Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549
ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ บ้านปู
โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล
โฮมเพจ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

   
search resources

บ้านปู, บมจ.
น้ำตาลมิตรผล, บจก.
Agriculture
อัมรินทร์ พลาซ่า, บมจ.
ดิ เอราวัณ กรุ๊ป, บมจ.




วิกฤติเศรษฐกิจจากการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ส่งผลกระทบต่อว่องกุศลกิจไม่น้อยเช่นกัน

"เรากระทบมากจากหนี้ 8,000 ล้านขึ้นไปเป็น 14,000 ล้าน ดอกเบี้ย 25% คิดดูว่าจะอยู่ได้ไหม เราก็คิดว่าไปไม่รอดแล้ว ดูยังไงก็ไปไม่รอด" อิสระ ว่องกุศลกิจ กล่าวถึงสถานการณ์ของน้ำตาลมิตรผลในช่วงนั้น

ไม่เฉพาะน้ำตาลอย่างเดียว ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และบ้านปู ก็อาการหนักไม่ต่างกัน การร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้น่าจะเป็นการผนึกกำลังครั้งใหญ่ที่สุดของคนในตระกูลว่องกุศลกิจเลยทีเดียว

นอกจากการเจรจาประนอมหนี้ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติทั่วไปแล้ว ว่องกุศลกิจยอม "สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต" ด้วยการขายทรัพย์สินบางส่วน

บ้านปูต้องยอมขายเดอะ โค เจเนอเรชั่น (COCO) บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมและบริษัท ไตรเอนเนอจี้ โรงไฟฟ้าเอกชนขนาด 700 เมกะวัตต์ ที่มีสัญญาจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งในเวลานั้นทั้ง 2 บริษัทมีอนาคตสดใสไม่น้อย แต่เพื่อเอาตัวให้รอดก็ต้องยอมตัดใจ

"เราขาย COCO กับไตรเอนเนอจี้ไป ก็ได้มาหลายพันล้านบาท ขายไปชนิดที่ท่านประธานน้ำตาไหลเลย" ชนินท์เล่าถึงสถานการณ์ในวันนั้น

เช่นเดียวกับดิ เอราวัณ กรุ๊ป ที่ต้องขายอาคาร แกรนด์ อัมรินทร์ พลาซ่า อาคารสำนักงานบนถนนเพชรบุรีออกไป (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ธนภูมิ) และยังต้องเปิดทางให้พันธมิตรใหม่ที่เป็นกลุ่มทุนต่างชาติได้แก่ WREP Thailand Holdings ซึ่งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มทุนสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ เข้ามาถือหุ้น 37% (ปัจจุบันผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นส่วนนี้กลับคืนหมดแล้ว)

สำหรับน้ำตาลมิตรผลใช้การเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป โดยมีรายได้จากโรงงานน้ำตาลในจีนที่ไม่เจอวิกฤติไปด้วยเข้ามาช่วยเหลือ พร้อมกันนั้นได้ปรับทิศทางธุรกิจเสียใหม่ จากเดิมที่ผลิตน้ำตาลทั่วไปขายได้กำไรน้อย เนื่องจากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ไม่แตกต่างจากน้ำตาลเจ้าอื่น ก็เร่งพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น

ซึ่งไม่เพียงช่วยให้มิตรผลฝ่าวิกฤติมาได้เท่านั้น ยังเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการรุกไปข้างหน้าที่มาส่งผลในวันนี้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจการเงินของตระกูล ได้แก่ บง.ยูไนเต็ด ที่มีธนาคารกสิกรไทยเป็น ผู้ร่วมทุนก็ถูกทางการสั่งปิดไป ขณะที่ บล.ยูไนเต็ดก็เพิ่งมีการขายหุ้น 25.43% ให้กับเอพีเอฟ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากญี่ปุ่นไปเมื่อต้นปีนี้เอง โดยได้เงินจากการขายครั้งนี้ รวม 345 ล้านบาทและตระกูลว่องกุศลกิจยังเหลือสัดส่วนการถือหุ้นในนามบุคคลและบริษัทที่เกี่ยวข้องอยู่จำนวน 6.55%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us