ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษารมว.กระทรวงการคลังในฐานะกรรมการบอร์ดบริษัท
ทศท คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการ ตลาดระดับประเทศ และนพ.สุรพงษ์
สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คาดหวังให้เข้ามาช่วยด้านการตลาดของ
ทศท.กล่าวถึงการให้บริการของไทยโมบาย โทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ว่า
จำเป็นต้องมีการทบทวนเกี่ยวกับโครงการ กิจการร่วมค้าระหว่างทศท.กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) เพราะประเด็นคือโดยโครงสร้างแล้วทำให้ทะเลาะกัน ไม่มีโครงสร้าง ไหนในโลกที่ออกมาแบบนี้แล้วจะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไปได้
“ในฐานะบอร์ดของทศท. เราคงต้องมองจุดยืนของทศท.แล้วนำเสนอเรื่องให้คุณหญิงทิพาวดี
ในฐานะประธานซูเปอร์บอร์ด แล้วเสนอให้ท่านรัฐมนตรี ผมว่าไทยโมบายต้องทำคนเดียว
ไม่ใช่แบ่ง คนละครึ่ง บอร์ดคนละครึ่ง ทีมจัดการคนละครึ่ง มันตลก มันผิดตั้งแต่แรก
เพราะไม่ได้ทำอะไรให้มันเอื้อให้ยุทธศาสตร์มันเดินไปได้”
เขากล่าวว่าโครงสร้างดังกล่าวเป็นกัฟเวอร์แนนซ์ สตรักเจอร์ ไม่ใช่ออแกนไนเซชั่น
สตรักเจอร์เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป ต้องหา วิธีแก้ไขว่าจะทำอย่างไรให้การดำเนินธุรกิจอยู่ในภาวะที่ไม่ติดขัด
ประเด็นคือทุกวันนี้ไทยโมบายดึงกันไปดึงกันมา ไม่ไปไหนสักที
ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของโครงสร้าง ไม่ใช่ทศท.หรือกสท.ไม่ดี แต่โครงสร้างแบบนี้ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ไม่สามารถวาง ยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจได้ ไม่ใช่คนที่มีอยู่ไม่เก่ง แต่โครงสร้าง
แบบนี้ถึงเก่งต่อเก่งมันก็พัง
“ต่างคนต่างขีดวงกันอยู่ ในขณะที่คู่แข่งทั้ง 3 รายจ้องอยู่ ไทยโมบายมาเสียเวลารอบอร์ดโน้น
บอร์ดนี้อนุมัติหรือไม่ แค่นี้ก็ตายแล้ว ต้องจัดการให้เคลียร์จะเอาอย่างไร
เป็นบอร์ดแยกออกไป แล้วหาทีม เอาเอง ไม่ใช่เอาสัดส่วนร่วมค้ามากำหนด เพราะไม่ทันที่จะสร้างความมั่งคั่งให้เกิดก็ขีดวงต่างคนต่างอยู่แล้ว”
เขาย้ำว่าหากมองประเด็นกสท.มีโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอ อยู่แล้ว ควรยกให้ทศท.ทำคนเดียว
อาจเป็นการมองด้านทศท. มากเกิน ไป แต่ต้องมองหลายปัจจัย ต้องมองกลางๆหากจะเอามาทำเองต้องแบ่ง
สิทธิกัน วิธีการคือจะร่วมกันได้หรือไม่ ถ้าในอนาคตทศท.กับกสท.ต้อง มารวมกัน
ประเด็นนี้จะหายไป แต่ถ้าไม่รวมกันแล้วเป็นกิจการร่วมค้า ต่อไป ต้องเป็นอิสระพอสมควรไม่มีอิทธิพลจากบริษัทแม่
เรื่องการจัดการต้องให้ฟรี ไม่ใช่แบ่งกันข้างละ 4 คน ในบอร์ดแบ่งกันไม่เป็นไร
ข้างล่างด้านบริหารยังแบ่งกันอีก เหมือนเอาอะไรมาประกบกันแต่ไม่มี ซินเนอยี่เลย
กลับมีแต่ความขัดแย้งกันมากขึ้น
“ตัวอย่างง่ายๆเพื่อนสนิททำธุรกิจกัน ครอบครัวคุณเอามา 3 คนครอบครัวผมเอามา
5 คนเอ็มดีมาอีกคนหนึ่งแล้วมันจะทำธุรกิจกันได้อย่างไร มันก็ตีกันตายต่อให้เป็นเพื่อนสนิทกันก็ตาม
