2. คุณประเมินหรือวัดความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างไร?
เขาเริ่มต้นด้วยการตอบคำถาม ที่สองก่อนว่า ต้องไปดู ที่เรื่องมูลค่าของผู้ถือหุ้น
โดยชี้ว่าการที่ราคาหุ้นสูงขึ้นสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ขององค์กรประสบผลสำเร็จ
เพราะมูลค่าของผู้ถือหุ้นไม่ได้สะท้อนเฉพาะผลประกอบการที่ผ่านมา แต่เป็นการบอกึงความสามารถ ที่จะรักษาผลประกอบการต่อไปในอนาคต
มัวร์กล่าวว่าความได้เปรียบเชิงแข่งขันประกอบด้วยสองด้านคือ ช่องว่างของความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
ซึ่งเป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบถึงระยะห่างระหว่างสินค้าของคุณกับสินค้าของคู่แข่ง
(GAP) และระยะเวลาของความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ซึ่งหมายถึงระยะเวลา ที่คุณสามารถรักษาความได้เปรียบให้อยู่เหนือคู่แข่ง
(CAP) ยิ่งระยะห่าง GAP มากหรือ ยิ่งระยะเวลา CAP ยิ่งนาน มูลค่าผู้ถือหุ้นก็จะยิ่งเพิ่ม
ดังนั้น การที่มูลค่าผู้ถือหุ้นเพิ่มจึงหมายความว่าคุณกำลังเดินไปถูกทางแล้ว
ปัญหาก็คือ คุณจะทำอย่างไรให้เดินถูกทาง บริษัทจะเพิ่มความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างไร
มัวร์เสนอว่าความได้เปรียบเชิงแข่งขันประกอบด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งจะช่วยทำให้คุณขยับห่างจากคู่แข่งทีละน้อย
ขั้นตอนแรกคือ การไล่ให้ทันกระแสเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีเป็นแสงนำทางไปสู่การสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
แต่ทั้งนี้ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีลำพัง คุณต้องรู้ถึงการแปลงเทคโนโลยีให้ใช้ได้กับสินค้าหรือบริการของคุณด้วย เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า
นั่นก็คือ การสร้างสายโซ่แห่งมูลค่า (value chain) โดยต้องเลือกว่าจะเข้าสู่สายโซ่ใหม่ ที่เป็นทางไปสู่ชัยชนะหรือสู้กับคู่แข่ง เพื่อให้เป็นผู้นำในสายโซ่เดิม
ทั้งนี้อย่าลืมว่า หลังจากอำนาจของเทคโนโลยีตามด้วยอำนาจของสายโซ่แห่งมูลค่าแล้ว
อำนาจของตลาดจะเป็นตัวกำหนดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
บริษัท ที่ต้องการเป็นผู้นำต้องแยกแยะตัวเอง และสินค้าออกจากคู่แข่งให้ได้
โดยต้องเน้นไป ที่สามเรื่องหลักคือ การสร้างภาวะผู้นำทางด้านสินค้า ความใกล้ชิดกับลูกค้า และความเป็นเลิศในด้านการดำเนินงาน
(หารายละเอียดในเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในหนังสือ The Disciplines of Market
Leaders ของไมเคิล เทรซี และเฟรด เวียร์ซีมา)
ในส่วนหลังของหนังสือ มัวร์นำเอาแนวความคิดเร่องการสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันโดยเน้น ที่มูลค่าของผู้ถือหุ้นเข้ากับวงจรการรับเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้อ่านรู้ถึงระยะห่าง และจังหวะเวลาในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นผู้นำ
อ่านง่าย และสนุก เพราะผู้เขียนนำเสนอแนวคิดอย่างชัดเจน เป็นคู่มือเชิงยุทธศาสตร์อีกเล่มในยุคอินเตอร์เน็ต