Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
“มี่เผิง” ลูกที่อาจจะโตแซงแม่             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.
Agriculture
Guangxi Nanning East Asia Sugar




มิตรผลเข้าไปลงทุนธุรกิจน้ำตาลในประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2536 ถึงวันนี้เป็นเวลา 13 ปีพอดี แต่คนทั่วไปกลับไม่ค่อยรับรู้เรื่องนี้มากนัก เพราะถ้าพูดถึงกลุ่มทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในจีน คนส่วนมากมักจะคิดถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซี.พี. เสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่บริษัท Guangxi Nanning East Asia Sugar หรือที่รู้จักกันในนาม "มี่เผิง" (Mipeng - เพื่อนของความหวาน) ที่มิตรผลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับรัฐบาลจีนประสบความสำเร็จอย่างมาก

มากขนาดที่ว่าเป็นบริษัทต่างชาติที่เสียภาษีให้กับมณฑลกวางสีสูงเป็นอันดับ 1 และยังติดกลุ่ม 10 อันดับแรกของบริษัทต่างชาติที่เสียภาษีสูงสุดของจีนอีกด้วย

ถึงแม้มิตรผลจะมองหาโอกาสที่จะลงทุนในต่างประเทศมาตั้งแต่ช่วงปี 2533 แต่ก็ไม่มีความคิดที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศจีนมาก่อน จนกระทั่งมีญาติแซ่เดียวกันคนหนึ่งที่ทำธุรกิจอยู่ที่ฮ่องกง และต้องเดินทางเข้าออกประเทศจีนอยู่บ่อยครั้งมาให้ข้อมูลว่า จีนกำลังมีนโยบายเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐวิสาหกิจที่กำลังขาดทุนจะเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างชาติมาถือหุ้นใหญ่ได้ ซึ่งโรงงานน้ำตาลก็เข้าข่ายอยู่ในนั้น

"เราก็มาคิดกันในกลุ่มพี่น้อง ก็เห็นว่ามีความเสี่ยงไม่มาก ข้อเสนอของเขาก็น่าสนใจ ไปดูพื้นที่มาก็ใช้ได้ คุณอิสระกับคุณกมล แล้วก็คุณสุนทรที่เป็น expert ด้านไร่ไปดูที่แล้วก็ใช้ได้ อ้อยก็คุณภาพดี ลงทุนก็ไม่ค่อยมากนักก็ใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน ไม่กี่เดือน" วิฑูรย์ ว่องกุศลกิจเล่าถึงการตัดสินใจของตระกูลในเวลานั้น

มณฑลกวางสีที่มิตรผลเข้าไปลงทุนนี้ถือเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาลแหล่งสำคัญของจีน จนถึงกับมีชื่อเรียกว่าเป็น Sugar Province of China เลยทีเดียว

ปี 2536 ที่มิตรผลเข้าไปลงทุนในจีนประเดิมด้วยการซื้อโรงงานมาปรับปรุงใหม่จำนวน 4 แห่งด้วยกัน คือ ฝูหนาน ทั่วหลู ฉงจั่ว และหนิงหมิง ต่อมาในปี 2541 จึงซื้อโรงงานไห่ถัง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง ทั้ง 5 โรงงานนี้ มิตรผลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ตั้งแต่ 60% ไปจนถึง 90% ทุนจดทะเบียนของทั้ง 5 โรงงานนี้ รวมเป็นเงิน 738 ล้านหยวน ขณะที่ทรัพย์สินทั้งหมดมีถึง 1,721 ล้านหยวน ถ้าอยากรู้ว่าคิดเป็นเงินไทยได้เท่าไร ตัวเลขกลมๆ ก็เอา 5 คูณเข้าไป

ปัจจุบันมี่เผิงเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10% โดยในปีการผลิตที่เพิ่งจะจบไปมี่เผิงผลิตน้ำตาลได้ 893,000 ตัน แซงหน้าตัวเลข 891,000 ตันของมิตรผลในประเทศไทยไปได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ที่เปิดดำเนินการมา ถึงแม้ว่ากำลังการผลิตที่โรงงานจะมีน้อยกว่าของไทยก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความแล้งทำให้ปริมาณอ้อยส่งเข้าโรงงานมิตรผลลดต่ำลง ประกอบกับตัวเลขผลผลิตอ้อยต่อไร่ที่จีนดีกว่ามาก ปัจจุบันผลผลิตอ้อยในประเทศจีนโดยเฉลี่ยทำได้ 11 ตันต่อไร่ เทียบกับของไทยที่ทำได้เฉลี่ยเพียง 7 ตันเท่านั้น