ต่างคน มีโอกาสตั้งป้อมรักษาผลประโยชน์ตัวเองมากกว่า”
ในขณะที่กรรมการบอร์ดคนใหม่ของทศท.กำลังเดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้าง
กิจการร่วมค้าไทยโมบาย เองก็เดินหน้าทำการตลาดด้วยการเปิดตัวแบรนด์ไทยโมบายด้วยการเน้นความเป็นไทย
ผ่านสัญญลักษณ์เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด สีแดงในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินพื้นขาว
เช่นเดียวกับสีธงชาติ เพื่อสื่อ ความหมายการเป็นไทย ภายใต้สโลแกนเครือข่ายของเรา
เครือข่าย ของคุณ
การทำแบรนดิ้งของไทยโมบาย ต้องการสร้างความแปลกใหม่ ให้เกิดความจดจำของลูกค้า
โดยในช่วงแรก ผ่านสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์ จากเดิมที่เคยเห็นแต่ภาพถ่ายหรือภาพดารานักร้องจนเจนตา
แต่ไทยโมบายให้ศิลปินอย่างอัษฎาวุธ เหลืองสุนทร มาวาดภาพลายเส้นในแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับใจ
ไม่ว่าจะเป็นร่วมใจ แรงใจ ตื่นตาตื่นใจ ใจเชื่อมใจ
นายอรัญ เพิ่มพิบูลย์ รองผู้อำนวยการทศท.ในฐานะผู้จัดการกิจการร่วมค้าไทยโมบายกล่าวว่า
การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของไทยโมบายจะเน้นความเป็นไทย ให้ถูกใจและราคาถูก โดยที่โปรโมชันที่มีอยู่คือค่าบริการรายเดือน
300 บาท โทรได้ 4,000 บาทถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งไทยโมบายจะยืดเวลาโปรโมชันออกไปจนถึงเดือนเม.ย.สำหรับลูกค้าที่จดทะเบียนภายในเดือนก.พ.นี้
“ไทยโมบายมีแนวคิดในการโปรโมชันที่รุนแรงขึ้นเพื่อกระตุ้นการใช้งานอย่างโทรศัพท์บ้านมาไทยโมบายคิดนาทีละ1
บาททั่วประเทศหรือใช้ไทยโมบายโทรออกต่างประเทศได้ส่วนลด 10%”
เขาให้ความเห็นว่าการแข่งขันของธุรกิจโทรศัพท์มือถือในปีนี้ คงลดความรุนแรงลง
เพราะตลาดยังมีช่องว่างอีกมาก ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าขนาดตลาดจะใหญ่ถึง 25
ล้านเครื่อง ถ้าผู้ให้บริการแต่ละรายมุ่งเน้นการให้บริการเป็นหลักมากกว่าการเล่นสงครามราคา
ก็เป็นไปได้ที่การแข่งขันไม่น่าจะรุนแรง และหากเป็นเช่นนั้นก็สามารถเจรจากันเรื่องการใช้สถานที่ร่วมกันในการติดตั้งเครือข่าย
ก็มีความเป็นไปได้สูง
ปัจจุบันไทยโมบายติดตั้งสถานีฐานไปได้ประมาณ 200 กว่า สถานี จากเป้าหมายทั้งหมด
500 สถานี ซึ่งไทยโมบายจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.นี้ ขณะเดียวกันมีแผนขยายเฟส
2 เพื่อให้รองรับอีก 4.5 แสนเลขหมาย ซึ่งเลขหมายแรกจะต้องออกมาภายในเดือน
มิ.ย.ซึ่งเป็นเวลาที่ขีดความสามารถของระบบเฟสแรกที่รองรับได้ 3 แสนเลขหมายจะมีลูกค้าในระดับนั้นพอดี
“เฟส2จะเร็วกว่า เพราะจะไม่มีปัญหาเรื่องการหาสถานที่ติดตั้งสถานีฐานเหมือนเฟสแรก
ซึ่งทำให้การติดตั้งเครือข่ายล่าช้ามาก โดยรูปแบบการจัดหาจะใช้วิธีเช่าและเปิดประมูลทั่วไป
จำนวน 600 สถานีฐานแบ่งเป็นภายในและภายนอกอาคารอย่างละครึ่ง”
ไทยโมบายมีลูกค้าประมาณ 7,000 ราย โดยประมาณ 3,000 กว่ารายเป็นการทำตลาดของบริษัทสามารถกับไออีซี
