Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
จากรุ่นที่ 2 สู่รุ่นที่ 3             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

from Family to be Professional
น้ำตาลมิตรผล บังเอิญจนได้เรื่อง
อยากรวย เลิกหวย ปลูกอ้อย...ดีกว่า
บ้านปู ดอกผลที่ใหญ่เกินคาด
ดิ เอราวัณ เต็มไปด้วยบทเรียน

   
www resources

โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.
วิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ




สิ่งหนึ่งที่คนในตระกูลว่องกุศลกิจกำลังให้ความสนใจมากในขณะนี้คือการจัดการภายในตระกูล ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่สะสมกันมาจากรุ่นที่สองไปยังรุ่นถัดไป หรือแม้แต่การผสมผสานลูกหลานที่ต้องการสานต่อธุรกิจของตระกูลเข้ากับมืออาชีพจากภายนอก โดยที่ไม่ขัดต่อความพยายามสร้างองค์กรให้ได้มาตรฐานและเป็นมืออาชีพ

จากคู่สมรสชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในเมืองไทยเป็นว่องกุศลกิจรุ่นแรก ทายาทในรุ่นที่ 2 มีจำนวน 8 คนด้วยกัน เริ่มจากกุศล (เสียชีวิตแล้ว) กมล (ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ น้ำตาลมิตรผล) สุนทร (ประธานกรรมการ น้ำตาลมิตรผล) วิมล (ทำการเกษตร) วิฑูรย์ (ดูแลดิ เอราวัณ กรุ๊ป) พญ.ลักษมี (บริหารงานโรงพยาบาลสายไหม) อิสระ (กรรมการผู้จัดการใหญ่ น้ำตาลมิตรผล) และชนินท์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ้านปู)

ทั้ง 8 คนนี้ล้วนคุ้นเคยกับไร่อ้อยเป็นอย่างดี เพราะชีวิตวัยเด็กต้องช่วยครอบครัวทำงาน ไม่เว้นแม้แต่ในช่วงที่ต้องมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แล้วก็ตาม

"ผมมาเรียนอยู่อำนวยศิลป์ เรียนธรรมศาสตร์ ผมก็ยังต้องไปช่วยงาน หยุด weekend บางทีผมก็เข้าไปไร่อ้อย ปิดเทอมก็ไปช่วย ก็ช่วยเท่าที่เราทำได้ ถือเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง" ชนินท์ ว่องกุศลกิจ น้องคนเล็กของตระกูลเล่ากับ "ผู้จัดการ"

ด้วยฐานะที่ยังไม่ดีนักในช่วงเริ่มต้น ทำให้พี่ๆ 4 คนแรกของว่องกุศลกิจไม่ได้เรียนหนังสือถึงระดับปริญญา เพราะต้องออกมาช่วยครอบครัวทำงาน อย่างไรก็ตาม ด้วยแรงผลักดันของแม่ที่เห็นคุณค่าของการศึกษาอย่างยิ่งยวด จึงพยายามส่งให้ลูกได้เรียนตั้งแต่รุ่นวิฑูรย์เป็นต้นมา

"พี่วิฑูรย์เป็นคนแรกที่ได้เรียน จากนั้นก็เรียนกันทุกคน จากคนแรกๆ ที่เรียนน้อย พอมาคนหลังๆ นี่คือผลักดันให้เรียนเต็มที่ ช่วงหนึ่งคุณแม่ถึงกับทิ้งงานเพื่อจะมาอยู่กับลูกๆ ให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ" ชนินท์ย้อนอดีตให้ฟัง

ผลจากแรงผลักดันของแม่ส่งให้วิฑูรย์จบการศึกษาปริญญาตรีเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พญ.ลักษมีจบแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อิสระจบด้านบริหารธุรกิจ จาก North Carolina University สหรัฐอเมริกา ส่วนชนินท์จบเอ็มบีเอด้านไฟแนนซ์ จาก St.Louis University สหรัฐอเมริกา

