Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กรกฎาคม 2549
กทช. ดันรายย่อยรุกบริการสื่อสาร             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Telecommunications




กทช. หนุนกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่รายย่อย แบบไร้โครงข่ายของตนเองเข้าสู่บริการสื่อสาร เตรียมประกาศราชกิจจาฯ บังคับใช้ ตุลาคมนี้ แถมเปิดช่อง หากเกิดข้อพิพาทในคู่สัญญาเอาผิดกฎหมายทางแพ่งได้ โดย กทช. ไม่ต้องนั่งตีความ เอกชนหนุนเป็นเรื่องดี รายใหม่จะได้เข้ามาช่วยเสริมตลาด หวั่นใจแค่คุณภาพบริการเทียบรายใหญ่ได้หรือไม่ เหตุต้นทุนต่างกัน เกรงปัญหาสัมปทานอาจทำได้ไม่เต็มที่ ส่วนแผนเลขหมาย อีกไม่เกิน 3 สัปดาห์ ร่างประกาศฯ แล้วเสร็จก่อนเปิดเวทีถกอีกรอบ

เมื่อวานนี้ (25 ก.ค.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อนำไปจัดทำประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทบริการขายต่อบริการ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองสามารถเข้าสู่ตลาดบริการโทรคมนาคมและสามารถเสนอบริการโทรคมนาคมแข่งขันกับผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ เสรีและเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการทั้งที่มีโครงข่ายและไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งจะทำให้ตลาดบริการมีผู้ประกอบการในทุกระดับ และกระจายบริการได้อย่างเท่าถึง

พล.อ. ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการ กทช. กล่าว การจัดรับฟังความเห็นในวันนี้ กทช. จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อออกเป็นประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณไม่เกินปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยการออกประกาศฉบับนี้จะช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการทุกระดับ ตั้งแต่รายใหญ่ จนถึงรายย่อย หรือผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถเช่าใช้ โครงข่ายร่วมได้ โดยไม่มีปัญหาด้านการกีดกัน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ที่ปัจจุบันได้มีผู้สนใจเข้ามายื่นขอให้บริการ และได้รับใบอนุญาตไปแล้วมีอุปสรรคด้านการใช้โครงข่าย จนทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ แต่การขายต่อบริการจะไม่ได้มีข้อจำกัดในส่วนนี้เพียงอย่างเดียว แต่จะครอบคลุมไปยัง บริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ อีกด้วย

"ทุกวันนี้มีผู้ประกอบการอยู่เยอะ ทั้งที่เป็น ISP แต่ก็มีส่วนมากเหมือนกันที่ต้องปิดตัวเองลงไป เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกิจที่มีการแข่งขันกันในทุกวันนี้ได้ ดังนั้นจึงอยากให้การทำธุรกิจต่อจากนี้มีความเสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง โดยระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อยจะต้องอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล"

สำหรับในรายละเอียดของร่างฉบับนี้ กทช. จะต้องพิจารณาถึงอัตราค่าเช่าโครงข่ายของผู้ประกอบการรายย่อยที่จะมาใช้ ว่าหากเป็นเช่าใช้โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอัตราเท่าไร และหากจะเช่าเพื่อขายส่งหรือขายปลีก จะคิดในอัตราเท่าไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้เป็นอัตราค่าบริการเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด โดยก็อิงจากมาตรฐานสากลด้วย

ประธาน กทช. กล่าวเสริมอีกว่า ขณะนี้การไฟฟ้าสนใจที่จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการประเภทที่ 3 โดยจะเป็นลักษณะให้เช่าใช้โครงข่าย ซึ่ง การไฟฟ้าจะได้เปรียบในแง่ข่ายสายที่กระจายอยู่ทั่วพื้นประเทศ ดังนั้น หาก กทช. ประกาศเรื่องนี้ออกมาก็จะช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กนั้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการในต่างจังหวัด หรือกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น

"เรื่องขายต่อบริการ ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ กทช. จะต้องเร่งให้ออกประกาศบังคับใช้โดยเร็วที่สุด เพราะรายเล็ก รายใหม่ รายย่อย จะได้เกิดขึ้นมา โดยไม่ต้องกังวลต่อข้อจำกัด เรื่องการเช่าใช้ การมีปัญหากับเจ้าของโครงข่าย ซึ่งจะช่วยตลาดทั้งสองนั้นเกื้อหนุนกันได้"

นายสุธรรม อยู่ในธรรม หนึ่งใน กทช. กล่าวว่า ปัญหาด้านข้อขัดแย้งทางกฎหมาย หรือกรณีเกิดพิพาทระหว่างผู้เช้าใช้โครงข่ายกับเจ้าของโครงข่าย กฎหมายส่วนนี้ กทช. ได้เขียนให้เปิดช่องให้สามารถดำเนินการทางแพ่งได้ โดยไม่ต้องกังวลต่อกฎหมายในส่วนอื่น เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการนั้นเกิดความคล่องตัวและหาข้อยุติของปัญหาได้ แต่ในส่วนของปัญหาเรื่องของสัญญาร่วมการงาน ทางกลุ่มผู้ประกอบการรายเก่าจะต้องหาข้อตกลงกับทาง บริษัท ทีโอที และ บริษัท กสท ซึ่งในส่วนนี้ กทช. จะไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือมีอำนาจเข้าไปละเมิดต่อสัญญา

