|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอไอเอสปั้นแบรนด์ PAY STATION รับชำระค่าสินค้าและบริการ หวังเอื้อประโยชน์ฐานลูกค้า 17 ล้านราย และปั๊มรายได้ให้ร้านเทเลวิซ ด้วยเป้าหมายส่วนแบ่งตลาด 10%
นายตุลย์ สมสมาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารช่องทางการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟรเซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสมีการปรับปรุงช่องทางจำหน่ายอย่างมาก โดยเฉพาะในระดับร้านเทเลวิซขนาดใหญ่ประมาณ 150 แห่ง ให้ทำหน้าที่เหมือนเป็นดิสทริบิวเตอร์ แยกเรื่องการค้าปลีกออกมาให้ร้านเทเลวิซและดีลเลอร์ที่เหลือรับผิดชอบ โดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากเอไอเอส เพื่อให้ช่วยกันในการดูแลลูกค้าและดูแลซับดีลเลอร์ทั้งในส่วนที่เป็นเทเลคอมและนอนเทเลคอมที่มีรวมกัน 7-8 หมื่นราย ในลักษณะเหมือนคอนซูเมอร์ โมเดล
ปัจจุบันเอไอเอสมีร้านเทเลวิซ 360 แห่ง เทเลวิซเอ็กซเพรส 300 แห่ง และสาขาบริการเอไอเอสประมาณ 30 กว่าแห่ง รวมแล้วเป็นช่องทางหลักประมาณ 700 แห่ง โดยรายได้หลักของร้านเทเลวิซมาจากการขายโทรศัพท์มือถือ บัตรเติมเงิน รับชำระค่าบริการ ซึ่งเอไอเอสมีแผนที่จะเพิ่มบริการอีกหลายอย่างเพื่อสร้างให้เกิดรายได้กับร้านเทเลวิซ โดยเอไอเอสได้เปิดบริการใหม่ที่เรียกว่า PAY STATION หรือจุดชำระค่าบริการ ในช่องทางหลัก 700 แห่งดังกล่าว
PAY STATION เป็นบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าเอไอเอสที่มีกว่า 17 ล้านราย โดยใช้ศักยภาพของร้านเทเลวิซ ที่สะสมมานานไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจในเรื่องบริการเสริมทุกรูปแบบ การปรับโฉมร้านให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งระบบออนไลน์ที่ทำให้ร้านเทเลวิซสามารถพัฒนาบริการได้มากขึ้น
นายศักดิ์ชัย ปิยวิทยาการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารช่องทางการให้บริการเอไอเอสกล่าวว่าระยะแรกเอไอเอสร่วมกับพันธมิตรกว่า 20 ราย ครอบคลุมบริการ 5 ประเภท คือค่าสาธารณูปโภค ค่าสินเชื่อหรือลิสซิ่ง ค่าบัตรเครดิต ค่าประกันชีวิตหรือประกันภัย และค่าสินค้าบริการต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเอไอเอสกับลูกค้าของพันธมิตร สามารถชำระค่าใช้บริการดังกล่าวได้ที่ช่องทางเอไอเอสทั้ง 700 แห่ง
เอไอเอสประเมินว่าใบแจ้งหนี้ทั้งหมดแต่ละเดือนมีจำนวนประมาณ 35 ล้านใบ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป้าหมายของบริการ PAY STATION ต้องการส่วนแบ่งในการรับชำระเงินเพียง 10% ของตลาดรวม หรือประมาณเดือนละ 1 พันล้านบาท โดยที่ร้านเทเลวิซจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมต่อ 1 รายการชำระเงินในอัตราตลาด อย่างค่าสินค้าเครื่องสำอาง ประกันชีวิตและประกันภัยฟรี ค่าสาธารณูปโภค รายการละ 10 บาท ค่าบัตรเครดิต สินเชื่อและลิสซิ่งต่างๆ รายการละ 15 บาท ซึ่งในช่วงนี้จนถึง 30 ก.ย. มีโปรโมชันสำหรับลูกค้าเอไอเอส สามารถชำระค่าบริการเมืองไทยประกันชีวิตได้ในราคาพิเศษรายการละ 10 บาทจากปกติ 12 บาท
สำหรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวเอไอเอสจะนำมาแบ่งกับร้านเทเลวิซ โดยร้านเทเลวิซได้ประมาณ 65-75% ที่เหลือจะเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายของเอไอเอส ที่คิดเท่าทุนไม่ได้บวกกำไร เพราะเอไอเอสไม่ต้องการกำไรจากธุรกิจ PAY STATION แต่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มให้ร้านเทเลวิซที่เป็นแฟรนไชส์
เป้าหมายต่อไปของ PAY STATION คือการเพิ่มทั้งพันธมิตรจาก 20 กว่าราย ให้เป็น 45 ราย ซึ่งเอไอเอสพร้อมรับพันธมิตรทุกรายที่ต้องการจุดชำระค่าสินค้าหรือบริการ โดยพันธมิตรที่จะตามมาจะมีมิสทีน และโตโยต้า ลิสซิ่ง รวมทั้งเพิ่มจำนวนจุดรับชำระเงินให้เป็น 2 พันแห่งในปีหน้า โดยเพิ่มในส่วนของโลตัส เอ็กซ์เพรส ร้านเอ็มลิ้งค์ บลิส-เทล เจ-มาร์ท ไอ-โมบาย รวมทั้งเอไอเอสยังมีแผนที่จะสร้างแบรนด์ PAY STTATION ด้วย
|
|
|
|
|