Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538
"โรงเรียนกวดวิชา "ติวระยะสั้นจะสำคัญน้อยลง"             
 

   
related stories

"ดีขึ้นกว่าระบบเดิม แม้จะดูค่อนข้างซับซ้อนในการหามาตรฐาน" นพ. นที รักษ์พลเมือง
"SAT ก็ยังเน้นเฉพาะการจำเพื่อไปสอบ" ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์

   
search resources

อบาคัส
Education




สำนักกวดวิชาส่วนใหญ่ยังไม่มีการตื่นตัวเรื่องการเอนทรานซ์ระบบใหม่ หลักสูตรสุดฮิตยังคงเป็นกวดวิชาเข้ามหาวิทยาลัย ด้วยวิธีมุ่งทำคะแนนให้ได้สูงสุดตามสายวิชาที่ต้องการ ระบบการกวดวิชาที่พัฒนาไปอีกขั้นก็คือ การติวเจาะเฉพาะส่วนที่ต้องการ จะเข้าที่ไหนก็ติวเฉพาะแห่งไปเลย

เหมือนอย่างสถาบันอบาคัส ที่มีชื่อและมีระบบติวเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญธุรกิจ (เอแบค) โดยเฉพาะ ขนาดที่ว่าไม่ติดสามารถรับเงินคืนได้ แต่จากผลที่ผ่านมามีนักเรียนที่มากวดวิชาที่สถาบันอาบาคัส ไม่สามารถสอบเข้าได้เพียง 10% จากจำนวนผู้เข้ากวดวิชารุ่นละ 70-80 คนก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปหนึ่งขั้นสำหรับการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม สำหรับเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรวิชาการทั่วไปของโรงเรียนกวดวิชา ก็ยังคงมีเช่นเดียวกับสถาบันกวดวิชาอื่น ๆ สำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม และเรียนล่วงหน้าด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กันไป หรือแม้แต่การกวดวิชาระยะสั้นเพื่อมุ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยตรง

"ของสถาบันเราถ้าเป็นเอแบคจะรับรองผล 100% แต่ถ้าเป็นเอนทรานซ์จะมีคนมาติวน้อยกว่า คิดว่าถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการสอบเอนทรานซ์ ของเราก็คงจะเหมือน ๆ เดิม เพราะเราจะมีชื่อเรื่องติวเข้าเอแบคที่ไม่ได้สอบส่วนกลางอยู่แล้ว คอร์สติวเข้าเอนทรานซ์ก็คงจะไม่เพิ่มมากไปกว่านี้ ตอนนี้ก็มีติวเอนทรานซ์ที่เดียวคือสาขาสยามสแควร์จาก 4 สาขา ที่หน้าเอแบค ลาดพร้าว และอนุสาวรีย์ชัยฯ" เจ้าหน้าที่โรงเรียนกวดวิชาอบาคัสกล่าว

ทั้งนี้ยังกล่าวด้วยว่า หรือถ้าเป็นไปตามระบบใหม่ หลักสูตรการติวระยะสั้นก็คงจะลดน้อยลงหรือหมดไป แต่หลักสูตรการเรียนล่วงหน้า และการเรียนเสริมก็คงยังอยู่ เพราะอย่างไรก็ยังมีประโยชน์สำหรับผู้เรียนที่จะมีโอกาสเรียนรู้มากกกว่าในห้องเรียน แต่ถ้าเป็นการติวข้อสอบมาตรฐานอย่างที่จะมีขึ้นตอนนี้ยังไม่มีความคิดอะไร เพราะยังไม่ทราบรายละเอียด

โรงเรียนกวดวิชาหลาย ๆ สถาบันส่วนใหญ่ยังไม่มีการตื่นตัวในเรื่องนี้ และเห็นว่าหลักสูตรของตนเองที่มีอยู่ก็เหมาะสมอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการสอบระบบเอนทรานซ์ระบบใหม่หรือเก่า เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการติวเพิ่มเติมหรือเรียนล่วงหน้า ซึ่งก็เกี่ยวข้องการเรียนในวิชาปกติ ถ้าจะมีผลจริง ๆ ก็คงจะเป็นหลักสูตรระยะสั้นซึ่งคงจะมีความสำคัญน้อยลงเพราะนักเรียนต้องตั้งใจเรียนตลอดทั้ง 3 ปี จะมาดูเอาตอนใกล้สอบเหมือนเดิมไม่ได้อีก

กระนั้นก็ดี เจ้าหน้าที่สถาบันกวดวิชาบางราย ก็ยังเห็นว่า หลักสูตรการติวเข้มเข้ามหาวิทยาลัยในระยะสั้น ก็ยังมีประโยชน์อยู่บ้าง อย่างน้อยก็เป็นสรุปและทบทวนและที่สำคัญคะแนนสอบกลางก็ยังมีเหลืออยู่อีก 50% หรือ 75% ในบางสาขาวิชา