ที่เป็นตัวแทนการขายและบริการที่ได้รับการแต่งตั้งจากไทยโมบาย
นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท
อินเตอร์ แนชั่นเนิล เอนจีเนียริ่ง หรือไออีซีกล่าวว่าตอนนี้ไออีซีพร้อมทำการขายทุกด้าน
เพราะทุกอย่างพร้อมหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีมากถึง
8 รุ่น ซิมการ์ด ระบบบิลลิ่งและระบบคอลเซ็นเตอร์
“ตอนนี้ลูกค้าสอบถามมาก แต่ยังไม่มีแรงส่งจากแบรนด์ ด้านการ ตลาดเราใช้ร้านไออีซีกับสื่อของเรา
แต่ช่วงนี้ถือว่าแค่ซอฟต์ลอนซ์ รอเจ้าของแบรนด์ออกโปรโมตแรงๆ เราถึงจะช่วยขย่มต่อ
รอจังหวะเวลาอยู่คาดว่าภายในเดือนมี.ค.น่าจะเห็นผลมากขึ้น ไทยโมบาย ถือเป็นระบบที่คุ้มค่า
เห็นด้วยกับการโปรโมตความเป็นไทย ซึ่งสอดคล้องกับภาพไออีซีที่เราพรีเซ็นต์ความเป็นบริษัทคนไทย
ซึ่งในปีนี้ไออีซี จะขายโทรศัพท์มือถือ 1 ล้านเครื่อง”
ด้านนายจง ดิลกสมบัติ กรรมการบริหารกลุ่มสามารถกล่าวว่า โอกาสของไทยโมบายมีมาก
ตอนนี้แค่อยู่ในช่วงเริ่มต้น แพกเกจ โปรโมชันถือว่าน่าสนใจมาก แต่ไม่ถึงกับตูมตามเพราะเป็นความตั้งใจที่ยังไม่ต้องการลูกค้าจำนวนมาก
เนื่องจากเครือข่ายยังไม่พร้อม หากมีลูกค้าจดทะเบียนมากอาจทำให้เกิดปัญหาได้
เขาย้ำว่าสิ่งสำคัญของไทยโมบายคือต้องสร้างความเข้าใจกับลูกค้าเรื่องคุณภาพเน็ตเวร์กที่ถือว่าดีวันดีคืน
รวมทั้งยังการโรมมิ่งกับเอไอเอส เพียงแต่ในแง่จิตวิทยาเมื่อมีเครือข่ายใหม่
ลูกค้ามักรู้สึกว่า เครือข่ายใหม่ ดีไม่พอ ไม่เท่ากับเครือข่ายเดิมที่มีอยู่
ทั้งๆที่เครือข่าย ใหม่ก็มีการใช้งานที่สะดวกในระดับหนึ่ง
“เมื่อเน็ตเวิร์กครบ 500 สถานีผมว่าพื้นที่ครอบคลุมมันแน่น ในระดับที่ยอมรับได้
เมื่อเทียบกับจำนวนลูกค้า ไทยโมบายยังมีโอกาส มาก เพราะแค่ลอตแรกลูกค้าของทศท.1.5แสนรายแล้ว
ยังมีลอตต่อไป อีก ลูกค้าโทรศัพท์พื้นฐาน 4 ล้านราย ขอแค่ 5-10% หรืออย่างน้อย
2 แสนรายก็ดีแล้วเท่ากับไทยโมบายจะมีฐานลูกค้า 4 แสนรายซึ่งถือว่า ไม่น้อย”
ส่วนประเด็นเม็ดเงินที่ใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้น เขาให้ความเห็นว่า
การอัดโฆษณาปูพรมของคู่แข่งจำนวนมาก ถือเป็น เรื่องน่าเป็นห่วงแต่เชื่อว่าการโฆษณาจริงๆ
ไม่ได้อยู่ที่เม็ดเงินอย่าง เดียว โดยเฉพาะในฐานะทศท.กับกสท.ไม่ต้องตอบว่ามาจากไหนเป็น
ใครทำธุรกิจอะไรเงินส่วนนั้นไม่จำเป็น และพาร์ตเนอร์ไทยโมบาย อย่างสามารถและไออีซี
มีความหนาแน่นในการประชาสัมพันธ์อยู่แล้วก็ทำควบคู่กันไป หากได้งบประมาณในระดับที่พอส่งข่าวสารถึงลูกค้าได้ก็ไม่น่าเป็นห่วง
ด้านนางอัมพร บุญสัมพันธ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและบริหารการตลาดทศท.กล่าวตบท้ายว่า
หากจะต้องทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ในระดับที่มีนัยสำคัญหรือพอสู้กับคู่แข่งได้อย่างน้อยจะต้องใช้
เงินประมาณ 100 ล้านบาท สำหรับงบโฆษณาในช่วง 3 เดือนแรก (พ.ย.-ม.ค.) กิจการร่วมค้าไทยโมบายใช้เงินไปประมาณ
20 ล้านบา