Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
จากน้ำตาลสู่พลังงาน             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.
Agriculture
Electricity




หากเปรียบเทียบว่าช่วงวิกฤติเป็นช่วงที่มืดหม่น ดูเหมือนว่าตอนนี้จะเป็นช่วงที่ฟ้าเปิดและสดใสเป็นพิเศษสำหรับมิตรผล เพราะนอกจากผลผลิตน้ำตาลจะราคาดีเป็นประวัติการณ์แล้ว ยังมีโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าน้ำตาลเพิ่มเข้ามาอีกด้วย นั่นคือเอทานอลและโรงไฟฟ้า

เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ร่วมหรือทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ สามารถผลิตได้จากพืชหลายชนิด ทั้งอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือแม้แต่ข้าวฟ่างหวาน ที่ผ่านมามีการศึกษาเพื่อนำเอทานอลมาใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่ได้นำมาใช้ในเชิงพาณิชย์

ยกเว้นเพียงบราซิล ประเทศผู้ผลิตอ้อยและน้ำตาลอันดับ 1 ของโลก ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้เอทานอลในรถยนต์อย่างต่อเนื่องมาร่วม 30 ปี จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนารถยนต์ที่สามารถเติมเชื้อเพลิงได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือเอทานอล หรือแม้แต่จะผสมกันในสัดส่วนเท่าใดก็ได้ เครื่องยนต์จะทำการปรับสภาพได้เองโดยอัตโนมัติ ก้าวหน้าถึงขนาดนั้น!!!

ในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นแทบจะทุกสัปดาห์เช่นนี้ คนบราซิลจึงไม่สะทกสะท้านเอาเสียเลย เพราะราคาเอทานอลที่นั่นต่ำกว่าน้ำมันครึ่งต่อครึ่ง ไม่เหมือนคนไทย ที่ต้องกัดฟันกรอดๆ ทุกครั้งที่ขับรถเข้าไปเติมน้ำมัน แต่ก็พอจะมีความหวังขึ้นมาบ้างเพราะตอนนี้เริ่มมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เอาเอทานอลมาใช้ผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น

โดยกระทรวงพลังงานกำหนดมาตรการระยะสั้นด้วยการยกเลิกเบนซินออกเทน 95 เพื่อมาใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ที่กำลังจะมาถึงและขั้นตอน ต่อไปจะยกเลิกเบนซินออกเทน 91 เพื่อเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2555

มาตรการเหล่านี้ทำให้อนาคตของเอทานอลที่นำมาใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์สดใสยิ่งขึ้น

นอกจากการผลิตเอทานอลแล้ว กากอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาล ซึ่งเดิมต้องหาทางกำจัดเพราะมีอยู่มากจนกองสูงเป็นภูเขา เดี๋ยวนี้กลับกลายเป็นของมีค่า เนื่องจากสามารถนำมาผลิตเป็นไม้ปาติเคิลบอร์ด เอาไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ หรือจะเอาไปทำเป็นกระดาษก็ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมาอีก

แต่ที่น่าสนใจก็คือตอนนี้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงสำคัญของโรงงานไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าที่ได้นอกจากจะใช้ในโรงงานน้ำตาลแล้ว ยังเหลือพอที่จะขายให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย

"อันนี้คือทิศทางที่มิตรผลมองแล้วว่าเราจะไปอย่างไร เดิมอ้อยเข้ามาแล้วเราก็ทำน้ำตาล เราเรียกโรงงานว่าโรงงานน้ำตาล แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว นิยามใหม่ของมันคือโรงหีบอ้อย เอาน้ำอ้อยมาทำน้ำตาล เป็นน้ำตาลที่มีมูลค่าเพิ่ม กากอ้อยเอาไปทำปาติเคิลบอร์ด ทำกระดาษ ส่วนหนึ่งก็เอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แล้วน้ำอ้อยยังเอาไปทำโมลาส ทำเอทานอลได้อีก ของเหลือขั้นตอนสุดท้ายก็เอาไปทำปุ๋ยไปใช้ที่ไร่อ้อย มันก็ครบวงจร" อิสระ ว่องกุศลกิจ กล่าวถึงทิศทางของมิตรผลในขณะนี้