ขณะที่นายเศรฐพร คูศรีพิทักษ์ กทช. กล่าวว่า นอกจาก กทช. จะส่งเสริมให้มีกลุ่มผู้ประกอบกรายย่อยแล้ว แต่กลุ่มผู้ประกอบการประเภทที่ 3 มีข้อกังวลในแง่การส่งเสริมการลงทุนหรือพัฒนาโครงข่าย เนื่องจากจะต้องเป็นผู้ลงทุน ซึ่งต่างจากกลุ่มผู้ให้บริการประเภท ที่1 และ 2 ที่จะไม่มีโครงข่ายของตนเองเป็นหลัก ซึ่ง กทช. ได้เตรียมหาแนวทางส่งเสริมรายใหญ่ ให้เกิดการลงทุนหรือพัฒนาโครงข่ายด้วยการที่จะลดค่าธรรมเนียมบางส่วน หากมีการลงทุนโครงข่ายขยายต่อในพื้นที่อื่น เพื่อให้มีโครงข่ายหลักสนับสนุนและยังช่วยให้ผู้ลงทุนนั้นไม่ต้องกังวลต่อผลกระทบในแง่การลงทุนที่เกิดขึ้น

ด้านตัวแทนของ บริษัท กสท โทรคมนาคม หรือ กสท. ได้กล่าวแสดงความเห็นต่อร่างประกาศฉบับดังกล่าวในที่ประชุมว่า กสท มีความเห็นไปในทางดียวกับร่างประกาศฯ นี้ เพราะการให้เช่าโครงข่ายแก่ผู้ประกอบการรายย่อยนั้น ถือเป็นเรื่องสมควร เนื่องจากจะช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน เพราะการทำโครงข่ายขึ้นมาเป็นของตัวเองนั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนที่สูงมาก แต่ขณะเดียวกัน กทช. ก็ต้องไม่ลืมที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการรายเดิมด้วย ซึ่งควรที่จะมีการดูแลหรือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามากขึ้น โดยหากผู้ประกอบการรายเดิมไม่แรงจูงใจแล้ว ก็จะส่งผลให้การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร

ตัวแทนบริษัท แอ๊ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เนื้อหาในร่างยังมีหลายจุดที่มีความหมายขัดแย้งกันเอง หรือไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ถึงแม้ กทช. จะมุ่งสร้างให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ แต่เอไอเอสเป็นห่วงในประเด็นที่การนำบริการไปขายต่อเป็นทอดๆ อาจจะส่งผลให้กระทบกับปัญหาผู้ใช้บริการได้ โดยเฉพาะในแง่คุณภาพบริการ ที่ผู้ใช้บริการจะได้รับบริการที่คุณภาพต่ำ โดยมีผลจากต้นทุนจากการให้บริการ ซึ่งเรื่องดังกล่าว กทช. ควรที่จะต้องหาแนวทางในการเข้าไปกำกับดูแลส่วนนี้ด้วยและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ให้เช่าใช้หรือเจ้าของบริการดังกล่าวได้

ส่วนความคืบหน้าในการจัดทำแผนเลขหมาย นายดิเรก เจริญผล ผู้เชี่ยวชาญประจำ กทช. กล่าวว่า ภายใน 2-3 สัปดาห์นี้จะจัดทำร่างประกาศฯ แผนเลขหมายแล้วเสร็จ ซึ่งขณะนี้ก็กำลังประกาศรับฟังความเห็นสาธารณะอยู่ในเว็บไซค์ โดยในร่างประกาศฯ นั้นจะทำเพื่อวางเป็นหลักเกณฑ์ในการจัดสรรเลขหมายออกมา เพื่อให้ใช้เป็นระเบียบและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังรวมไปถึงการอัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมเลขหมาย ซึ่งในปัจจุบันค่าธรรมเนียมของโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 1 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน แต่สำหรับเลขหมายพิเศษ อาทิ เลขหมาย 3 หลัก และ 4 หลักนั้นยังไม่ได้มีการเรียกเก็บ

สำหรับผู้ประกอบการที่จะขอเลขหมายเพิ่มจาก กทช.นั้น ต้องรายงานมาก่อนว่าเลขหมายเดิมที่ขอไปใกล้จะหมด โดยจะต้องใช้เลขหมายอยู่ประมาณ 80-90% ถึงจะทำเรื่องเพื่อเลขหมายใหม่เพิ่มได้ โดยหากผู้ประกอบการขอเลขหมายไป เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ทำโปรโมชั่น หรือนำไปกักตุนโดยไม่มีการนำเลขหมายกลับมาให้บริการใหม่นั้น จะมีโทษปรับค่าธรรมเนียมเลขหมาย 10 เท่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us