Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์31 กรกฎาคม 2549
แฉเส้นทางผลประโยชน์”สุวรรณภูมิฯ”เปิดช่องแก้กฎหมายเอื้อนายทุน             
 


   
search resources

Real Estate




เปิดโปงกระบวนการงาบผลประโยชน์จากร่างพ.ร.บ.สุวรรณภูมิมหานคร แฉเส้นทางผลประโยชน์ แก้กฎหมายตามใจชอบ เอื้อกลุ่มทุนการเมือง –พรรคพวก เครือญาตินักการเมือง เผยมีเมืองไทยแห่งเดียวในโลกที่เอาเมืองไปล้อมสนามบิน ขณะที่ต่างประเทศย้ายสนามบินออกจากเมือง

เปิดโปงกระบวนการงาบผลประโยชน์ร่างพรบ.สุวรรณภูมิมหานคร ให้อำนาจกลุ่มทุนการเมือง-พรรคพวกล้นฟ้า เปิดทางแก้กฎหมายตามใจชอบ นักวิชาการหวั่นผังเมืองกรมโยธาฯ ถูกเปลี่ยน เอื้อประโยชน์ให้บางกลุ่ม ชี้เอาเมืองล้อมสนามบินไม่เหมาะสม

แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังอยู่ในภาวะสุญญากาศ แต่การทำงานของคณะรัฐมนตรีก็ไม่ใช่ว่าจะถูกชะงักลงไปทั้งหมด โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ยังถูกนำขึ้นมาพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า โดยมารยาทรัฐบาลรักษาการมักจะไม่ค่อยอนุมัติโครงการขนาดใหญ่

แต่การยกระดับพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิยังถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นโครงการเร่งด่วน ต้องมีการควบคุม ก่อนที่การใช้ประโยชน์ในที่ดินจะไม่เหมาะสมหรือเติบโตแบบไร้ทิศทาง

ดังนั้น ร่าง “พรบ.สุวรรณภูมิมหานคร” จึงถูกหยิบยกขึ้นมาดำเนินการต่อ ท่ามกลางความเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย จากหลายส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน ทั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง

รอกฤษฏีกาตีความ

โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิเป็นเขตการปกครองพิเศษ ซึ่งผ่านการที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งร่างเพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา

สำหรับขอบเขตที่ ร่างพรบ.สุวรรณภูมิมหานครจะมีผลบังคับใช้ คือ บริเวณพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ครอบคลุมเขตลาดกระบัง ประเวศ ของ กทม. และ อำเภอบางพลี กิ่งอำเภอบางเสาธง จ.สมุทรปราการ โดยจะมีการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นของตนเอง ไม่ขึ้นกับส่วนกลางหรือกระทรวงมหาดไทย เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริหารจัดการ ในฐานะที่จะมีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่งในอนาคตไม่แพ้ กทม. ซึ่งเป็นเมืองหลวงแต่อย่างใด แต่ใครจะรู้บ้างว่าการแยกตัวออกเป็นเขตการปกครองพิเศษนั้น จะกลายเป็นช่องทางให้เกิดการคอร์รัปชั่นมโหฬารได้อย่างสบาย

ชี้ตั้งสภาที่ปรึกษาแทรกการเมือง

ร่างพรบ.สุวรรณภูมิมหานคร ได้ระบุไว้ว่า ให้มี “สภาสุวรรณภูมิมหานคร นายกสุวรรณภูมิมหานคร และสภาที่ปรึกษา” เป็นผู้บริหารจัดการ สำหรับ “สภาที่ปรึกษา” ถือว่าเป็นข้อที่น่ากังขาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง สัก กอแสงเรือง รักษาการสมาชิกวุฒิสภา กทม. กล่าวว่า “สภาที่ปรึกษา ไม่เคยถูกกำหนดให้มีขึ้นมาก่อนในการบริหารราชการท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น กทม. หรือ พัทยา อีกทั้งยังมีที่มาจากการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีส่วนกลาง และมีอำนาจในการให้คำปรึกษา จนอาจกลายเป็นการแทรกแซงฝ่ายบริหาร เป็นช่องทางให้เกิดการออกกฎหมายที่เอื้อต่อการแสวงหาประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากฝ่ายสภาที่ปรึกษา ฝ่ายบริหาร และฝ่ายรัฐมนตรีเป็นคนพวกเดียวกัน”