ขณะนี้ตระกูลว่องกุศลกิจได้ขยายจาก 8 คนพี่น้องจนรวมรุ่นลูกและหลานจะมีอยู่ราว 80 คน ในแต่ละปีจะมีการพบปะสังสรรค์ครั้งใหญ่ของตระกูล 2-3 ครั้งด้วยกัน นอกเหนือจากการประชุมในคณะกรรมการบริษัทต่างๆ ที่พี่น้องแต่ละคนจะมีโอกาสได้เจอกันแทบทุกเดือน ยกเว้นในช่วงที่บางคนมีภารกิจรัดตัวหรือต้องเดินทางไปต่างประเทศ

"ผมกับคุณอิสระตอนนี้เจอกันแต่ในห้องประชุม ถ้าจะนัดพร้อมหน้ากันต้องนัดคุณอิสระ ให้ได้ก่อน เพราะเขางานเยอะ" วิฑูรย์เล่า

ถึงแม้จะเป็นพี่น้องคลานตามกันมา แต่ความที่อายุของว่องกุศลกิจรุ่นนี้ห่างกันเกือบ 20 ปี (ขณะนี้กมลอายุเกือบ 70 ปี ส่วนชนินท์น้องเล็กอายุ 54 ปี) อีกทั้งยังมีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจ ทำให้สไตล์ของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป

"สไตล์การบริหารคน วัฒนธรรมจะไม่คล้ายกันเสียทีเดียว ผมเอง aggressive มากกว่าใคร มันก็จะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน บางที conservative มากไปก็ไม่ได้ทำอะไร aggressive มากไปมันก็อาจจะพลาด ก็มีการปรับเข้าหากันเหมือนกัน" ชนินท์เล่า

ปัจจุบันว่องกุศลกิจรุ่นที่ 3 เริ่มเข้ามาช่วยงานในธุรกิจบ้างแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเข้ามาทำงานที่มิตรผล ทั้งที่เป็นพนักงานและฝึกงาน เช่น ชูศักดิ์ ว่องกุศลกิจ บุตรชายกมล ปัจจุบันรับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจน้ำตาลของมิตรผลในประเทศจีน

อย่างไรก็ตาม การเป็นว่องกุศลกิจก็ไม่ได้ช่วยให้ได้สิทธิ์พิเศษที่แตกต่างจากพนักงานคนอื่น เพราะทุกคนต้องสมัครงานตามขั้นตอนปกติและยังต้องดูด้วยว่าบริษัทนั้นมีตำแหน่งให้ด้วยหรือไม่

"ส่วนใหญ่เขาจบมาเขาก็อยากไปหาประสบการณ์ เราไม่ได้กำหนด แล้วแต่ว่าเขาจะอยากมาทำในเครือหรือเปล่า แต่ถ้ามาเขาก็ต้องไปเริ่มตั้งแต่ระดับล่าง ต้องไปสมัคร แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะอุ้มเต็มที่ เขาต้องมีฝีมือด้วย" วิฑูรย์เล่าถึงโอกาสของว่องกุศลกิจรุ่นถัดไป

ส่วนบทบาทของรุ่นที่ 2 ในเวลานี้กำลังเร่งศึกษารูปแบบการจัดการธุรกิจและครอบครัวจากตระกูลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับการบริหารงานในอนาคต รวมทั้งยังมองไปถึงการเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นที่ 3 ให้มีความรู้หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานในวันข้างหน้า

"เรากำลังทำกันอยู่ ดูว่าจะเทรนให้ครอบครัวเรามีความรู้หลายๆ เรื่องได้อย่างไร เรื่องของการบริหาร การลงทุน การเป็นกรรมการที่ดี การคัดเลือกผู้บริหารทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ มาทำนอกเหนือไปจากการเรียนรู้จากการทำงานปกติ เราก็คงต้องจัดหลักสูตรเทรนนิ่งให้ อันไหนต้องเรียนลึกลงไปก็คงไปเรียนเพิ่มต่างประเทศ เขาต้องรู้ว่าเทรนด์ในอนาคตไปอย่างไร ความเสี่ยงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ควรจะต้องให้เขารู้" ชนินท์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจของว่องกุศลกิจรุ่นที่ 2 เวลานี้ก็คงหนีไม่พ้นการคัดเลือกผู้นำน้ำตาลมิตรผลรุ่นต่อไปนั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us