|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2549
|
|
โครงการแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสี มาตราส่วน 1 : 4,000 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบโดยกรมพัฒนาที่ดิน อาจไม่เป็นที่น่าสนใจนักสำหรับประชาชนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่ทำงานในแวดวงภูมิศาสตร์ หรือหน่วยงานที่ต้องใช้แผนที่ประกอบการทำงาน ต้องยอมรับว่าโครงการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากแผนที่ชุดนี้สามารถจะนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมหลายหน่วยงานด้วยกัน อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมที่ดิน กรมชลประทาน การประปาส่วนภูมิภาค หรือแม้แต่จังหวัดและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก็ตาม
โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศไทย ขนาดมาตราส่วน 1 : 4,000 ซึ่งเป็นแผนที่ที่มีความละเอียดสูงสุดที่ประเทศไทยเคยจัดทำขึ้น โดยใช้งบประมาณรวม 1,163.5 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 โครงการ คือ การบินถ่ายภาพทางอากาศ 331.5 ล้านบาท และการนำภาพถ่ายมาทำเป็นแผนที่ 832 ล้านบาท
"ความละเอียดขนาดนี้และทำทั่วทั้งประเทศอย่างนี้ ยังไม่เคยมีที่ไหนทำ เพราะอเมริกาก็เคยทำเฉพาะพื้นที่ในเขตเมืองเท่านั้น" ชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินกล่าว
สาเหตุที่ต้องทำให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศเช่นนี้เนื่องจากการใช้งานที่ดินของไทยมีทั้งในพื้นที่เขตเมือง ชนบท รวมไปถึงพื้นที่ป่าเขาและลำน้ำต่างๆ การจัดทำแผนที่เช่นนี้จึงช่วยประหยัดงบประมาณจากการทำแผนที่ซ้ำซ้อนของแต่ละหน่วยราชการและยังแก้ปัญหาความไม่ตรงกันของข้อมูลในแผนที่ที่แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้น อีกด้วย เนื่องจากโครงการนี้การตรวจสอบข้อมูลโดย 4 หน่วยงานสำคัญด้วยกัน ได้แก่ กรมแผนที่ทหาร ทำการตรวจสอบงานหมุดหลักฐานภาคพื้นดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตรวจสอบงานขยายจุดบังคับภาพถ่ายทางอากาศ บริษัท Consultant of Technology ตรวจสอบงานจัดทำแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข และกรมโยธาธิการและผังเมืองทำการตรวจสอบงานแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข
ปัจจุบันแผนที่ชุดนี้มีการจัดทำและส่งมอบไปแล้วกว่า 60% แต่ก็มีหน่วยงานราชการหลายแห่งติดต่อขอสำเนาไปใช้งานบ้างแล้ว เช่น สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง และการเคหะแห่งชาติ
"จังหวัดสุพรรณบุรีก็มาขอเอาไปใช้ เขาจะเอาไปช่วยในการจัดเก็บภาษีที่ดิน"
การแถลงข่าวครั้งนี้มีการโชว์แผนที่บริเวณท้องสนามหลวงที่ทำเสร็จแล้วให้กับสื่อมวลชนได้ชม ซึ่งมีความละเอียดถึงขนาดที่เห็นหลังคารถที่กำลังวิ่งอยู่ในขณะนั้นเลยทีเดียว ความคมชัดแทบไม่ต่างไปจากสิ่งที่ได้เห็นจาก Google Earth และความละเอียดขนาดนี้นี่เอง ทำให้แผนที่ชุดนี้ได้รับอนุญาตให้นำไปใช้งานได้เฉพาะหน่วยงานราชการเท่านั้น เนื่องจากเหตุผลทางด้านความมั่นคงเพราะเป็นแผนที่ ที่มีพิกัดให้เสร็จสรรพ หากหลุดไปถึงมือผู้ไม่ประสงค์ดีก็อาจนำไปใช้งานในทางที่ผิดได้
เพราะฉะนั้น ระหว่างนี้เอกชนก็ใช้ Google Earth ไปพลางๆ ก่อนก็แล้วกัน
|
|
|
|
|