|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ทรูเริ่มรุกหนักต่อเนื่อง เลือกอาวุธยุทโธปกรในมือ มาจับคู่จัดชุดกันเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาด"เพื่อเป็นการตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจ โทรคมนาคมครบวงจร มีบริการในรูปแบบหลากหลาย ทั้งบริการอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์พื้นฐาน บริการด้านชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงจากการที่ ทรู ได้มีการเข้าไปดำเนินธุรกิจในส่วนของบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ของ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ยูบีซี ให้เกิดการผสมผสานด้านบริการร่วมกับบริการด้านสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดภาพของการ คอนเวอร์เจนซ์ บริการของทรูอย่างลงตัวและเห็นภาพชัดเจน ยิ่งขึ้น" ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าว
กลุ่มทรู จึงเปิด "ทรูไลฟ์พลัส"
"ที่ดึงจุดเด่นของบริการแต่ละประเภท เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย พร้อมนำเสนอโซลูชันใหม่ เพื่อเพิ่มคุณค่า สร้างประโยชน์ให้กับลูกค้าได้คุ้มค่ากับบริการทั้งหมด"
โดยจะนำร่องจาก "เคเบิ้ลทีวี" + "มือถือ" ก่อน
ภายใต้ชื่อบริการ "ยูบีซีทรูมูฟ ฟรีวิว"
ซึ่งเมื่อลูกค้าสมัครเป็นสมาชิก ทรูไลฟ์ ที่มีค่าใช้ จ่ายเดือนละ 300 บาท ลูกค้าจะได้รับซิมทรูมูฟ 1 ซิมทันทีและจะได้รับจานยูบีซีฟรี และสามารถดูยูบีซีฟรีวิว 31 ช่อง และได้ค่าโทรทรูมูฟ 300 บาท และยังดูทรูโนเลจ แพ็คเกจ 43 ช่อง ฟรี 1 เดือน
นอกจากนี้บริการยูบีซี ยังได้เพิ่มทางเลือกรูปแบบการชำระเงิน ด้วยการเปิดบริการในรูปแบบแบบเติมเงินเป็นครั้งแรก โดยสมาชิก "ทรูไลฟ์" สามารถ รับชมยูบีซี ด้วยระบบเติมเงินซึ่งจะใช้วิธีการชำระเงินผ่านทรูมันนี่ หรือการชำระเงินผ่าน โทรศัพท์ทรู
หากลูกค้าที่อยากรับชมยูบีซี แพคเกจอื่น ไม่ว่าจะเป็น ทรูโน-เลจ แพคเกจ ซิลเวอร์แพคเกจ 53 ช่อง และโกลล์ แพคเกจ โดยลูกค้าสามาถเลือกเติมเงินได้ในเดือน หรือเลือกชมแพคเกจ รายเดือนของยูบีซีทรูได้ตามใจ โดยชำระล่วงหน้าเฉพาะเดือนที่ต้องการชม หรือเลือกชมช่อง Pay-Per-View แบบรายวันที่จ่าย
สมาชิก "ทรูไลฟ์"จะได้รับสิทธิพิเศษ ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า กล่องรับสัญญาณยูบีซีตลอดชีพ ซึ่งลูกค้าเดิมทั้งของยูบีซีและทรูมูฟ สามารถสมัครเป็นสมาชิกทรูไลฟ์ได้ภายใต้เงื่อนไขและได้รับสิทธิพิเศษเช่นเดียวกัน
นี่ถือเป็นครั้งแรกของธุรกิจ "โทรทัศน์บอกรับสมาชิกแบบเติมเงิน" ครั้งแรกในเอเชียด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าแรกเข้า ค่าอุปกรณ์และค่าติดตั้ง หรือมีภาระผูกพันระยะยาวในการเป็นสมาชิก
