Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์31 กรกฎาคม 2549
"ไทยประกันชีวิต"ชิงตลาดชุมชนติดอาวุธตัวแทนทะลวงด่านนายจ้าง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยประกันชีวิต

   
search resources

ไทยประกันชีวิต, บจก.
อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล
Insurance




ตัวเลขงบประมาณที่หว่านไปกับการโฆษณา-ประชาสัมพันธ์มากที่สุดในปีนี้ ของ"ไทยประกันชีวิต"คือสัญญาณหนึ่งที่กำลังจะบอกฝากไปถึงคู่แข่งในวงการว่า เบอร์สองธุรกิจประกันชีวิต กำลังเตรียมลำเลียง "เสบียง"พร้อมอาวุธยุทธโธปกรณ์ครบครันแบบไม่ยั้งมือ สำหรับกองทัพกว่า 20,000 ชีวิต เพื่อเปิดฉากช่วงชิง "ตลาดชุมชุน"ผ่านช่องทาง "เวิร์คไซต์ มาร์เก็ตติ้ง" ซึ่งกองทัพนักรบต้องอาศัย "คอมเน็คชั่นพิเศษ" เจาะทะลุทะลวงองค์กร และชุมชนที่มีสมาชิกร่วมร้อย และมากกว่าพันราย ...วิธีนี้ไม่ใช่แค่จะช่วยปิดการขายให้ได้ปริมาณมากในคราวเดียว แต่ยังเป็นการเพิ่มจำนวน "นักรบ"ไปด้วยในตัว....

ช่องทางการขายใหม่หรือ "เวิร์คไซต์ มาร์เก็ตติ้ง" อาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับไทยประกันชีวิต ธุรกิจที่พยายามชูภาพลักษณ์ธุรกิจคนไทย เพื่อเสนอการขายและบริการให้กับคนไทยด้วยกันเอง แต่ที่ผ่านมาการทำตลาดบนช่องทางนี้กลับกลายเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันระหว่างองค์กรและตัวแทนขายเป็นหลัก

รับรู้กันว่า นักรบหรือตัวแทนจะอาศัยความสนิทสนมเป็นการส่วนตัว เป็น "รหัสผ่าน" เข้าไปยังองค์กรนั้นๆ ผ่านการทำประกันกลุ่ม ก่อนจะเจาะเข้าถึงสมาชิกหรือลูกจ้างองค์กรนั้นในภายหลัง

กลยุทธ์รูปแบบนี้ จึงกลายเป็นความสามารถเฉพาะตัวของบรรดาตัวแทนขาย ขณะที่ต้นสังกัดที่รับเบี้ยเข้ามา ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เบี้ยที่ไหลทะลักเข้ามา มีที่มาที่ไปอย่างไร เบี้ยที่เข้ามาจึงเป็นเบี้ย "โนเนม"

ไทยประกันชีวิตอาจจะต่างจากเจ้าอื่นตรงที่ ไม่มีแผนกหรือ หน่วยงานทำการตลาดช่องทางนี้มาก่อน ในขณะที่คู่อริอื่นขับเคลื่อนช่องทางนี้ด้วยหน่วยงานที่แยกออกมาเป็นเอกเทศจากกองทัพตัวแทน กระทั่งการเปิดช่องทางใหม่ทำให้บริษัทต้องหันมาซัพพอร์ตตัวแทน

อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล อธิบาย รูปแบบการทำตลาดลักษณะนี้คือ การตลาดแบบชุมชน ที่ไทยประกันชีวิตมีอยู่แล้ว นั่นก็คือ "1 ชุมชน 1 ตัวแทน" ซึ่งเหมาะกับชุมชน หมู่บ้านตามต่างจังหวัด

ตัวแทนขายจะเข้าไปนำเสนอสินค้า บริการในชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งบริษัทอาจจะตั้งคนในชุมชนเป็นตัวแทนคอยเก็บเบี้ย เพื่อความสะดวกให้กับลูกค้า

ขณะที่ "เวิร์คไซต์ มาร์เก็ตติ้ง" ก็ไม่ต่างกัน คือ กองทัพตัวแทนจะบุกเข้าไปทำตลาดกับสมาชิกในองค์กร หรือลูกจ้างในเมืองใหญ่ โดยติดต่อผ่านไปยังหน่วยงานทรัพยากรบุคคล "ตัวแทนนายจ้าง" ในรูปการจัดงานสัมมนา และตั้งบูธ โดยใช้เอกสารหรือแผ่นพับของบริษัทเป็นตัวพรีเซ็นต์สินค้า

" วิธีเข้าถึงลูกค้าแบบนี้จะได้ลูกค้าเดือนละ 1-2 พันรายมาแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องจ่ายอะไรมากนัก ซึ่งแต่เดิมตัวแทนต้องติดต่อเอง หาช่องทางเจาะเข้าไปเอง นำเสนอ พรีเซ้นต์เอง ซึ่งก็มีเป็นครั้งคราว เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่เวลานี้เราต้องสนับสนุนพวกเขาอย่างเป็นระบบ เพราะเราฐานใหญ่ ตัวแทนเยอะ ถ้าฝึกฝนดีๆ อย่างน้อยก็จะทำให้ปิดการขายได้มากขึ้น"