แต่ผู้บริหารที่นี่ยังเชื่อว่าตัวเลขผลผลิตจะสามารถดันให้เพิ่มสูงขึ้นได้อีก โดยมีการตั้งเป้ากันว่าน่าจะทำได้ถึง 14 ตันต่อไร่ ซึ่งก็จะทำให้ผลผลิตอ้อยที่จะส่งมายังโรงงานเพิ่มขึ้นอีกมาก

การเข้ามาประเทศจีนของมิตรผลในระยะแรกได้มุ่งให้ความสำคัญไปที่การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรในโรงงาน เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงงานแต่ละแห่งประสบปัญหาขาดทุน โดยได้นำเอาประสบการณ์และความรู้จากประเทศไทยไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

หลังจากนั้นจึงเริ่มให้ความสนใจต่อการพัฒนาวัตถุดิบ โดยนำเอาโมเดลจากมิตรผลไปใช้ที่นั่นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์อ้อย การพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรนำเทคนิคใหม่ๆ ไปให้ความรู้ชาวไร่ ไปจนถึงระบบสัญญาที่มั่นคง สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวไร่ให้ความเชื่อถือและมาเป็นคู่สัญญากับมี่เผิงมากขึ้น

ผู้จัดการโรงงานของมี่เผิงซึ่งเป็นชาวจีนเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ก่อนหน้าที่มิตรผลจะเข้ามาถือหุ้นในโรงงานน้ำตาลที่นี่ บางโรงงานมีปัญหาจนต้องติดค้างค่าอ้อยชาวไร่นานถึง 2 ปีก็ยังมี

"สิ่งที่พิสูจน์ก็คือประเทศจีนเคยทำน้ำตาลได้ปีละ 10 ล้านตัน ปีนี้ได้ 9 ล้านตัน เพราะฉะนั้นผลผลิตของบางบริษัทจะลดลง แต่ของเราเพิ่มขึ้นตลอด เพราะชาวไร่ของเขามั่นใจกับเราและทางราชการเขาก็จะมีตัวเลขอยู่หมดว่าเราเสียภาษีไปเท่าไร เราทำอะไรให้เขาบ้าง" อิสระกล่าว

นอกจากการช่วยเหลือชาวไร่และเสียภาษีในแต่ละปีแล้ว มี่เผิงยังมีการจ้างงานจำนวนมากในมณฑลกวางสีอีกด้วย เพราะปัจจุบันคนงานในโรงงานทั้ง 5 โรง จำนวนเกือบๆ 4,000 คน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการโรงงานลงไปถึงลูกจ้างล้วนแล้วแต่เป็นคนจีนทั้งสิ้น จะมีคนไทยทำงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่ก็เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ซึ่งนี่ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีและไม่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคนไทยเข้ามาเอาเปรียบหรือมากอบโกยผลประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว

โรงงานกระดาษที่กำลังจะเปิดดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มิตรผลหวังว่าจะสร้างผลตอบแทนให้ได้ไม่น้อย เนื่องจากปัจจุบันประเทศจีนมีกำลังผลิตกระดาษพิมพ์เขียนไม่เพียงพอต่อการบริโภค การลงทุนสร้างโรงงานกระดาษที่นี่จึงเป็นทั้งธุรกิจใหม่และยังเป็นการทำธุรกิจให้ครบวงจร เพราะวัตถุดิบสำคัญก็มาจากชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาลนั่นเอง

โรงงานแห่งนี้มีกำลังผลิตกระดาษพิมพ์เขียนปีละ 60,000 ตัน ใช้เงินลงทุนไปทั้งสิ้น 59 ล้านดอลลาร์ โดยไพโรจน์ อรุณไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ มี่เผิง ประเมินว่าโรงงานแห่งนี้จะมีกำไรจากการดำเนินงาน หรือ EBITDA ตกปีละ 8.7 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 350 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us