หากจะมองในแง่ของการใช้ประโยชน์ที่ดินก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เพราะหากร่าง พรบ.สุวรรณภูมิมหานครมีการอนุมัติบังคับใช้ จะทำให้ฝ่ายบริหารสามารถยกเลิก แก้ไขกฎหมายต่างๆ ได้ทั้งหมด รวมทั้งสามารถกำหนดผังเมืองขึ้นใช้ได้เองด้วย โดยไม่ต้องอาศัยผังเมืองที่มาจากส่วนกลางกำหนด คือ กรมโยธาธิการและผังเมืองแต่อย่างใด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเมืองตามมามากมาย เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความแออัดของเมือง ไม่ต่างจากสิ่งที่ กทม. เป็นอยู่ในทุกวันนี้

แฉช่องทางตักตวงผลประโยชน์

สำหรับเนื้อหาของผังเมืองโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิที่วางแผนโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้นกำหนดให้เป็น “เมืองน้ำ” สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เพียง 30% ที่เหลืออีก 70% จะเป็นพื้นที่รองรับน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่ม ใช้ในการรับน้ำจาก กทม. ก่อนระบายออกสู่อ่าวไทย ซึ่งหาก อนาคต ร่างพรบ.สุวรรณภูมิมหานครมีผลบังคับใช้ แน่นอนว่าผังเมืองของกรมโยธาธิการฯจะต้องถูกยกเลิกไปด้วย หันมาใช้ผังเมืองฉบับที่ร่างขึ้นเอง กลายเป็นช่องทางที่จะเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนเข้ามากำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามอำเภอใจเพื่อตักตวงผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อเมืองในแง่ของสิ่งแวดล้อม และปัญหาน้ำท่วมของ กทม. จากการที่มีสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำในเขตสุวรรณภูมิ

ขณะที่ต่อตระกูล ยมนาค อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมฯ และอดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “พื้นที่หนองงูเห่าก่อนที่จะมีการพัฒนาเป็นสนามบิน เป็นพื้นที่รับน้ำ (แก้มลิง) ตามโครงการพระราชดำริของในหลวง ไม่เหมาะที่จะนำมาสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นการขวางทางน้ำ และทราบมาว่าหาก ร่างพรบ.สุวรรณภูมิมหานครมีผลบังคับใช้ ก็มีการร่างผังเมืองเฉพาะเตรียมเอาไว้แล้ว ซึ่งจะเป็นการยกเลิกการบังคับใช้ผังเมืองของกรมโยธาธิการฯ ทันที ซึ่งในความเป็นจริงผังเมืองของกรมโยธาธิการฯ เป็นผังที่ถูกออกแบบมาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการอยู่แล้ว ในขณะที่ผังเมืองสุวรรณภูมิเป็นผังที่ออกแบบมาเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน ตัวอย่างเช่น ด้านข้างถนนไฮเวย์อนุญาตให้มีอาคารพาณิชย์ได้”

ใช้เงินภาษีเพิ่มมูลค่าเพิ่มที่ดิน

“นอกจากนี้ ผังเมืองดังกล่าวยังมีการระบุให้แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการให้กรมชลประทาน ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำการขุดแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ความยาว 15 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางระบายน้ำ โดยใช้งบประมาณถึง 84,000 ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นการบุกเบิกที่ดินใหม่ริมแม่น้ำ คาดว่าหากมีการขายที่ดินดังกล่าวจะได้เงินถึง 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ได้เป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง แต่เป็นการทำเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ที่ดินของคนบางกลุ่ม” ต่อตระกูล กล่าวเสริม

ด้าน นวพร เรืองสกุล นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ให้ความเห็นว่า “ขณะนี้รัฐบาลกำลังผิดวัตถุประสงค์ว่าต้องการเมือง หรือต้องการตัวสนามบิน เพราะขณะนี้ดูเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างจะมุ่งไปสู่การสร้างพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นเมืองใหม่ล้อมรอบสนามบิน ผิดกับในต่างประเทศที่สนามบินจะต้องอยู่ห่างจากเมืองให้มากที่สุด เพื่อป้องกันปัญหามลพิษต่างๆ จากกิจกรรมของสนามบิน โดยมีระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมจากเมืองเข้าไปยังตัวสนามบินเท่านั้น ซึ่งจะทำให้การวางแผนระบบขนส่งมวลชนมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวเท่านั้น คือ ในเมือง”

แต่หากมีการพัฒนาเป็นเมืองล้อมรอบสนามบินแล้ว ความเป็นเมืองจะเป็นกลไกที่บังคับให้การวางแผนระบบขนส่งมวลชนจะต้องสามารถกระจายคนให้ไปสู่หลายๆ จุดหมายได้ หมายถึงการต้องตัดถนนอีกหลายสาย ซึ่งเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนมาลงทุนด้านสาธารณูปโภคมหาศาลเพื่อเอื้อประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าที่ดินของคนบางกลุ่มเท่านั้นก่อนที่จะมีการเปลี่ยนมือไปยังคนนอก แต่ประชาชนกลับเป็นฝ่ายสูญเสีย เพราะภาษีดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us