อภิรักษ์ บอกว่า สมัยก่อนตัวแทนจะทำตลาดเอง แต่ต่อไปไทยประกันชีวิตจะช่วยเหลือด้านเครื่องมือ อุปกรณ์การขายทางการตลาดให้กับฝ่ายขายเหมือน "ติดอาวุธ"ให้ แทนที่จะปล่อยให้ทำกันเองตามยถากรรม โดยเฉพาะแผ่นพับหรือโบว์ชัวร์ ซึ่งจะทำให้ขาดน้ำหนักในการนำเสนอสินค้าให้กับองค์กรนั้นๆ

ขณะเดียวกัน ก็ได้ประสานงานกับบรรดาแบงก์ใหญ่ต่างๆ เช่น ทหารไทย ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา กรุงไทย และกรุงเทพ เพื่อหักเบี้ยจากบัญชีลูกค้าได้สะดวกขึ้น

อภิรักษ์บอกว่า การสนับสนุนด้านเครื่องมือ อุปกรณ์การขายและการร่วมมือกับแบงก์ต่างๆจะช่วยลดภาระของหน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล

เนื่องจากในอดีต ตัวแทนจะเข้าไปนำเสนอสินค้าได้ต้องผ่านด่านผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล พอผ่านไปได้พนักงานจะจ่ายเบี้ยก็ต้องดำเนินการผ่านฝ่ายบุคคล ทำให้เป็นภาระโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นการจะเข้าไปทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างภาระให้กับฝ่ายบุคคล

จากตัวอย่างในอดีตยังพบว่า การปิดเคสโดยพึ่งพาบทบาทของฝ่ายบุคคล ทำให้ตัวแทนต้องยอมเจียดผลตอบแทนกับฝ่ายบุคคลเพื่อเปิดทางสะดวก และเป็นค่าเสียเวลา เพื่อแลกกับเบี้ยปริมาณมหาศาล จากพนักงานหลายร้อย หลายพันชีวิต ที่จะกลายมาเป็นลูกค้าของตัวแทนรายนั้น

อภิรักษ์บอกว่า การขายสินค้าให้กับพนักงานองค์กรโดยตรง จะช่วยลดภาระให้กับบริษัทนายจ้าง ซึ่งปกติจะทำประกันกลุ่มโดยการจ่ายเบี้ยให้กับลูกจ้าง แต่ถ้าลูกจ้างหรือพนักงานซื้อกรมธรรม์เองคนจ่ายเบี้ยก็คือพนักงาน

" ช่องทางนี้นอกจากจะช่วยให้ฝ่ายขายปิดการขายได้มากกว่า 1 เคส ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเราก็อาจก็โอกาสรีครูตพนักงานองค์กรนั้นมาเป็นตัวแทนของเราได้ด้วย"

กลยุทธ์การตลาดผ่านช่องทางนี้จึงเปรียบเสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้าง มาร์เก็ตติ้ง เซ็กเม้นต์ ได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การติดอาวุธให้กับบรรดานักรบ ตัวนักรบเองยังต้องพึ่งพาความสัมพันธ์พิเศษให้เกิดประโยชน์อยู่เป็นปกติ ดังนั้นตัวแทนรายนั้นๆจะต้องวิเคราะห์มาร์เก็ต เซ็กเม้นท์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนจะใช้ช่องทางนี้ขยายเบี้ยและรายได้

" เราตั้งเป้าสำหรับช่องทางนี้ไว้ 10%ของเบี้ยทั้งหมด โดยปีนี้คาดจะมีเบี้ยรับประมาณ 180 ล้านบาท และปี 2550 ตั้งเป้าไว้ที่ 500 ล้านบาท โดยมีกรมธรรม์ไม่ต่ำกว่า 3,000 กรมธรรม์ต่อเดือน หรือ 16,000 กรมธรรม์ต่อปี"

ผลประกอบการช่วง 6 เดือน ม.ค.-มิ.ย.2549 บริษัทมีเบี้ยประกันรับปีแรก 2,350 ล้านบาท ขยายตัว 24% เบี้ยรับปีต่อไป 9,100 ล้านบาท อัตราความคงอยู่กรมธรรม์ 84% และเบี้ยประกันรับรวม 11,690 ล้านบาท ลดลง 12% โดยเป็นผลจากการลดลงของเบี้ยประกันชำระครั้งเดียวหรือ "ซิงเกิล พรีเมี่ยม" ที่ร่วงลง 54% โดยคาดว่าปีนี้เบี้ยรับปีแรกจะขึ้นมาถึง 5,000 ล้านบาท เติบโต 15% ...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us