินเด็กซ์" ในกลุ่ม "มาสเตอร์การ์ดเวิล์ดไวด์" สุ่มความเห็นผู้บริโภคแถบเอเชียแปซิฟิค 13 ประเทศ พบทัศนคติ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจมีทั้งบวกและลบ "ญี่ปุ่น-สิงคโปร์" รวมถึงเกาะฮ่องกง ดัชนีไต่ระดับอย่างน่าเหลือเชื่อ ขณะที่ "ไทย-เกาหลี" รวมถึงเกาะไต้หวัน ผู้คนกลับมองสวนทาง ทัศนคติต่อภาพรวมเศรษฐกิจเกือบจะเรียกว่า "ดิ่งนรก" แต่ก็ยังไม่ข้ามเขตแดน "วิกฤต"...

ผลสำรวจชิ้นนี้ของ มาสเตอร์อินเด็กซ์ เริ่มจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 15 พ.ค.-1 มิ.ย. 2549 ใน 13 ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิค รวมเวลากว่า 13 ปี โดยทำการสำรวจทุกกครึ่งปี เพื่อวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจจากความคิดเห็นของประชาชนเจ้าของประเทศในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยปีนี้พบว่าหลายประเทศมีทั้งทัศนคติด้านบวกและลบ

ดัชนีได้นำเอาตัวแปรที่ส่งผลกับภาวะเศรษฐกิจมาเป็นองค์ประกอบ อาทิ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ความไม่สงบของดินแดนตะวันออกกลาง ค่าเงิน โรคไข้หวัดนก และปัญหาการเมืองภายใน

นอกจากนั้น ยังมีการนำ 5 มิติหลักมารวมไว้ด้วย เช่น การจ้างงาน เศรษฐกิจ รายได้ประจำ ตลาดหุ้นและ คุณภาพชีวิต เพื่อประเมินผลจากคะแนน จากระดับปกติคือ 50 คะแนน มั่นใจ 100 คะแนน และ 0 คะแนนไม่มั่นใจ

หากแยกเป็นแต่ละประเทศ ญี่ปุ่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ ถือเป็นกลุ่มประเทศที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทะยานสูงสุด ญี่ปุ่นวิ่งมาที่ 68.9 เพิ่มจาก 63.0 คะแนน และเป็นครั้งที่มีผลออกมาเป็นบวก


ฝั่งของเกาะฮ่องกง กลายเป็นประเทศน่าจับตามอง เพราะแต้มสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 88.5 และยังจะสูงกว่านี้ ถ้าตัดเรื่องความกังวลเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากตลาดหุ้นทั่วโลกออกไป และความเชื่อมั่นปีนี้ยังสูงเป็นประวัติการณ์นับจากสำรวจครั้งแรกในเดือนต.ค. 2536

ในดินแดนพญามังกร ความเชื่อมั่นลดลง จากเหตุผลสำคัญคือ ภาวะตลาดหุ้น และการจ้างงานที่ลดฮวบลง เห็นเด่นชัดคือ ในเซี่ยงไฮ้ ที่หล่นวูบจาก 37.5 มาเป็น 79.3 แต่คะแนนก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี(ดูตารางประกอบ)

เกาะมหัศจรรย์อย่างสิงคโปร์ ความเชื่อมั่นยังอยู่ในเกณฑ์ดีมาตลอดตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีผลกระทบจากการแกว่งตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ฉุดให้คะแนนเลื่อนลงเล็กน้อย แต่เทียบกับประเทศอื่น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งเศรษฐกิจ การจ้างงาน คุณภาพชีวิตและรายได้ประจำ

"ไทย" เป็นประเทศเดียวที่เข้าข่าย ดัชนีทรุดในลักษณะ "ดิ่งเหว"เป็นประวัติการณ์ เพราะผู้บริโภคขาดความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ คะแนนจึงร่วงลงมาที่ 28.06 จาก 47.9 และ60.4 ของปีก่อน (ดูตาราง) ต่ำกว่าช่วงวิกฤติการเงิน 2540-2541 ด้วยซ้ำ โดยครั้งนี้เป็นคะแนนต่ำสุดเป็นอันดับ 4 ในรอบสำรวจ 22 ครั้ง และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผลสำรวจที่ 57.4 อีกด้วย