มิตรผลก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ภูเขียว ไบโอเอ็นเนอร์ยี ที่จังหวัดชัยภูมิและด่านช้าง ไบโอเอ็นเนอร์ยี ที่จังหวัดสุพรรณบุรี โรงงานทั้ง 2 แห่งใช้กากอ้อยจากกระบวนการผลิตน้ำตาลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ได้มีเหลือใช้จนสามารถส่งขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

มิตรผลยังมีกลุ่มบริษัทพาเนล พลัส เป็นบริษัทในเครือที่ทำการผลิตไม้ปาติเคิลบอร์ดจากกากอ้อยและไม้ยางพารา ปัจจุบันมีกำลังผลิตถึง 100,000 ลูกบาศก์เมตร สร้างรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท

สิ้นปีนี้เพโทรกรีน โรงงานผลิตเอทานอลแห่งแรกของมิตรผลที่จังหวัดชัยภูมิก็จะเริ่มเดินเครื่อง โดยมีกำลังผลิตเอทานอลขั้นต้นวันละ 200,000 ลิตร และจะก่อสร้างโรงงานแห่งที่สองต่อทันทีที่ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งจะทำให้มิตรผลกลายเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ของไทยในทันที

สิ่งที่อิสระยังคิดไม่ตกในตอนนี้ก็คือ สัดส่วนการผลิตระหว่างน้ำตาลกับเอทานอลจะเป็นเท่าไรดี เพราะน้ำตาลก็ยังมีแนวโน้มที่ดี ราคาอยู่ในช่วงขาขึ้นเป็นผลจากปริมาณการผลิตในเอเชียยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค จากสถิติย้อนหลังพบว่า ตัวเลขการบริโภคน้ำตาลในเอเชียมีสูงกว่าปริมาณการผลิตมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทำให้ต้องนำเข้าน้ำตาลจากภูมิภาคอื่นมาโดยตลอด เพียงแต่ว่าปีใดจะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง แต่เอทานอลก็น่าสนใจแถมยังมีอนาคตสดใสแน่นอน

"เรากำลัง debate กันมากระหว่างน้ำตาลกับเอทานอล เพราะน้ำอ้อยทำได้ทั้ง 2 อย่าง เราโชคดีที่เอเชียน้ำตาลยังขาด ก็ต้องขนมาจากที่อื่น ซึ่งต้องขนมาไกล เราอยู่ในพื้นที่เราได้เปรียบ เราก็ต้องสร้างตรงนี้ให้เป็นประโยชน์ แต่สหรัฐฯ กับยุโรปตอนนี้กำลังพยายามโปรโมตเอทานอล มันก็ช่วยคอนเฟิร์มให้เรามั่นใจว่าลงทุนแล้วน่าจะถูกต้อง ไม่มีความเสี่ยงมาก"

แต่ถ้าแนวโน้มธุรกิจพลังงานยังดีอยู่เช่นนี้ ไม่แน่ว่าอนาคตของมิตรผลอาจจะค่อยๆถอยออกจากธุรกิจน้ำตาลก็เป็นได้

"โมเดลของเราต่อไปอาจจะมีแค่เอทานอลกับโรงไฟฟ้า มีลูกหีบไม่ต้องใหญ่ ลูกหีบขนาดเล็กลงก็ใช้พลังงานน้อยลง การลงทุนโรงงานน้ำตาลแพงกว่าโรงงานเอทานอล และการทำน้ำตาลใช้พลังงานเยอะมาก ถ้าเราใช้น้อยก็ขายได้มาก ขายเอทานอลกับไฟฟ้า 2 อย่าง เทรนด์มันอาจจะกำลังมาอย่างนี้" อิสระเล่าถึงสิ่งที่เขากำลังพิจารณาแต่ยังไม่แน่ใจนัก

ถ้าเป็นอย่างที่ว่าจริง ต่อไปน้ำตาลมิตรผลอาจจะต้องเปลี่ยนชื่อเหลือแค่มิตรผลอย่างเดียว ส่วนชาวไร่อ้อยก็อาจจะต้องเปลี่ยนนิยามตัวเองกันเสียใหม่ ถ้ามีใครมาถามว่าทำอาชีพอะไร แทนที่จะบอกว่าเป็นเกษตรกร ก็ให้ยืดอกตอบไปเลยว่าทำงานในอุตสาหกรรมพลังงาน... โก้ไม่หยอก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us