Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
โรงเรียนช่างซ่อม             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงเรียนแสงทองโทรทัศน์

   
search resources

SMEs
Education
โรงเรียนแสงทองโทรทัศน์
ธนาชัย อึ้งสมรรถโกษา




ได้ชื่อว่าโรงเรียน แต่เด็กนักเรียนกลับไม่มียูนิฟอร์ม ผู้หญิงไม่ต้องใส่คอซอง ส่วนผู้ชายก็ไม่ต้องตัดผมเกรียนจนแทบจะเห็นหนังศีรษะ เพราะว่าที่นี่เป็นโรงเรียนสอนซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไอที ที่ชื่อ "โรงเรียนแสงทองโทรทัศน์"

เพราะของใช้ย่อมมีวันเสีย และเมื่อเสียคนก็มักไม่อยากจะทิ้งให้เป็นขยะ โดยที่ยังไม่ได้พยายามซ่อมมันให้ใช้งานได้อีกครั้ง หากเทียบราคาค่าซ่อมแล้วพบว่าคุ้มค่ากว่าการซื้อของใหม่ และยังใช้งานได้ดีเช่นเดิม

ทำให้โรงเรียนแสงทองโทรทัศน์ โรงเรียนนอกระบบที่เปิดสอนให้คนที่ต้องการจะเป็นเจ้าของกิจการร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไอทียังคงอยู่มาได้นานจนจะย่างเข้าปีที่ 30 ของการก่อตั้งโรงเรียนในปีถัดไป

หลังจากผู้เป็นพ่อ อดีตครูที่ผันตัวเองมาเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ลดบทบาทการเป็นเจ้าของ มานั่งมองรุ่นลูกที่ขึ้นมาแทนที่ และเลือกที่จะอยู่เบื้องหลังของโรงเรียนแทน โรงเรียนแห่งนี้จึงเปลี่ยนถ่ายมาอยู่ในมือของรุ่นที่สองของครอบครัว เพื่อดำเนินกิจการของโรงเรียนต่อไป

โรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้มีรั้วรอบขอบชิดอย่างที่หลายคนจินตนาการเอาไว้ ไม่มีครูยืนอยู่หน้าโรงเรียนเพื่อคอยรับไหว้นักเรียนก่อนก้าวข้ามรั้วเข้ามาในอาณาบริเวณของโรงเรียน

สิ่งที่เห็นเป็นเพียงตึกแถวขนาดไม่กี่คูหา ที่รักษาเอกลักษณ์ของตนมา ตั้งแต่ต้นเมื่อ 29 ปีก่อนจนถึงทุกวันนี้ด้วยการติดกระจกใส แลเห็นภายในห้องเรียนที่อยู่ถัดจากตัวกระจกเป็นตัวคนเรียนหนังสือนั่งอยู่เป็นแถวๆ และมองเห็นครูผู้สอนกำลังเขียนบทเรียนบนกระดานไวท์บอร์ด

สำหรับคนทั่วไป โรงเรียนแสงทองโทรทัศน์อาจจะไม่คุ้นหู หรือดูน่าพิสมัยจนใคร่อยากจะไปลงเรียนมากนัก แต่สำหรับคนที่มีอาชีพเป็นช่างซ่อม ย่อมรู้จักชื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างดี

แสงทองเปิดคอร์สสอนให้คนเป็นช่างซ่อมตั้งแต่โทรทัศน์ขาวดำ โทรทัศน์สี เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี ก่อนขยับขยายเปิดให้บริการสอนซ่อม เครื่องเย็น จำพวกตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ไอที และคอมพิวเตอร์ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาหลังการก่อตั้ง และสอนซ่อมโทรศัพท์มือถือ ที่เริ่มเข้ามาฮิตติดลมบนเป็นคอร์สสุดนิยมนับตั้งแต่เปิดสอน 2 ปีที่แล้ว

คอร์สสอนซ่อมเครื่องเย็นใช้เวลาเพียงสองสัปดาห์ก็ออกมาเป็นช่างซ่อมได้ ขณะที่คอร์สซ่อมอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ซ่อมได้ตั้งแต่อาการโทรทัศน์ติดๆ ดับๆ ธรรมดา ไปจนถึงการซ่อมแบบเปลี่ยนชุดอุปกรณ์เป็นตัวๆ อาจจะใช้เวลายาวนานแบบเต็มวันร่วมปีเลยทีเดียว

