Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์31 กรกฎาคม 2549
“โมโตชอป” ประสบการณ์มือถือกลยุทธ์ “รู้ใจ” ผู้บริโภคไทยไดเรกต์             
 


   
www resources

โฮมเพจ โมโตโรล่า (ประเทศไทย)

   
search resources

Mobile Phone
โมโตโรล่า (ประเทศไทย), บจก.




“โมโตโรล่า” ตอกย้ำความสำเร็จขึ้นแท่นเบอร์สองตลาดมือถือไทย เปิดตัว “โมโตชอป” แห่งที่ 4 ในโลก ดันกลยุทธ์ประสบการณ์มือถือ หวังเก็บข้อมูลผู้บริโภคโดยตรง เชื่อภาวะเศรษฐกิจมีผลไม่มากอานิสงส์โปรโมชั่นโอเปอเรเตอร์แรงกระตุ้นตลาดบริโภคมือถือไม่ตก

นักการตลาดได้มีการประเมินขนาดตลาดเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยในปี 2549 น่าจะอยู่ถึง 8 ล้านเครื่องต้นๆ เติบโตขึ้นมาจากปีที่ผ่านมาที่มีประมาณ 7 ล้านเครื่องเกือบๆ 8 ล้านเครื่อง จึงเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ทางค่ายผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างหมายมั่นปั้นมือที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งตลาด โดยมีการนำกลยุทธ์ทุกรูปแบบเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้กันอย่างเต็มที่

“โนเกีย” เป็นผู้นำตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทยมานานหลายปี ส่วนผู้นำอันดับสองยังไม่มีใครสามารถครอบครองพื้นที่ในส่วนนี้ได้อย่างแท้จริง มีการสลับเปลี่ยนไปมาตามความแรงการตลาดที่ใส่เข้ามาสู่ตลาด ล่าสุด “โม.โตโรล่า” ได้ออกมาประกาศตัวเองว่า วันนี้ โมโตโรล่าสามารถครองส่วนแบ่งตลาดอันดับสองได้แล้ว แต่จะมีส่วนแบ่งตลาดเท่าไรนั้น ทางโมโตโรล่าขอเก็บเป็นปริศนาเอาไว้

เมื่อดูถึงส่วนแบ่งตลาดในระดับโลก วันนี้ โนเกียมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 32% ขณะที่โมโตโรล่า 21.7% ซึ่งในประเทศไทย ตัวเลขของโนเกียมีการประเมินว่า น่าจะสูงถึง 40-50% ขณะที่เบอร์สองในตลาดนั้นทางผู้บริหารของโมโตโรล่าที่ดูแลในส่วนนี้ จงรักษ์ สกุลภักดี ผู้จัดการประจำประเทศไทย (กลุ่มอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่) บริษัท โมโตโรล่า (ประเทศไทย) จำกัดบอกว่า มีตัวเลขสูงกว่าตัวเลขในระดับโลก

การก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์สองในตลาดของโมโตโรล่าในครั้งนี้ หลังจากที่โมโตโรล่าเคยครองความเป็นผู้นำในตลาดเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยยังเป็นแบบอนาล็อกอยู่ อันเป็นผลมาจากที่ทางโมโตโรล่าได้ทุ่มเทกิจกรรมการตลาด ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างแบรนด์อย่างหนักหน่วงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

เพื่อเป็นการตอกย้ำความสำเร็จในตลาดของโมโตโรล่าในตลาดเมืองไทย ทางโมโตโรล่าได้นำกลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์เข้ามาใช้ในประเทศไทยอย่างจริงจัง ด้วยการเปิดตัว “โมโตชอป” ร้านต้นแบบที่เป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโมโตโรล่าแต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นชอปแห่งที่สี่ในโลกที่โมโตโรล่าเริ่มทยอยเปิดตามส่วนต่างๆ ของโลก ประเทศที่เปิดตัวไปแล้วมีที่สหรัฐอเมริกา รัสเชียและจีน และเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“โมโตชอปเป็นความตั้งใจตั้งแต่ต้นปีที่จะให้ผู้บริโภคคนไทยได้มีโอกาสสัมผัสกับประสบการณ์จริงกับโทรศัพท์มือถือ “ จงรักษ์ สกุลภักดี ผู้บริหารโมโตโรล่าท้าวความถึงความตั้งใจที่จะเปิดโมโตชอปในประเทศไทยให้ฟัง

จงรักษ์ยังบอกอีกว่า โมโตโรล่าได้มีการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคมากว่า 2 ปีแล้วจึงได้คอนเซ็ปต์โมโตชอปออกมา ซึ่งจะเป็นคอนเซ็ปต์ที่ใช้เหมือนกันทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ประเทศนั้นก็จะได้รับประสบการณ์ที่เหมือนกัน

