Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 กรกฎาคม 2549
“กสท”เจรจา“ฮัทช์”ร่วมปีไม่มีข้อยุติ เหตุแบกหนี้4หมื่นล.จากบริการ25จว.             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย, บจก.
CDMA




กสท เผยเหตุเจรจาฮัทช์ยื้อร่วมปี เกิดจากฝ่ายร่วมทุนอ้างแบกรับหนี้จำนวน 40,000 ล้านบาท จากการทำตลาด ซีดีเอ็มเอ 25 จังหวัด ใช้เป็นเกมขอต่อรองลดหนี้ ก่อนฝ่ายบริหารเร่งแผนเจรจาฮัทช์แล้วเสร็จก่อนเปิดนำร่องซีดีเอ็มเอบางพื้นที่ ตุลาคมนี้ หวังใช้บริการบนแบรนด์เดียวต่อเนื่อง

แหล่งข่าวจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ปัญหาการเจรจาระหว่าง กสท กับ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ที่ใช้เวลานานเกือบครบปี จนไม่สามารถหาข้อสรุปที่ลงตัวบนผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันได้ เนื่องจากฮัทช์ไม่อยากแบกรับหนี้จำนวน 40,000 ล้านบาท จากการทำตลาด ซีดีเอ็มเอ 25 จังหวัด กรุงเทพฯ ไว้เองทั้งหมด จึงนำมาเป็นข้อต่อรองในการเจรจาเพื่อทำการตลาดซีดีเอ็มเอร่วมกับ กสท. ทั่วประเทศ

กสท. จะดำเนินการเจรจากับฮัทชิสัน ให้แล้วเสร็จก่อนเดือนตุลาคมนี้ เพราะมีแผนเริ่มนำร่องเปิดบริการระบบซีดีเอ็มเอ ในบางพื้นที่ ก่อนเริ่มเปิดบริการเต็มรูปแบบในต้นปี 2550 หรือหลังทำการส่งมอบโครงข่าย จาก บริษัท หัวเหว่ย เพื่อให้ประชาชนได้จดจำและไม่เกิดข้อสับสนต่อบริการซีดีเอ็มเอ ทั้งในส่วน 25 จังหวัด และ 51 จังหวัด ด้วยการเปิดให้บริการ 2 ชื่อ (แบรนด์) โดยทั้งสองบริการอยู่ภายใต้การดูแล ของ กสท หากเทียบกับการให้บริการอยู่ภายใต้แบรนด์เดียวกันทั่วประเทศ

หากไม่สามาถเจรจาได้ตามกำหนดดังกล่าว กสท ก็จะเดินหน้าให้บริการซีดีเอ็มเอ นำร่องในเดือนตุลาคมนี้ จะใช้แบรนด์ของกสท เอง ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการพิจารณาไว้แล้วล่วงหน้า อาทิ แคท ซีดีเอ็มเอ, แคท ซูเปอร์ ซีดีเอ็มเอ เพราะหากยังรอจะทำให้ยืดเยื้อนานเกินไป อาจจะส่งผลต่อการลงทุนและรายได้ในการเข้ามาเสริมทดแทนธุรกิจโทรระหว่างประเทศ โดย กสท มีเป้าหมายให้บริการซีดีเอ็มเอ สร้างรายได้อยู่ในสัดส่วน 40% ของรายได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม การหาข้อสรุปที่ได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือทางออกที่ดี ต่อการหาข้อสรุปที่ให้เกิดสามารถลงตัวได้ จะเป็นผลจากอุปสรรคในแง่ของความเป็นรัฐวิสาหกิจ และข้อสัญญาร่วมการงานที่ กสท จะต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐไว้ให้ได้มากที่สุด ถึงแม้ฮัทช์จะหาทางออกในด้านนำเงินไปชำระหนี้ไปบ้างบางส่วน และนำหนี้ที่เหลือมาไว้กับบริษัทใหม่ที่ถือหุ้นร่วมกันแล้วช่วยกันชำระก็สามารถทำได้ แต่ กสท อาจจะติดปัญหาว่าทำให้บริษัทเสียหาย ที่ไปแบกหนี้ช่วยฮัทชิสัน เพราะในสัญญาร่วมกันระบุว่าหนี้ที่เกิดจากการทำการตลาดนั้น กสท ไม่ต้องรับผิดชอบจึงส่งผลให้การเจรจาออกมายืดเยื้อและเกิดความล่าช้าล่าช้า

"หาก กสท ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจการเจรจาทำการตลาดซีดีเอ็มเอทั่วประเทศกับฮัทชิสันนั้นคงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการตกลงให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายนั้น จะต้องอยู่บนพื้นฐาน ตามข้อตกลงทางกฎหมาย การรักษาประโยชน์ของรัฐ การรักษาประโยชน์ของประชาชน ที่นำเอาเงินภาษีมาลงทุนและเปิดให้บริการเป็นทางเลือก"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในข้อสัญญาทางฝ่ายฮัทชิสันได้ทราบดี ในแง่ของการเป็นผู้ร่วมการงาน และการลงทุน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การให้บริการในพื้นที่ 51 จังหวัด ทาง กสท ก็ได้เตรียมแนวทางให้ฮัทช์เข้ามาเป็นผู้ทำการตลาด เหมือนในส่วน 25 จังหวัด โดยได้มีการปรับรูปแบบให้ฮัทช์เกิดความคล่องตัวขึ้น และได้รับสิทธิประโยชน์ต่อการให้บริการร่วมกัน ซึ่งฮัทช์ไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นข้อต่อรอง

สำหรับการทำเจรจากับฮัทชิสัน มีหลายข้อเสนอหรือการหาทางออกเพื่อให้สามารถหาข้อตกลงกันได้ เช่น การนำทรัพย์สินของทั้ง 2 บริษัท มาตีมูลค่า ซึ่งจะต้องเป็นคนที่เป็นกลาง แล้วนำมูลค่าดังกล่าวมาตีเป็นมูลค่าหุ้น เพื่อแบ่งเป็นสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละฝ่าย และแบ่งผลประโยชน์กันตามสัดส่วนหุ้น และเมื่อมีการลงทุนก็ต้องลงทุนตามสัดส่วนหุ้น หากฝ่ายใดไม่ลงทุนก็จะถูกลดสัดส่วนหุ้นลงตามปกติ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us