Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
โชค ณ ระนอง ปีหน้าจับตามองเอเม็กซ์ให้ดี             
 


   
search resources

อเมริกัน เอ็กซ์เพรส - AMEX
โชค ณ ระนอง
Credit Card




ระยะ 2-3 ปีหลังมานี้ การแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตค่อนข้างเข้มข้นดุเดือดกันมากขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นที่ต่างประเทศหรือที่เมืองไทยเอง โดยเฉพาะการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการเข้มงวดกับสินเชื่อบัตรเครดิต โดยกำหนดเงื่อนไขใหม่ว่าผู้ถือบัตรจะต้องมีรายได้ขั้นต่ำปีละไม่น้อยกว่า 2.4 แสนบาท หรืออย่างน้อยเดือนละ 20,000 บาทนั่นเอง ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี 2539 นี้เพื่อเป็นการควบคุมการใช้จ่ายในประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อด้วยนั้น ทำให้ธุรกิจรายย่อยของธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศต่างได้รับผลกระทบจากนโยบายยังกล่าว

แต่ในส่วนของบัตรเครดิตอเมริกันเอ็กซ์เพรสนั้น ถือว่าไม่กระทบกระเทือนจากมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด ในเรื่องนี้ โชค ณ ระนอง ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัทอเมริกันเอ็กซ์เพรส (ไทย) จำกัด ชี้แจงให้ฟังว่า ทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าบีบวกขึ้นไปอยู่แล้ว คือ ต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาทขึ้นไป

"บางที่เราก็มีจุดลดหย่อนนะ คือ ไปดูองค์ประกอบอื่น ๆ แทน เช่น หากเงินเดือนประมาณ 25,000 - 28,000 บาท แต่มีอาชีพการงานมั่นคง เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก แบบนี้เราก็อนุโลมให้ เพราะการงานมั่นคง ไม่มีการย้ายงานบ่อยเหมือนเอกชนในสาขาอื่น"

โชค เล่าว่า สาเหตุที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้สูงขนาดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายของบริษัทแม่ แต่อีกสาเหตุหนึ่ง คือ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้เสียให้เกิดน้อยที่สุด บริษัทไม่มีนโยบายที่จะขยายตลาดแบบรวดเร็ว แต่มีปัญหาหนี้เสียตามมาด้วยมากมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องมาแก้ในภายหลัง สู้ให้ขยายตัวไปตามควรแต่ไม่มีปัญหาหนี้เสียจะดีกว่า เพื่อจะเอาเวลาในการติดตามหนี้มาพัฒนาองค์กรในด้านอื่น ๆ

ผู้จัดการฝ่ายการตลาด อธิบายต่อไปว่า ปัจจุบันนี้อเมริกันเอ็กซ์เพรสมียอดสมาชิกทั้งหมด 100,000 ราย มีหนี้เสียประมาณ 1% เท่านั้น และคุมไว้ไม่ให้อัตราหนี้เสียโตกว่านี้

สำหรับในปีหน้าคาดว่า อัตราการเติบโตของสมาชิกบัตรตั้งเป้าไว้ประมาณ 20-30% และถ้าเป็นไปได้ภายในปี 2540 นี้จะดันยอดสมาชิกให้เพิ่มถึง 150,000 รายให้ได้ สำหรับวิธีการขยายอัตราการเติบโตให้สูงถึงเพียงนี้ โชคยืนยันว่าจะไม่ใช่การลดรายได้ต่อเดือนให้ต่ำกว่า 30,000 บาทแน่ แต่จะใช้วิธีการส่งเสริมการตลาดอย่างอื่น ๆ เช่น การสะสมคะแนนการใช้ หรืออื่น ๆ

"ไม่แน่นะปีหน้าอาจจะเพิ่มก็ได้ว่า ผู้ถือบัตรเราเงินเดือนขั้นต่ำจะต้องสูงกว่า 32,000 บาทก็ได้ เป็นเพียงการพูดคุยกันแต่ยังไม่มีข้อสรุปนะ แค่แนวคิดเฉย ๆ แต่ปีหน้าจับตาเอเม็กซ์ไว้ให้ดี เราอาจจะมีอะไรดี ๆ ออกมา" โชคกล่าวทิ้งท้าย แต่ไม่ยอมขยายความ

"เรากลัวเรื่องหนี้เสียมาก เราจะมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูคุณสมบัติอย่างละเอียดที่สุด การที่คนทำงานจะมีเงินเดือนประมาณ 30,000 บาทได้อย่างน้อยต้องทำงานมาระยะหนึ่ง คือ 2-3 ปีถือว่าเป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบและมีวินัยในการใช้ชีวิตที่น่าพอใจ สังเกตได้ว่าผู้ถือบัตรเอเม็กซ์จะเป็นวัยทำงาน อายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป"

นั่นเป็นคำกล่าวของพงษ์ทิพย์ เทศะภู ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และยังเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบัตรเครดิตของชมรมธุรกิจบัตรเครดิตด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง

พงษ์ทิพย์ บอกว่า มาตรการควบคุมคุณสมบัติของผู้ทำบัตรเครดิตของแบงก์ชาต ิจะทำให้ฐานลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ไทยใกล้เคียงกับฐานลูกค้าของอเมริกันเอ็กซ์เพรส แต่เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะบริษัทมั่นใจในเรื่องจุดแข็ง เรื่องบริการที่ดี และมีการโปรโมชั่นที่สม่ำเสมอ

"ยิ่งการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการก็ทำงานลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่มีโปรโมชั่นเยอะ ๆ นี่แทบจะไม่คุ้มทุนกันเลย แต่ไม่ว่าจะไม่คุ้มทุนกันเลย แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ทางบริษัทก็ต้องบริการลูกค้าให้ดีที่สุด"

ทางด้านของธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรับผิดชอบในมาตรการนี้ชี้แจงให้ฟังว่า หลังจากที่บังคับใช้มาประมาณ 3-4 เดือนนั้น ผลของมาตรการดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าพอใจ

"จากมาตรการดังกล่าวที่ใช้มาตั้งแต่ต้นปีมานี้ ได้ส่งผลต่อปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมของบัตรเครดิตในไตรมาสแรกของปี 2539 นั้นมีจำนวนเพิ่มจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาเพียง 23% เท่านั้น หรือคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 830 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใช้ได้ไม่มากเกินไป"

โดยรายละเอียดนั้นเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการใช้จ่ายภายในประเทศของชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยว และใช้จ่ายในประเทศไทยเป็นจำนวน 9.42 พันล้านบาท ขณะที่ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2538 มียอดใช้จ่ายเพียง 7.60 พันล้านบาท

ส่วนการใช้บัตรเครดิตภายนอกประเทศในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน โดยมีปริมาณการใช้บัตรเครดิตจำนวน 2.82 พันล้านบาท และ 3.29 พันล้านบาทตามลำดับ

ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน กล่าวว่า อัตราการลดลงจากปริมาณการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรในประเทศหรือแม้แต่อัตราการเพิ่มของบัตรเครดิตที่ชะลอตัวลง ก็ไม่ได้ทำให้รายได้ของธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรต้องลงตามไปด้วย ธนาคารผู้ออกบัตรยังคงมีอัตราการเติบโตของรายได้ใกล้เคียงกันก่อนที่จะนำมาตรการมาใช้ ซึ่งเชื่อว่ายอดใช้จ่ายและจำนวนบัตรจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us