"ทั้งนี้ การทำคอนเวอร์เจนซ์ของบริการยูบีซีแบบเติมเงิน จะเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเจาะรากหญ้า เพิ่มทางเลือกในการสามารถเข้าถึงข่าวสารและความรู้ ไปครอบคลุมครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนงาน 3-5 ปีของกลุ่มทรู ที่ต้องการให้ทั้ง 16-17 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศเข้าถึงข้อมูลได้" ศุภชัยกล่าว
"คอนเวอร์เจนซ์ บริการโทรคมนาคมครบวงจรนั้นเป็นนโยบายหลัก ของกลุ่มทรู เพื่อสร้างจุดแข็งที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น โดยการเตรียมแพคเกจระหว่างทรูมูฟ กับยูบีซีนั้นเพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งแพคเกจผสมผสานเทคโนโลยีจะทำรายได้ให้กับกลุ่มทรูฯเต็มที่ในปีหน้า อีกทั้งในอนาคตบริการยูบีซี จะเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าสามารถรับชมผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) หรือ ในรูปบริการไอพีทีวี เพื่อทางเลือกลูกค้าได้มากขึ้น"
"กลยุทธ์เช่นนี้จะสามารถขยายลูกค้าในกลุ่มไปพร้อมกันทั้งกลุ่ม โดยโปรโมชั่นนี้จะสามารถเพิ่มยอดลูกค้า ทรูมูฟ และ ยูบีซี ได้เป็นหลักแสนราย ขณะนี้ทรูมูฟมีลูกค้าแล้ว 5 ล้านราย และปลายปีนี้จะมี 5.7 ล้านราย ส่วนยูบีซี ปลายปีนี้จะมียอดลูกค้า 6.5 แสนราย จากปัจจุบันมีลูกค้าเป็นสมาชิกอยู่กว่า 5 แสนราย"
"ในเวลาอีก 2 ปี ข้างหน้า ทุกคนจะเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานบริการอย่างลงตัว โดยจุดแข็ง ของกลุ่ม ทรู จะมีอยู่ 3 บริการหลักที่จะสร้างรายได้ คือ บรอดแบนด์ มือถือ และ ยูบีซี โดยรายได้จะเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงแม้ในปัจจุบันธุรกิจบางกลุ่มมีรายได้เหมือนในเชิงขาดทุน" เขากล่าวทิ้งท้าย
กลยุทธ์ของทรูในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่? ใคร - "ทรูมูฟ" หรือ "ยูบีซี" - จะได้ประโยชน์มากกว่ากัน? และผู้เล่นรายอื่นในตลาด จะเอาอย่างกลุ่มทรูมั่งได้หรือไม่
บทวิเคราะห์
ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอทรูมีภารกิจที่ท้าทายมาก เพราะแม้ตำแหน่งของเขาจะครอบคลุมอำนาจกว้างขวางมากขึ้น เนื่องเพราะอาณาจักรทรูได้ครอบคลุม Media-Telecom และจะขยายไปสู่ธุรกิจใหม่อื่นๆอีกมากมายภายใต้แบรนด์ true
True เป็นแบรนด์ที่กลุ่มซีพีสร้างขึ้นมาเอง ในช่วงแรกนั้นใช้เป็นแบรนด์แทนที่ TA ซึ่งเป็นเพียงชื่อย่อของ Telecom Asia เท่านั้น หาใช่แบรนด์ไม่ ดังนั้น true จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแบรนด์แม่โดยเริ่มที่โทรศัพท์พื้นฐาน จากนั้นต่อยอดเป็น subbrand ไปสู่ธุรกิจอื่นๆในเครือ
หลังจาก Orange ขายหุ้นทิ้งก็ให้ใช้แบรนด์ต่ออีกเพียง 5 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ true จะใช้แบรนด์นั้นต่อไป ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าไม่ได้เป็นสมบัติของตนเองอีกต่อไป
เช่นเดียวกับที่ Lenovo ก็ไม่ใช้แบรนด์ IBM อีกต่อไปในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งๆที่ IBM ให้ใช้อีก 3-5 ปี
