Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 กรกฎาคม 2549
พิษศก.ดึงNPLย้อนกลับรายใหญ่ดันยอดพุ่ง             
 


   
search resources

Economics
Loan




เศรษฐกิจชะลอเห็นผล เอ็นพีแอลย้อนกลับ แบงก์ชาติเผยลูกหนี้รายใหญ่แบงก์พาณิชย์ 2-3 ราย รีเทิร์นเป็นเอ็นพีแอล ดันผลยอดรวมไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นถึง 1.1 หมื่นล้าน หม่อมอุ๋ย การันตี เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่กระทบระบบสถาบันการเงินโดยรวม

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 11,700.89 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ โดยสาเหตุเกิดจากลูกหนี้รายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ 2-3 ราย ที่มียอดวงเงินขอกู้ที่สูง ซึ่งเคยปรับโครงสร้างหนี้มาก่อนแล้วและกลับมาเป็นหนี้เสียใหม่อีก (Re-entry) อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินส่วนใหญ่ยังมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่ออยู่ ทำให้เอ็นพีแอลไม่สูงจนน่าเป็นห่วงแต่อย่างใด

“เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 เป็นเฉพาะบางราย ซึ่งยังไม่น่าห่วงอะไร และส่วนใหญ่ก็ยังดีอยู่ ทั้งนี้เอ็นพีแอลที่สูงขึ้นเกิดจากลูกหนี้ของแบงก์พาณิชย์ 2-3 ราย ที่มียอดวงเงินกู้สูง ทำให้เอ็นพีแอลสูงขึ้น แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญอะไรที่ส่อเค้าว่าเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินจะปรับตัวสูงขึ้น” ผู้ว่าการธปท.กล่าว

สำหรับบริษัทเอกชนทั่วไปที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเพิ่มขึ้น รวมถึงหนี้การค้าด้วยนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด โดยเป็นหนี้ต่างประเทศที่มีธุรกรรมรองรับ ซึ่งน่าจะเกิดจากลูกหนี้การค้าที่ขอกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ ถือว่ายังปกติอยู่ อย่างไรก็ตาม ต้องขอดูรายละเอียดที่ชัดเจนก่อน

ทั้งนี้ หากเทียบตัวเลขเอ็นพีแอลที่ธปท.รายงานสิ้นไตรมาสที่ 2 มีการเพิ่มขึ้นถึง 11,700.89 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.47% โดย ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีนี้ มีเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินมีจำนวนทั้งสิ้น 484,701.70 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.23% สินเชื่อรวม โดยเกิดจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศมากที่สุดถึง 470,277.39 ล้านบาท คิดเป็น 9.04% ของสินเชื่อรวม สาขาธนาคารต่างประเทศ 9,152.25 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.50% ของสินเชื่อรวม บริษัทเงินทุน 4,835.80 ล้านบาท หรือ 6.37% ของสินเชื่อรวม และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 436.27 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.93% ของสินเชื่อรวม

ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกปี 2549 สถาบันการเงินมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 473,000.81 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.97% ของสินเชื่อรวม โดยเป็นเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ไทย 457,053.32 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.85% ของสินเชื่อรวม สาขาธนาคารต่างประเทศ 9,442.47 ล้านบาท หรือ 1.53% บริษัทเงินทุน 6,078.30 ล้านบาท หรือ 4.15% และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 426.72 ล้านบาท หรือ 44.04% ของสินเชื่อรวม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us