|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บล.ภัทรโชว์กำไรครึ่งปีแรกมากกว่าทั้งกำไรทั้งปีของปี 2548 เหตุได้ 2 หุ้นใหญ่ "เบียร์ช้าง-โรงกลั่นน้ำมันระยอง" เข้ามาช่วยหนุน เผยขณะนี้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั่วไปให้กับบริษัทบางกอกแอร์เวย์
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด หรือ PHATRA เปิดเผยว่า ผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิ 430.76 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปี 2548 ทั้งปี ซึ่งมีกำไรสุทธิ 417.86 ล้านบาท สาเหตุที่ผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปีนี้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำในการจัดจำหน่ายหุ้นขนาดใหญ่ของบริษัทคือบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือเบียร์ช้าง ซึ่งเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และหุ้นบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) หรือ RRC
สำหรับในครึ่งปีหลังนั้น โอกาสที่จะนำบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คงจะมีน้อย เพราะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ที่ บล.ภัทรเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เช่นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
ทั้งนี้บล.ภัทรยังเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับบริษัทบางกอกแอร์เวย์ จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั่วไป ยังไม่ถึงขั้นที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำหรับกรณีที่มีกระแสข่าวว่าบล.ภัทรได้ร่วมกับบริษัทฮอทพอท สนใจจะเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป นั้น นายสุวิทย์กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ซึ่งดูแลในเรื่องของการลงทุนดำเนินการอยู่ ซึ่งยังไม่ได้แจ้งมายังตน ซึ่งบริษัทได้จัดพอร์ตการลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการหาบริษัทที่น่าสนใจเข้าไปลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ถึงการใช้เงินเพิ่มทุนว่า บริษัทใช้เงินในการขยายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของฝ่ายลงทุน (Direct Investment Department) จำนวน 100 ล้านบาท ใช้ในการลงทุนและการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จำนวน 200 ล้านบาท ทำให้ยังคงเหลือเงินประมาณ 700 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนในการพัฒนาซอฟแวร์เพื่อให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่บริษัทแจ้งในหนังสือชี้ชวนว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10 ล้านบาทนั้น บริษัทได้แจ้งไว้ในปี 2548 ว่า บริษัทใช้ไป 8 ล้านบาท เงินทุนส่วนที่เหลือจะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
|
|
 |
|
|