ขณะที่ฝั่งออสเตรเลีย ผู้คนมีความเห็นในแง่ลบทุกด้าน ทั้งการจ้างงาน คุณภาพชีวิต ยกเว้นรายได้ประจำที่มีทัศนคติด้านบวก คะแนนจึงต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของตลาด

อินโดนีเซียความเชื่อมั่นเพิ่มเล็กน้อย ในมิติการจ้างงาน สภาพเศรษฐกิจ รายได้ประจำ และคุณภาพชีวิต แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

ในเกาหลี ถือเป็นประเทศหนึ่งที่ผู้บริโภคมีทัศนคติด้านลบในทุกด้าน เหมือนกับไต้หวัน ทำให้ความมั่นใจหล่นวูบ ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของสถิติเฉลี่ยที่ 53.1 อีกด้วย

มาเลเซีย ผู้บริโภคมั่นใจเล็กน้อย ความมั่นใจจึงร่วงลงมาจาก 6 เดือนก่อน และยังที่สุดตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2544 และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 75.1 ส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันสูงขึ้น และการประกาศขึ้นค่าไฟที่ลดทอนความมั่นใจ

ในนิวซีแลนด์ดัชนีเพิ่มจาก 6 เดือนก่อน แต่ตัวเลขยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตามทัศนคติต่อรายได้ประจำยังเป็นในแง่บวกที่ 85.8 แต่ด้านเศรษฐกิจและตลาดหุ้นกลับรูดมาที่ 25.2 และ 28.7 ตามลำดับ นอกจากนั้นการจ้างงานและคุณภาพชีวิตก็เป็นไปในแดนลบเช่นกัน

ฟิลิปปินส์ อาจจะต่างจากประเทศอื่นตรงที่ มีรายได้จากแรงงานในต่างประเทศส่งเข้าประเทศเป็นเงินดอลลาร์ และกลุ่มนี้ก็เป็นคนระดับฐานราก นอกจากนั้นการเมืองก็ค่อนข้างนิ่งขึ้น ผู้บริโภคจึงค่อนข้างข้างมั่นใจ ส่วนใหญ่มีทัศนคติบวกในทุกด้าน

ในรายของจีนไต้หวัน โดยรวมทัศนคติยังเป็นไปในด้านลบ แต่คะแนนจากตลาดหุ้นกลับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีก็ต่ำกว่าปีที่แล้ว และติดอันดับ 5 ที่ต่ำสุดในรอบสำรวจ 27 ครั้ง โดยลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ย

ท้ายสุดเวียดนามวัดผลรวมได้ 89.6 อธิบายว่าผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในทุกด้าน แม้ตัวเลขอยู่เกณฑ์ดี แต่ช่วง 6 เดือนความมั่นใจก็ลดลงเหมือนที่อื่นๆ....

มาสเตอร์อินเด็กซ์-ดัชนีวัดความเชื่อมั่นผู้บริโภค
- ออสเตรเลีย ไตรมาส 4 ปี 2548 49.8 ไตรมาส 2 ปี2549 46.5
- นิวซีแลนด์ ไตรมาส 4 ปี 2548 42.5 ไตรมาส 2 ปี2549 45.2
- ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 2548 63 ไตรมาส 2 ปี2549 68.9
- เกาหลี ไตรมาส 4 ปี 2548 47.5 ไตรมาส 2 ปี2549 28.1
- จีน ไตรมาส 4 ปี 2548 82.3ไตรมาส 2 ปี2549 78.2
- ฮ่องกง ไตรมาส 4 ปี 2548 85.8 ไตรมาส 2 ปี2549 88.5
- ใต้หวัน ไตรมาส 4 ปี 2548 26.6 ไตรมาส 2 ปี2549 29.1
- ไทย ไตรมาส 4 ปี 2548 47.9 ไตรมาส 2 ปี2549 28.6
- มาเลเซีย ไตรมาส 4 ปี 2548 68.7 ไตรมาส 2 ปี2549 51.4
- สิงคโปร์ ไตรมาส 4 ปี 2548 74.8 ไตรมาส 2 ปี2549 73.9
- อินโดนีเซีย ไตรมาส 4 ปี 2548 39 ไตรมาส 2 ปี2549 42.4
- ฟิลิปปินส์ ไตรมาส 4 ปี 2548 28.9 ไตรมาส 2 ปี2549 51.9   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us