แต่จุดที่ควรระวังก็คือตัวนักเรียนเอง ที่ต้องตระหนักไว้อยู่เสมอ อนาคตตัวเองไม่ได้อยู่ในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ต้องพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพราะนับแต่ พ.ศ. 2542 หรือจะนับถอยหลังไป 3 ปี จะไม่มีใครรับรองผลการเข้ามหาวิทยาลัยให้กับคุณได้ในระยะเวลาการติวเข้มเพียงไม่กี่เดือนก่อนสอบ

สถาบันกวดวิชาหลายแห่ง ไม่มีการวัดความรู้เด็กของกำหนดชั้นเรียนเด็กเลือกชั้นไหนก็ชั้นนั้นได้ตามความต้องการ ไม่มีการบอกที่มาที่ไปหรือผลที่ได้รับ จะกล่าวถึงก็เพียงในวิชานั้นพูดถึงอะไร

แต่ก็มีหลายแห่งที่ยังมีการตระหนักในเรื่องนี้อยู่มากหนึ่งในนั้นคือสถาบันกวดวิชา PEP ซึ่งคงจะเป็นสถาบันกวดวิชาตัวอย่างได้ดี เพราะนอกเหนือจากมีความหลากหลายของระดับชั้นและเนื้อหาที่เรียนเหมือนที่อื่นๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ของสถาบันยังเปิดเผยว่า

ธุรกิจการกวดวิชาจริงแล้วเกิดจากช่องว่างในการเรียนในชั้นเพราะเด็กในโรงเรียนทั่วไปจะมีห้องละ 40-50 คน อาจารย์ต้องสอนในเวลาที่จำกัด เด็กที่หัวไวก็รับความรู้ในเนื้อหาวิชาได้มาก เด็กที่รับไม่ทันเพราะอาจจะคิดช้ากว่าไม่ใช่เพราะเรียนไม่เก่ง เมื่อมาได้รับการอธิบายอย่างไม่เร่งรีบเกินไปก็จะเรียนได้ดีเช่นกัน

หรืออย่างคอร์สกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็ต้องแบ่งเด็กโดยดูจากการเรียนรู้ของเด็ก จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เด็กที่เรียนมาสายอาชีพแล้วอยากสอบเอนทรานซ์ก็คงต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้เฉพาะ รวมถึงเรื่องของเวลาที่จะสามารถมาเรียนได้ด้วย

การกวดวิชาแม้จะเป็นธุรกิจ บางสถาบันก็อ้างว่าจะมองเป็นธุรกิจอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะส่วนหนึ่งการกวดวิชาก็มีส่วนช่วยเสริมและเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็ก

เด็กที่เรียนเร็วอยู่แล้วก็จะได้มากขึ้น เด็กที่เรียนช้าก็จะได้เพิ่มขึ้น การพัฒนาหลักสูตรการกวดวิชา ก็มีการแบ่งระดับให้เข้ากับการเรียนรู้ของเด็ก โดยใช้หลักจิตวิทยาทางอาชีพครูเข้ามาช่วยในการจัดคอร์ส ซึ่งไม่เฉพาะการสอนวิชาอย่างเดียว การสื่อสารระหว่างครูกับเด็กก็ยังต้องใช้จิตวิทยาให้เด็กสนใจในบทเรียนด้วย จึงจะได้ผล

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าวว่า ถ้ากระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมวิชาการ จะจัดให้มีการสอบ SAT เพื่อทดสอบการเรียนรู้ของเด็กจากที่จบชั้นมัธยมปลาย ตนก็เชื่อว่าทางสถาบันก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หรือติว SAT เพิ่มเติมเพราะตามหลักการสอนเด็กที่ผ่านการกวดวิชาตามหลักสูตรของสถาบันก็ต้องสอบ SAT ได้ดีอยู่แล้ว

"ที่นี่ไม่ใช่ผู้ปกครองพาเด็กมาแล้วจะสมัครคอร์สติวเข้มที่เนื้อหาวิชาค่อนข้างจะล่วงหน้า แต่เราทดสอบเด็กแล้วเห็นว่าควรจะเรียนคอร์สรองลงมา เพื่อให้เด็กแน่นกว่านี้แล้วเรียนอย่างสบาย เพื่อให้เด็ก ๆ ค่อย ๆ พัฒนาการเรียนรู้ไปทีละขั้น ไม่ใช่หวังจะได้เงินจากการเรียนหลาย ๆ คอร์ส ในส่วนนี้ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่ก็เชื่อคำแนะนำ เพราะผลดีก็เกิดกับลูกของตนเอง

เมื่อเห็นคำแนะนำเช่นนี้แล้ว ผู้ปกครองทั้งหลายที่เร่งแต่ให้ลูกติววิชาโน้นวิชานี้อยู่ตลอดไม่มีเวลาพัก ก็ควรจะปรับระบบให้กับลูกตนเองมีระบบการเรียนรู้ที่ค่อย ๆ ซึมซับมากกว่าการเร่งอัดจนสมองของเด็กเหนื่อยล้าที่จะรับในคราเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us