Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
อยากรวย เลิกหวย ปลูกอ้อย...ดีกว่า             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

from Family to be Professional
จากรุ่นที่ 2 สู่รุ่นที่ 3
น้ำตาลมิตรผล บังเอิญจนได้เรื่อง
บ้านปู ดอกผลที่ใหญ่เกินคาด
ดิ เอราวัณ เต็มไปด้วยบทเรียน

   
www resources

โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.
Agriculture




ถ้าหากมีผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็น ส.ส.ผู้ทรงเกียรติคนไหนเข้าไปหาเสียงที่บ้านหนองดินดำ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แล้วเอานโยบายหาเสียงประเภทประชานิยมไปหว่านล้อมชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นปลดหนี้เกษตรกร เรียนฟรีจะกี่ปีก็แล้วแต่ หรือสัญญาว่าจะแจกโคล้านตัวเพื่อหวังแลกกับคะแนนเสียง

ชาวบ้านที่นี่คงหัวเราะกันจนฟันร่วง แล้วก็จะจำหน้าผู้สมัครคนนั้นเอาไว้ให้แม่นๆ เพื่อที่จะได้ไม่เผลอไปกาเลือกเข้ามาเป็น ส.ส. เพราะคนที่นี่ถึงเป็นหนี้ แต่ก็มีปัญญาจ่าย โคล้านตัวก็คงไม่อยากได้ เพราะที่นี่เขาเลี้ยงโคตัวละล้าน (บาท) ดูแลถึงขนาดที่ต้องกางมุ้งให้นอนก็แล้วกัน

บ้านหนองดินดำเป็นหนึ่งใน 50 กว่าหมู่บ้านในโครงการหมู่บ้านเพิ่มผลผลิตของน้ำตาลมิตรผล ที่มิตรผลเข้ามาดูแลและให้ความรู้ในเรื่องการผลิตอ้อยอย่างเข้มข้นและครบวงจร ตั้งแต่พันธุ์อ้อยไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยไปยังโรงงาน

คำถามก็คือปลูกอ้อยนี่ดีจริงหรือ?

เอาเป็นว่าชาวบ้านที่นี่มีอยู่เกือบ 700 ครัวเรือน เมื่อก่อนก็ทำนา ปลูกปอ ปลูกมันสำปะหลัง แต่เดี๋ยวนี้มีสัก 50 ครัวเรือนเท่านั้นที่ไม่ได้ปลูกอ้อย แล้วพื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่ก็กลายเป็นไร่อ้อยไปเกือบหมดแล้ว จะเหลือที่เป็นนาข้าวอยู่ก็ไม่กี่แปลงที่ยังเหลืออยู่ก็เพราะที่ตรงนั้นมันเป็นที่ลุ่มปลูกอ้อยไม่ได้

ชาวบ้านที่นี่ยอมรับว่า ตั้งแต่เปลี่ยนมาปลูกอ้อยชีวิตก็ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น หลายคนส่งลูกเรียนจนจบระดับปริญญาตรี มีเงินฝากอยู่ในธนาคาร บางคนถึงจะเป็นหนี้อยู่บ้างแต่ก็เป็นหนี้กับมิตรผล เพราะเอาเงินเอาปุ๋ยมาดูแลอ้อย มาปรับปรุงไร่ แถมเป็นหนี้ที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ขายอ้อยได้ค่อยจ่ายเงินคืน ไม่เหมือนกับหนี้นอกระบบหรือหนี้ธนาคารที่ดอกเบี้ยเดินทุกวัน

ถึงอย่างนี้ก็ยังมีเรื่องให้หนักใจ เพราะลูกหลานกลับสนใจไปทำงานในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่มากกว่าจะสานต่อชีวิตชาวไร่อ้อย ชาวไร่ที่นี่ที่ "ผู้จัดการ" เห็นส่วนใหญ่ก็เลยเป็นคนในวัยเกิน 40 ขึ้นไปที่ยังรออยู่ว่าเมื่อไหร่ลูกจะกลับมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us