Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
KBank และ KFactoring ร่วมกันรุกตลาดสินเชื่อ SMEs             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย
โฮมเพจ บริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย จำกัด

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
แฟคเตอริ่งกสิกรไทย, บจก.
SMEs
Loan




KBank และ KFactoring ประกาศแผนความร่วมมือทางธุรกิจกันอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อช่วยสนับสนุนแผนขยายตลาดสินเชื่อกลุ่ม SMEs ของธนาคาร โดยการเปิดตัว K-Export Credit & Guarantee ซึ่งเป็นสินเชื่อส่งออกแบบครบวงจรปลอดจากหลักประกัน

เป็นเวลา 5 เดือนมาแล้วที่ K-Bank เคยประกาศตัวเองไว้อย่างชัดเจนว่า จะต้องเข้ามาจับตลาดลูกค้าในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs โดยการเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้นตามความจำเป็นของลูกค้าในกลุ่มนี้

และ K-Export Credit & Guarantee นี้อาจถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่อันเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างธนาคารกสิกรไทย และบริษัทแฟคตอริ่งกสิกรไทย เพื่อเข้ามาช่วยเสริมความต้องการใช้บริการสินเชื่อของผู้ส่งออกในกลุ่ม SMEs ที่กำลังตกอยู่ท่ามกลางปัญหาหลักๆ ใน 2 ประการคือ ปัญหาด้านความเสี่ยงทางธุรกิจที่มีเพิ่มขึ้นตามแรงการชะลอตัวลงของตลาดโลก

รวมถึงปัญหาด้านพลังในการต่อรองของพวกตนกับคู่ค้าต่างประเทศ ซึ่งยิ่งนับวันมีแต่จะหดแคบลง ตามการแข็งค่าของเงินบาท ตลอดจนการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย และความพยายามในการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้า เพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศของตนอีกด้วย

โดยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชาติชาย สุนทรเกียรติ และปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และปุณฑริกา ใบเงิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟคตอริ่งกสิกรไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวการให้บริการในแพ็กเกจสินเชื่อ SMEs เพื่อการส่งออกนี้

สำหรับเงื่อนไขการให้บริการนั้นจะเป็นการให้บริการที่เต็มรูปแบบ โดยธนาคารฯ จะสนับสนุนสินเชื่อระยะสั้นในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหลังส่งออก (Post-Shipment financing) และระหว่างรอเรียกเก็บเงินจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินส่งออกตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยผู้ขอสินเชื่อไม่ใช้หลักทรัพย์มาค้ำประกันการกู้ยืมนี้

ด้านอัตราดอกเบี้ย ธนาคารฯ กำหนดไว้ที่ MOR-2.0% ถึง MOR+1.75% และผู้กู้สามารถขอกู้ได้สูงถึง 90% ของมูลค่าใบแจ้งหนี้ หรือสูงสุด 200 ล้านบาท โดยผู้ยื่นขอสินเชื่อ K-Export Credit & Guarantee และในช่วง 3 เดือนแรก ผู้กู้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

ปกรณ์บอกเหตุผลในการออกผลิตภัณฑ์นี้ว่า เศรษฐกิจไทยได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการส่งออก โดยเมื่อไตรมาสแรกของปี 2549 มูลค่าการส่งออกของไทยขยายตัวได้ถึง 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งเคยขยายตัวได้เพียง แค่ 3% โดยภาครัฐได้ตั้งเป้าการขยายตัวทั้งปีไว้ที่ 15-17%

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรายย่อยและรายกลาง ต่างก็จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจที่กำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในตลาดส่งออกหลักๆ ของไทย อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อียู และอาเซียน จนทำให้ผู้นำเข้ามีอำนาจในการต่อรองยิ่งขึ้น ทั้งในแง่การกำหนดเทอมการค้า เวลาการส่งมอบสินค้าของผู้ส่งออกจากประเทศไทย รวมถึงช่วงเวลาการชำระค่าสินค้า จากผู้นำเข้าในต่างประเทศ

