Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
ฟุตบอลโลกกับ “สนามรบ” บนโลกไซเบอร์             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
www resources

Sina Homepage
Sohu Homepage

   
search resources

Web Sites
sohu.com




ศึกฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนีปิดฉากลงด้วยความดุเดือด ตื่นเต้นและเร้าใจ แม้ฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศส จะรูดม่านไปหลายวันแล้วแต่ข่าวคราวควันหลงของฟุตบอลโลกก็ยังคงมีมาไม่ขาดสาย

ในช่วงหนึ่งเดือนของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดในประเทศจีนตกเป็นของสถานีโทรทัศน์กลางช่องกีฬา CCTV-5 แต่เพียงผู้เดียว โดยเพื่อการนี้นั้นทาง CCTV-5 นอกจากจะลงทุนซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจากทางฟีฟ่าแล้ว CCTV-5 ยังลงทุนส่งทีมข่าวหลายสิบชีวิตพร้อมกล้องบันทึกภาพไปเกาะติดฟุตบอลโลกสดถึงขอบสนามที่เยอรมนี ขณะเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่งเดือนของเทศกาลฟุตบอลโลก แทบจะทุกรายการของ CCTV-5 ก็ทุ่มเทให้กับการเกาะกระแสฟุตบอลโลกอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าในช่วงต้นเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา เปิด CCTV-5 ทีไรก็จะเจอแต่เรื่องบอลโลก บอลโลก และบอลโลก...

ด้วยการทุ่มทุนและทุ่มเทอันมหาศาลนี้เองส่งให้ในช่วงฟุตบอลโลกที่ผ่านมาราคาค่าลงโฆษณาใน CCTV-5 พุ่งกระฉูด โดยหากต้องการลงโฆษณาเพียง 5 วินาทีนั้นอย่างต่ำๆ ก็ต้องใช้เงินมากถึง 44,000 หยวน (ราว 2.2 ล้านบาท) ขณะที่อัตราลงโฆษณาในช่วงที่เรตติ้งสูงที่สุดนั้นว่ากันว่ามากถึง 4.19 ล้านหยวน (ราว 21 ล้านบาท)

กระนั้นการแข่งขันเพื่อถ่ายทอดและรายงานเรื่องราวเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลกที่เยอรมนีในปีนี้ ศึกระหว่างสื่อสารมวลชนกลับไม่ได้ปรากฏขึ้นบนหน้าจอโทรทัศน์ของชาวจีน เพราะช่อง CCTV-5 นั้นคว้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดแต่เพียงผู้เดียวไว้ตั้งแต่ไก่โห่ แต่การสัประยุทธ์อันดุเดือดนั้นกลับปรากฏขึ้นบน "สื่อใหม่" บนโลกไซเบอร์

ก่อนที่ฟุตบอลโลกจะเปิดฉากขึ้นเกือบสี่เดือน Sina.com เว็บไซต์พอร์ทัลซึ่งถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์พี่ใหญ่ของเว็บไซต์พอร์ทัลทั่วแผ่นดินจีนก็เปิดฉากการบุกก่อน ด้วยการเปิดแถลงข่าวใหญ่ว่า เว็บไซต์ของตนนั้นเตรียมเงินลงทุนไว้กว่า 50 ล้านหยวน (ราว 250 ล้านบาท) เพื่อทำการรายงานข่าวเกี่ยวกับฟุตบอลโลกผ่านเว็บไซต์ของตน พร้อมประกาศด้วยว่าพาร์ตเนอร์หลักๆ ของ Sina ในศึกครั้งนี้ได้แก่สำนักข่าวต่างประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเช่น Reuters AFP เป็นต้น

คล้อยหลังการเปิดแถลงข่าวของ Sina ได้ราวหนึ่งเดือน เว็บไซต์พอร์ทัลที่ใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศจีนอีกแห่งหนึ่งนามว่า Sohu.com ก็ออกมาดำเนินการโต้กลับแบบฉับพลัน โดยการโต้กลับครั้งนี้ถือว่าได้ผลชะงัด เพราะ Sohu ลั่นออกมาว่า เว็บไซต์ของตนนั้นคว้าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกบนเว็บไซต์จาก FIFA เรียบร้อยแล้ว โดยมีแหล่งข่าวเปิดเผยว่างานนี้ Sohu ทุ่มเงินไปมากกว่า 10 ล้านหยวน (ราว 50 ล้านบาท)

การประกาศซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกบนเว็บไซต์ของ Sohu ถือได้ว่าสร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการไซเบอร์ของจีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อสองปีก่อนทาง FIFA ก็เคยยื่นข้อเสนอเดียว กันให้กับบรรดาเว็บไซต์จีนมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่กลับไม่มีใครกล้าพอที่จะควักกระเป๋าซื้อ เนื่องจากเมื่อเปิดดูสถิติในฟุตบอลโลกเมื่อ 4 ปีที่แล้ว พ.ศ.2545 (ค.ศ.2002) ที่จัดขึ้น ณ ประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่น รายได้จากการโฆษณาบนเว็บไซต์ของจีนโดยรวมในฟุตบอลโลกครั้งนั้นอยู่ที่เพียงแค่ระดับ 20 ล้านหยวน (ราว 100 ล้านบาท) เท่านั้น นอกจาก นี้ ณ เวลานั้นก็ยังไม่มีเว็บไซต์แห่งใดเชื่อมั่นว่า เทคโนโลยีการถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอบนเว็บไซต์จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นพอที่จะทำให้การดูฟุตบอลผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างไม่ติดขัดและออกรสชาติเพียงพอ

จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยี P2P (Peer to Peer) ถูกพัฒนาขึ้น และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในประเทศจีนแพร่หลาย Sohu จึงตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ดังกล่าวจาก FIFA ในที่สุด

ทั้งนี้เมื่อ Sohu ทำการโต้กลับอย่างฉับพลันจนพี่ใหญ่อย่าง Sina ออกอาการซวนเซ ผู้บริหารเว็บไซต์ Sina จึงออกมาโต้ตอบบ้าง ด้วยการเปิดตัวลูกเล่นต่างๆ เกี่ยวกับฟุตบอลโลกบนเว็บไซต์ของตน เช่น เปิดตัว Blog บอลโลกที่เป็นการเชิญเอาคนดังของจีนจากหลากหลายสาขามาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลโลกบนเว็บไซต์ เปิดตัวการประกวดหามิสฟุตบอลโลกผ่านอินเทอร์เน็ต ควักกระเป๋าหลายล้านหยวนเพื่อซื้อภาพเด็ดจากสำนักข่าวที่ขายภาพกีฬาโดยเฉพาะเพิ่มเติม ฯลฯ

ระหว่างที่การสู้รบระหว่างเว็บไซต์ พอร์ทัลทั้งสองเจ้าคือ Sina และ Sohu กำลังขึ้นถึงจุดไคลแม็กซ์ เว็บพอร์ทัลอีกแห่งหนึ่งนาม Tom.com ก็ออกมาประกาศตัวว่าจะกระโดดลงสนามรบเข้าร่วมศึกไซเบอร์ในครั้งนี้บ้าง โดย Tom.com ประกาศว่าตนได้ทุ่มเงินกว่า 30 ล้านหยวน (ราว 150 ล้านบาท) เซ็นสัญญาจับมือกับหนังสือพิมพ์กีฬาอันดับหนึ่งและมียอดจำหน่ายสูงที่สุดในประเทศจีนอย่างถี่ถานโจวเป้า เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ Tom ก็ยังควักกระเป๋าอีก 5 ล้านหยวน (ราว 25 ล้านบาท) เพื่อดึงเอาตัวหวงเจี้ยนเสียง นักวิจารณ์กีฬาระดับดาราของจีนมาวิจารณ์บอลให้กับเว็บไซต์ของตัวเองด้วย

ไม่เพียงแต่การทุ่มทุนไปกับเนื้อหาเกี่ยวกับฟุตบอลโลกบนเว็บไซต์ของตนเอง เว็บไซต์ทั้งสามยังวางแผนครอบคลุมไปถึงการซื้อโฆษณาบนสื่อแบบดั้งเดิมคือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อกลางแจ้งเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ของตนเองอีกต่อหนึ่งด้วย

ถามว่าในเมื่อเว็บไซต์แต่ละแห่งทุ่มทุนกันเยอะถึงเพียงนี้ แล้วตัวเลขการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตของจีนในช่วงฟุตบอลโลกครั้งนี้นั้นแท้จริงแล้วมีมูลค่าเท่าไรกันแน่?

คำตอบของคำถามนี้นั้น สำนักวิจัย เอซี นีลสัน ประเมินออกมาแล้วว่าจากตัวเลขมูลค่าการโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตจีนระหว่างช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อปี พ.ศ.2545 ที่อยู่ในระดับ 20 ล้านหยวน (ราว 100 ล้านบาท) ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2549 ตัวเลข ดังกล่าวได้เติบโตขึ้นราว 5-7 เท่า โดยมูลค่านั้นอาจจะพุ่งขึ้นสูงถึง 150 ล้านหยวน (ราว 750 ล้านบาท) ก็เป็นได้

หลังมหกรรมฟุตบอลโลกปิดฉากลง เมื่อนำตัวเลขรวมมาแจกแจง ประเมินแบ่งย่อยออกเป็นรายได้ที่เว็บไซต์แต่ละแห่งได้ก็จะพบว่า ในเค้ก 150 ล้านหยวนนี้ Sohu คว้าไป 50 ล้านหยวน (ราว 250 ล้านบาท) เทียบกับเงินลงทุนที่ควักกระเป๋าไปราว 20 ล้านหยวน แล้วก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ด้าน Sina ซึ่งลงทุนไปราว 50 ล้านหยวน ก็ประกาศออกมาว่าตัวเองมีรายได้จากโฆษณาระหว่างช่วงฟุตบอลโลกถึง 70 ล้านหยวน

ขณะเดียวกันในส่วนของน้องเล็กอย่าง Tom ที่ทุ่มทุนสร้างไปอย่างน้อยๆ ก็ 35 ล้านหยวน ผลปรากฏออกมาว่ากลับแบ่งเค้กโฆษณาไปได้แค่ราว 10 ล้านหยวนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รายได้ส่วนใหญ่ของ Tom กลับไม่ได้มาจากโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต แต่มาจากรายได้ที่ได้จากค่าส่งข้อความสั้น (SMS) อันเป็นความร่วมมือระหว่าง Tom กับ CCTV-5 สถานีโทรทัศน์ผู้ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกแต่เพียงเจ้าเดียวในประเทศจีน

เห็นการต่อสู้และตัวเลขอย่างนี้แล้ว ลองเดาดูสิครับว่า มหกรรมฟุตบอลโลกในอีก 4 ปีข้างหน้าซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ เว็บไซต์จีนจะฟัดกันดุเดือดขนาดไหน และมูลค่าโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us