ในโลกธุรกิจนั้น แบรนด์คือสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุด หากสร้างแบรนด์ติดตลาด ย่อมสามารถเก็บกินไปชั่วชีวิต เพราะมันจะต่อยอดไปสู่ธุรกิจอื่นๆมากมายกลายเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่ง
อย่างไรก็ตามในธุรกิจโอเปอเรเตอร์ แบรนด์ไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดหรือมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอะไรมากนัก
เอไอเอสและดีแทค เพิ่งจะเอาจริงเอาจังกับการสร้างไม่เกิน 5 ปีมานี้ พร้อมกับการเข้ามาของ Orange ที่ลงทุนมโหฬารเพื่อการสร้างแบรนด์ แต่มันก็พิสูจน์ต่อมาในภายหลังแล้วว่าแบรนด์สำคัญก็จริง แต่ไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาด
ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นเลือกโอเปอเรเตอร์ตรงที่เครือข่ายมาก โปรดมชั่นถูกใจ ไม่ได้ดูแบรนด์หรอก และพร้อมจะเปลี่ยนตลอด หากโปรโมชั่นไม่ถูกใจ
ถ้าแบรนด์เป็นตัวชี้ขาดจริง ก็คงไม่เลิกใช้ Orange เร็วขนาดนี้หรอก
True สร้างแบรนด์ได้ไม่ทันไรก็สร้าง Subbrand true move โดยด่วน เพราะเห็นว่า true นั้นเวอร์กมากๆ
true move ต้องเหน็ดเหนื่อยกว่า true เพราะคู่แข่งเขี้ยวกว่า อีกทั้งตนเองเป็นฝ่ายเสียเปรียบในด้านเครือข่าย ไม่เหมือน true ที่แข่งกับทศท.ซึ่งมีความได้เปรียบอยู่หลายขุม
true move ต้องทำส่วนแบ่งตลาดให้ได้ 15% ของยอดผู้ใช้โดยรวม ไม่เช่นนั้นจะต้องล้มหายตายจากไปในตามสมการของโนเกียที่ว่าถ้าผู้ประกอบการรายใดมีส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 15 % ก็ต้องออกจากตลาดไป
กิจกรรมทุกอย่างทุกอย่างจึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อทำให้ true move เพิ่มยอดผู้ใช้บริการ
หากเป็น true move โดดๆ ไม่มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอะไรเลย นอกจากเล่นสงครามราคา ซึ่งทุกค่ายก็ได้หันมาเล่นสงครามราคาเหมือนกันหมดแล้ว
true move ก็ต้องคิดมุกใหม่ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการนำ AF มาเป็นเครื่องล่อให้คนหันมาใช้ true move มากขึ้นโดยแจกซิมฟรีและคืนค่าโหวตให้เพื่อแสดงให้เห็นว่า true move ไม่ได้ต้องการเงินจากการส่งเอสเอ็มเอสเลย
"ทรูไลฟ์พลัส" ก็คือการนำธุรกิจในเครือที่ตนเองถือครองและชาวบ้านต้องการใช้แต่ไม่อยากจ่ายราคาแพงมามัดรวมกันกับ true move เพื่อให้คนใช้ true move เพราะต้องการดูยูบีซีในราคาที่ประหยัด
จริงๆก็ไม่มีอะไรใหม่
เป็นเพียงการ Synergy ระหว่างมือถือและยูบีซีเท่านั้น แต่สิ่งที่ใหม่ก็คือผู้บริหารเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้นจึงสร้าง Market Offering ที่โดนใจผู้บริโภค
ทว่าถ้าจะให้ก็ต้องให้มากที่เป็นอยู่
ไม่เช่นนั้นจะเหมือนกับ Low Cost Version UBC ที่ Concept ดีมาก แต่รายการ ไม่โดนใจ
|
|
 |
|
|