ที่สำคัญอีกประการคือ ปัญหาวิธีการชำระเงินระหว่างประเทศในรูปของ open account ที่มีสัดส่วนความนิยมสูงถึง 70% ของระบบการชำระเงินโดยรวม เนื่องจากเป็นระบบการชำระเงินที่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับการชำระเงินในรูปแบบอื่นๆ

แต่ขณะเดียวกันยังถือว่าเป็นระบบการชำระเงินที่ผู้ส่งออกอาจต้องยอมแบกรับความเสี่ยงจากโอกาสที่จะไม่ได้รับชำระหนี้จากผู้นำเข้าในต่างประเทศตามกำหนดเวลาที่เคยตกลงกันไว้ จนทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความเพียงพอของเงินทุน ที่สามารถจะนำมาเพื่อเข้าบุกเบิกตลาดส่งออกแห่งใหม่ๆ อีกด้วย

ดังนั้นในการให้บริการสินเชื่อ K-Export Credit & Guarantee จึงต้องมีบริษัท แฟคตอริ่งกสิกรไทย เข้ามาช่วยทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ และให้บริการเรียกเก็บหนี้จากผู้ซื้อในต่างประเทศด้วย เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกมั่นใจได้ว่า พวกตนจะได้รับเงินค่าสินค้าครบจนเต็มจำนวน ทั้งนี้ บริษัทฯ จะคิดค่าธรรมเนียมบริการค้ำประกันและเรียกเก็บหนี้ ในอัตรา 0.8-1.0% ของมูลค่าใบแจ้งหนี้ที่เรียกเก็บ หรือ Invoice

นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังได้ตั้งเป้าการให้สินเชื่อ K-Export Credit & Guarantee ไว้ที่ 6,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้ขอกู้ทั้งที่เป็นลูกค้าเก่าและใหม่ของธนาคารฯ ราว 100 ราย

สำหรับผลดำเนินงานด้านการให้สินเชื่อ SMEs ของธนาคารกสิกรไทย เมื่อสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2549 มีทั้งสิ้น 233,831 ล้านบาท โดยธนาคารฯ ได้คาดหมายว่า ยอดการให้สินเชื่อรวมในกลุ่ม SMEs น่าจะอยู่ที่ 270,000 ล้านบาท เมื่อถึงสิ้นปี โดยเพิ่มขึ้นราว 40,000 ล้านบาท

ส่วนอัตราการเติบโตของการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมถึงการให้บริการด้านการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศนั้น ได้กำหนดไว้ที่ 35% ของยอดธุรกรรมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเมื่อปีก่อน

ทั้งนี้ โดยโครงสร้างในกลุ่มลูกค้า SMEs แบ่งตามวงเงินหมุนเวียนนั้น ประมาณ 60% จะเป็นกลุ่มที่มีวงเงินหมุนเวียนตั้งแต่ 400 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนอีก 40% เป็นกลุ่มที่มีวงเงินเงินทุนหมุนเวียนที่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท โดยมียอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ 80,803 ล้านบาท

KBank ได้เริ่มแบ่งกลุ่มลูกค้า SMEs ตามวงเงินส่งออกมา ตั้งแต่เมื่อปลายปีก่อน โดยผลจากการแบ่งกลุ่มครั้งนั้น ช่วยให้ธนาคารฯ เห็นภาพการปรับตัวลดลงในสินเชื่อของกลุ่ม SMEs เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมาก หันไประดมทุนเองจากตลาดที่มีต้นทุนต่ำกว่าการกู้ยืมธนาคาร ส่งผลให้ยอดการระดมทุนนี้มีรวมกันสูงถึง 80,000 ล้านบาท จนเบียดให้ยอดการกู้ยืมเมื่อปีก่อนของลูกค้า SMEs หดลงเหลือเพียง 40,000 ล้านบาท

แต่กระนั้นก็ตาม ธนาคารฯ เชื่อว่า เป้าสินเชื่อ SMEs ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงครึ่งหนึ่งของสินเชื่อรวมทั้งหมดที่มีของธนาคารฯ น่าจะขยายตัวเติบโตได้เป็น 16% ทั้งยังตั้งเป้าหมายว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 30% จาก 24%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us