ไม่นับรวมการเปิดคอร์สอบรมจัดเวิร์กช็อปให้กับช่างซ่อมศูนย์บริการของสินค้าไอทีอีกหลายแห่ง ตามความต้องการเป็นเฉพาะบทเรียน อาทิ ซ่อมจอคอมพิวเตอร์ และกล้องดิจิตอลที่มีบริษัทใหญ่โตแวะเวียนมาใช้บริการแสงทองอยู่เนืองๆ

นักเรียนของแสงทองคือคนที่อยากจะเป็นช่างซ่อม คนที่ว่างงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุที่เข้ามาเรียนฟรีได้ตลอดการศึกษา ล่าสุดโรงเรียนเพิ่งทำสถิติสูงสุดรับนักเรียนอายุ 108 ปี ที่ลงทุนบินมาจากภูเก็ตเข้าเรียนร่วมชั้นกับคนอื่นๆ ในคอร์สสอนการซ่อมอิเล็กทรอนิกส์

ธนาชัย อึ้งสมรรถโกษา ลูกชายคนโตของครอบครัว ปัจจุบันรั้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการโรงเรียน และกลุ่มธุรกิจในเครือด้วยวัยเพียง 30 ต้นๆ เพิ่งจะเข้ามารับช่วงต่อจากผู้เป็นพ่อได้ไม่ถึง 6 ปีเต็ม หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการจัดการเทคโนโลยีมาจากสหรัฐอเมริกา

ด้วยความที่เป็นคนหนุ่มพกดีกรีปริญญาตรีฟิสิกส์ประยุกต์มาด้วย ทำให้ธนาชัยซึ่งเข้ามารับช่วงต่อจากผู้เป็นพ่อ มองเห็นลู่ทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจแทนที่จะเปิดแค่โรงเรียนสอนซ่อมเพียงอย่างเดียวต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดก็ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติมจากความสามารถที่มีอยู่เดิมได้อย่างที่ควรจะเป็น

ธนาชัยมองว่าโทรศัพท์มือถือไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีคนเข้าเรียนเพื่อซ่อมให้เป็นในโรงเรียนของเขาแบบเต็มแทบทุกรอบที่เปิดสอนทั้งสิ้น 5 สาขาแล้ว แต่ยังเป็นอุปกรณ์หรือของใช้ที่คนไทยนิยมกันเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าแทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตแต่ละวันอย่างนั้น

การต่อยอดธุรกิจของเขาจึงเริ่มจากการสอนซ่อมโทรศัพท์มือถือในเวลาต่อมา โดยเขาตัดสินใจเปิดตัวธุรกิจที่ตั้งชื่อว่า "Power Clinic" เมื่อไม่นานมานี้ หลักๆ เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการขายแฟรนไชส์ศูนย์ซ่อม ซื้อ และขายโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อแบรนด์เดียวกัน

แฟรนไชส์ของเขาเหมารวมทั้งอุปกรณ์ในการตั้งบูธขนาดย่อม หรือร้านค้าขนาด 1 คูหา คอร์สสอนซ่อมแบบการบริหารจัดการร้าน และบริการจัดส่งและให้เครดิตร้านค้าด้วย ราคาที่สมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่จะได้กลับคืนไป

แสงทองในวัยใกล้ 30 ปี เพิ่งจะเริ่มต้นนวัตกรรมใหม่ในการคิดค้นต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่ด้วยการหันมาขายแฟรนไชส์ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของตนที่มีอยู่แล้ว ผนวกไอเดียแนวคิดในการทำธุรกิจแบบใหม่

ในวัย 30 ต้นๆ ของแสงทองลูกชายวัยโตกว่าอายุของโรงเรียนเพียงเล็กน้อย หวังจะเปิดซ่อมเครื่องเล่นเพลงเอ็มพีสาม เครื่องเล่นที่กำลังเกลื่อนเมืองในตอนนี้ที่เน้นการซ่อมซอฟต์แวร์มากกว่าตัวฮาร์ดแวร์และหวังจะเปิดสอนซ่อมกล้องดิจิตอลด้วยในเร็ววันนี้ควบคู่กันไป

ใช่เพียงธุรกิจใหญ่เท่านั้นที่ต้องการนวัตกรรมด้านรูปแบบการให้บริการและนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อความอยู่รอดในวงการแข่งขันที่เข้มข้นยิ่งกว่ากาแฟดำเสียอีก แต่ธุรกิจเล็กๆ ที่มีอยู่มากมายที่เรียกกันว่า เอสเอ็มอี คงต้องการแนวทางแบบเดียวกัน ดูตัวอย่างจากโรงเรียนแสงทองอิเล็กทรอนิกส์แห่งนี้นี่เอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us