“โมโตช็อป” เป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ และบริการโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่าเต็มรูปแบบที่ได้รับการออกแบบในรูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวเทรนดี้ เน้นลูกเล่นแบบอินเตอร์แอกทีฟสุดทันสมัยเริ่มตั้งแต่พื้นทางเข้าที่มีภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนตามการสัมผัสหรืออินเตอร์แอกทีฟ ฟลอร์ กระจกพูดได้ที่ทักทายผู้คนที่ผ่านไปมารวมถึงการสัมผัสประสบการณ์โมโตโรล่าที่ลูกค้าจะได้รับอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์ทุกรูปแบบของโมโตโรล่า ทั้งโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ ที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน และที่กำลังจะเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับโทรศัพท์มือถือ

ภายในโมโตชอปจะมีการสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์โมโตโรล่า และอุปกรณ์เสริมต่างๆ แบบครบวงจร ภายใต้คอนเซ็ปต์การสื่อสารไร้รอยต่อหรือซีมเลส โมบิลิตี้ เป็นวิสัยทัศน์หลักของโมโตโรล่าที่จะช่วยเติมเต็มประสบการณ์ความสนุกในโลกของการสื่อสารแบบไร้สายในปัจจุบัน อาทิ การสั่งพรินต์รูปภาพจากเครื่องพรินต์เตอร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อหูฟังสเตริโอบูลทูธ ลำโพงไร้สายเข้ากับโทรศัพท์มือถือ เครื่องเสียง โดยมีพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์โมโตโรล่าอย่างลึกซึ้ง และเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภค คอยให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ชัดเจน และวางใจได้ รวมถึงบริการตรวจเช็คสภาพเครื่องโทรศัพท์มือถือ และอัพเกรดซอฟท์แวร์ใหม่ล่าสุดฟรี โดยช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญของโมโตโรล่าโดยเฉพาะ

“โมโตชอปถูกออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์โมโตโรล่าอย่างเต็มรูปแบบ ให้ลูกค้าได้มีโอกาสเห็น สัมผัส และทดลองใช้ผลิตภัณฑ์โมโตโรล่าด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด รวมถึงการให้บริการแบบวันสต็อบเซอร์วิสจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคชาวไทย และจะทำให้แบรนด์โมโตโรล่าใกล้ชิด และขึ้นเป็นแบรนด์ในใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น”

จงรักษ์ยังบอกอีกว่า ผู้บริโภคยุคนี้มีความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน การมีโอกาสได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้องชัดเจน และการได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้านั้น จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และทำให้การตัดสินใจซื้อสินค้าทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเรามั่นใจว่าการเน้นกลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์ของโมโตโรล่า โดยเฉพาะการเปิดตัวโมโตชอปจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี และยังจะช่วยให้เราได้ใกล้ชิด ได้รับทราบข้อมูล และความต้องการได้โดยตรง

เมื่อถามถึงแนวทางการขยายโมโตชอปในปีนี้ จงรักษ์บอกว่า จำนวนเท่าไรไม่ขอบอกในตอนนี้ ส่วนรูปแบบจะเหมือนกับชอปที่เปิด ณ ชั้น 3 ศูนย์สรรพสินค้า “พารากอน” หรือไม่นั้น ทางผู้บริหารตอบว่า คงจะต้องดูความเหมาะสมว่า จะเป็นในรูปของชอปหรือศูนย์บริการ แต่ที่แน่ๆ ประเทศไทยมีกี่ภาค เอาง่ายๆ ว่า โมโตโรล่าจะมีทุกภาคก็แล้วกัน

จงรักษ์ได้กล่าวถึงแผนการตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์ให้ฟังว่า ในช่วงครึ่งปีหลังโมโตโรล่าจะมีโทรศัพท์รุ่นใหม่ออกทำตลาดประมาณ 6 รุ่น ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบกับตลาดโทรศัพท์มือถือบ้างโดยทำให้การเปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่ช้าลง แต่การที่โอเปอเรเตอร์แข่งขันกันออกโปรโมชั่นและการขยายเน็ตเวิร์กออกต่างจังหวัด ก็เป็นแรงกระตุ้นและส่งผลดีให้ซัปพลายเออร์ในการขายเครื่องได้ดีขึ้น

“แม้เศรษฐกิจของไทยจะชะลอตัวด้วยปัจจัยหลายอย่าง แต่คาดว่ายอดขายเครื่องโทรศัพท์มือถือจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือแข่งขันกันทำโปรโมชั่น จึงมีส่วนช่วยกระตุ้นการจำหน่ายตัวเครื่องด้วย แต่เศรษฐกิจเช่นนี้อาจจะมีผลให้โทรศัพท์มือถือราคาต่ำมียอดขายดี รองลงมาคือมือถือประเภทแฟชั่น”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us