Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2549
"ส่งออก"นักรบแนวหน้ากู้เศรษฐกิจ ความหวังที่เปี่ยมด้วยปัจจัยเสี่ยงกดดัน             
 


   
search resources

วีรพงษ์ รามางกูร
Import-Export




ภาคส่งออก เปรียบไม่ต่างอะไรจากตัวละครที่รับบทพระเอก เพราะในยามที่เศรษฐกิจประสบปัญหาหลายปัจจัยลุมเร้าจนโหรหลายสำนักต่างออกมาปรับลดอัตราการขยายตัวเป็นทิวแถวเมื่อเห็นว่ามีการคาดเดาตัวแปรสำคัญผิดพลาด กระนั้นก็ยังดีที่มีภาคส่งออกเป็นแรงหนุนขับดันเศรษฐกิจอยู่ แม้ว่าการส่งออกจะโดนปัจจัยเสี่ยงจาก ค่าเงิน ดอกเบี้ย และน้ำมันแพง เล่นงานจนอ่วม แต่ก็เป็นความหวังเดียวที่จะกอบกู้เศรษฐกิจไม่ให้สาหัสสากันมากไปกว่านี้

เมื่อปี 2549 ตั้งเป้าว่าภาคการส่งออกจะขยายตัวถึง 17% ในขณะที่สถานการณ์คู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐ อยู่ในอาการเซื่องซึมจากพิษไข้การขาดดุล 2 ขา ทั้งการขาดดุลทางการค้า ละดุลบัญชีเดินสะพัด ยังผลให้คาดกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคตถ้าไม่ทรงก็ทรุด และคู่ค้าคนสำคัญเริ่มได้รับผลกระทบ ทำให้เป้าหมายการส่งออกของไทยต้องได้รับแรงขับดันอย่างแรง

ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย EXIM BANK ก็ช่วยเหลืออย่างเต็มแรง ด้วยการเปิดตลาดสู่ทวีป และประเทศใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะแอฟริกา ตะวันออกกลางเป็นต้น ซึ่งนอกจากทำให้กระจายความเสี่ยงจากคู่ค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มช่องทางส่งออกที่หลากหลายให้ผู้ประกอบการมากขึ้น

กระนั้นก็ตามแม้ภาคส่งออกจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่ในแรงหนุนนั้นกลับมีแรงต้านแฝงไว้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ยากแก่การคาดเดา ไม่ว่าจะน้ำมัน ดอกเบี้ยหรือค่าเงินก็ตาม

วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) กล่าวว่า ต้นปี 2549 ที่คาดการณ์ไว้เช่นไรนั้นในปัจจุบันพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผิดหมด ราคาน้ำมันที่มองว่าไตรมาส 1ปี 2549 จะอยู่ในราคราทรงตัว และค่อย ๆ ผ่อนลงไปในไตรมาส ต่อๆไป ก็ไม่เป็นเช่นว่าเมื่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางร้อนแรงขึ้น ทำหีราคาน้ำมันดีดีตัวขึ้นสูงอีกครั้ง จนคาดว่าราคาน้ำมันจะทะยานขึ้นไปถึง 80เหรียญต่อบาเรล

"ไม่เพียงการคาดเดาเรื่องน้ำมันผิด อัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็กลายเป็นเรื่องที่ยากแก่การคาดเดา เมื่อผู้ว่าการคนใหม่ที่เคยส่งสัญญาณว่าเฟดอาจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก แต่แล้วก็ไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อเมื่อเฟดยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ อันเป็นผลมาจากต้องการลดปัญหาเรื่องการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐ"

สหรัฐฯเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยมาเนิ่นนาน หากเมื่อประสบปัญหาเช่นนี้อาจส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยได้เช่นกัน อีกทั้งแนวนโยบายการเงินของสหรัฐที่เปลี่ยนไปความที่เป็นชาติมหาอำนาจ ก็ส่งผลให้ตลาดการเงินโลกเกิดความผันผวนด้วย และมองว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นของตลาดเงินนี้จะรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และปีหน้า

"ตลาดเงินผันผวน การเคลื่อนย้ายเงินทุนก็ผันผวน ก็ส่งผลให้ อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจัยที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เองเป็นแรงกดดันต่อภาคการส่งออกต้องทำงานหนักขึ้น หากจะวิ่งไปให้ได้ตามเป้าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 17%"

แม้ปัจจัยลบจะยังคงรุมล้อมอยู่รอบกายภาคการส่งออก แต่ก็ยังพอมีปัจจัยบวกที่เกื้อหนุนอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยภายในประเทศ การปรับนโยบายดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ตรึงไว้ที่ 5% ทำให้เป็นผลบวกต่อภาคการส่งออก เพราะอย่างน้อยผู้ประกอบการก็คาดเดาทิศทางได้ของดอกเบี้ย และค่าเงินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากที่ผ่านมา การอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท. ได้ขยับดอกเบี้ยขึ้นตามธนาคารกลางสหรัฐเสมอ แต่ในคราวนี้ไม่ได้ตาม และยังส่งสัญญาณอีกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะสูงสุดแล้ว โดยไม่น่าจะขึ้นสูงไปมากกว่านี้

ธปท. มองเห็นสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง การลยบายการเงินของธปท.ที่จะไม่ปรับอีตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกจึงมีความชัดเจน

โดยรวมแล้วมองว่าภาคการส่งออกในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวจากครึ่งปีแรกที่การส่งออกขยายตัวประมาณ 16% เหตุเพราะการขยายตัวในครึ่งปีแรกดีนั้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเดิมในปลายปี 2548 ในขณะที่การส่งออกครึ่งหลังมีแนวโน้มชะลอตัวลงเป็นผลมาจากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน กระนั้นก็ตามการส่งออกทั้งปี2549ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ภายใต้ภาวะของความไม่มั่นใจทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

ก่อนหน้านี้การลงทุนกลายเป็นความหวังของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อทุกอย่างพลิกผัน การเมืองที่เคยนิ่งเริ่มแปรปรวนทำให้การลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนต้องชะลอไป ดับความฝันการขยายตัวของเศรษฐกิจที่วางไว้สวยหรู ดังนั้นเมื่อการลงทุนไม่ใช่นักรบแถวหน้าดันเศรษฐกิจต่อไป ไม่ผลัดจึงถูกส่งมาที่ภาคการส่งออกและทำให้ภาคการส่งออกกลายเป็นทหารนักรบในแนวหน้ากอบกู้เศรษฐกิจต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us